2 ต.ค. 2019 เวลา 04:09
ประกันสังคม : เงินบำเหน็จบำนาญ 💰
วันนี้พบกันเกือบเที่ยง เพราะเรื่องนี้ค่อนข้างใช้ความคิดในการอ่าน จึงไม่อยากรบกวนเวลาเช้า
เพจ"สุขสร้างได้" ไหงกลายมาเป็นเรื่องประกันสังคม เรื่องเกษียณอายุได้
ไม่ต้องแปลกใจค่ะ ถ้าเรารู้สิทธพึงมีพึงได้ เราก็ทำงานหรือเกษียณอย่างสุขใจได้ค่ะ
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
💗 ทำความรู้จักประกันสังคม 3มาตรา
🔺1.มาตรา 33 (ภาคบังคับ)
ได้แก่พนักงานประจำที่ทำงานในระบบบริษัท ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรายวัน และพนักงานรายเดือน(มนุษย์เงินเดือน) ที่อายุมากกว่า 18ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60ปีบริบูรณ์
🔺2.มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ)
ได้แก่ลูกจ้างที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
ที่ส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 12เดือน
และเปลี่ยนมาสมัครมาตรา 39 ภายในเดือนที่ 6 หลังออกจากงานประจำ(ระบบบริษัท)
🔺3.มาตรา 40 (ภาคสมัครใจ)
ได้แก่พนักงานอิสระต่างๆ(ฟรีแลนซ์) พ่อค้าแม่ค้า ผู้ขับขี้นรถจักรยานยนต์รับจ้าง เกษตรกร และอาชีพอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในระบบบริษัท
3
ส่วนแต่ละมาตราความคุ้มครองต่างกันอย่างไร อธิบายด้วยภาพนี้ค่ะ
ขอบคุณภาพจาก สำนักงานประกันสังคม
ในรายละเอียดของแต่ละสิทธิประโยชน์ขอไม่อธิบายในโพสต์นี้นะคะ
เพราะท่านสามารถขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล(HR)ในบริษัทของท่านได้
หรือข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านท่าน ถ้าไม่สะดวกเดินทาง สามารถสืบค้นข้อมูลจากเวบไซด์ของประกันสังคม www.sso.go.th
หรือสายด่วนประกันสังคม 1506
อ้าว! ไม่อธิบายแล้วจะให้เสียเวลาอ่านทำไม (บางท่านอาจจะมีความคิดแบบนี้แว๊บมา)
ก็จะบอกคือผลกระทบจากผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จะเปลี่ยนมาเป็นมาตรา 39
ซึ่ง HR (ส่วนใหญ่) และประกันสังคม ไม่ได้อธิบายให้แจ่มแจ้ง
1
ผละกระทบนี้เกิดกับสิทธิคุ้มครองกรณีชราภาพ (เกษียณอายุ) เงินบำเหน็จบำนาญคุณจะเปลี่ยนไป เป็นอย่างไรไปดูกัน
2
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
🍄เกณฑ์การขอรับบำเหน็จ (รับเงินก้อนเดียวจบ)
1.อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
2.จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 1-179 เดือน
3.สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน หรือทุพพลภาพ
หรือเสียชีวิต
🍎เกณฑ์การขอรับบำนาญ
(รับเงินรายเดือนตลอดชีวิต)
1.อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
2.จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป
3.สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
เมื่อรู้ว่าตนเองจะได้รับเงินบำเหน็จหรือบำนาญแล้ว ไปดูวิธีคำนวณเงินที่จะได้รับจากประกันสังคมกัน
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
🍅 คำนวณเงินบำเหน็จ (เงินก้อน)
ขอบคุณภาพจาก aommoney.com
🔺ถ้าเราส่งเงินสบทบ 1-11 เดือน
จะได้บำเหน็จคำนวณจากส่วนที่เราจ่ายสมทบ
🔺ถ้าเราส่งเงินสมทบ 12-179 เดือน
จะได้รับเงินที่คำนวณจากผลประโยชน์ตอบแทน ที่ประกันสังคมนำเงินที่เราส่งสมทบ ไปลงทุนออกดอกผล ซึ่งผลประโยชน์ตอบแทนนี้จะไม่เท่ากันในแต่ละปี (ดูได้จากลิงค์ 🍭
🍊คำนวณเงินบำนาญ (เงินรายเดือนตลอดชีวิต)
🔺คำนวณจาก 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
🔺ถ้าส่งเงินสมทบเกิน 180 เดือน จำนวนเดือนที่เกินประกันสังคมจ่ายเพิ่มให้อีกปีละ 1.5% 🍀
🔺ถ้ารับเงินบำนาญแล้วเสียชีวิต ภายใน 60 เดือน ภรรยาหรือบุตรจะได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำเหน็จที่ได้รายเดือน
ตัวอย่างการคำนวณ ขออนุญาติให้ดูจากภาพนี้ค่ะ web aommoney.com by อภินิหารเงินออม
เค้าทำไว้ดีมาก เข้าใจง่าย
แอดก็เข้าใจเพราะภาพนี้แหละค่ะ แล้วไปสอบถามจากเจ้าหน้าที่ประกันสังคมอีกที จึงกระจ่างค่ะตามนี้ค่ะ
ขอบคุณภาพจาก aommoney.com
จากตัวอย่าง ส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี
🍅 คำนวณเงินบำนาญ มาตรา 33
ถ้าเงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายเฉลี่ย 20,000 บาท
ก็ให้คิดที่เพดานเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท
ส่งเงินส่วนแรก 180 เดือน(15 ปี)
ได้ 20% ของ 15,000 บาท = 3,000 บาท
ส่วนต่างอีก 60 เดือน(5 ปี)
ได้อีกปีละ 1.5% x 5ปี = 7.5%
7.5% ของ 15,000 บาท = 1,125 บาท
*บำนาญที่ได้ 3,000+1,125 = 4,125บาทต่อเดือน
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
🍋 ทีนี้พอคุณเกษียณอายุ หรือบาออกจากงานในระะบบบริษัท แล้วมาสมัครประกันสังคมมาตรา 39
📌 คำนวณเงินบำนาญ มาตรา 39
วิธีคำนวณเหมือนกัน ต่างกันที่เพดานเงินเดือนสูงสุด 60 เดือนสุดท้ายเฉลี่ย
มาตรา 39 ส่งเงินสมทบเดือนละ 480 บาท
พอนำไปคิดฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
คุณจะเหลือฐานเงินเดือนสูงสุด 4,800 บาท
ต่อให้เงินเดือนก่อนหน้าคุณจะมากเท่าไร
เงินบำนาญเหลือ 20%ของ 4,800 บาท
= 960 บาท
ถ้าส่งเงินสมทบมามากกว่า 180 เดือน
ก็บวกส่วนต่างอีกปีละ 1.5%
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
ไม่แน่ใจว่าแอดเขียนเรียงลำดับให้งงหรือเปล่า
ลองทบทวนทำความเข้าใจให้ดีค่ะ
หรือท่านที่มีข้อเสนอแนะก็แชร์มาได้นะคะ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
ขอบคุณข้อมูลประกอบ
🎯 จะเลือกสมัครมาตร 39 หรือไม่ก็ตัดสินใจเอง
บนข้อมูลที่ครบถ้วน
สุดท้ายรับเงินบำนาญแล้วจะได้ไม่ตกใจ
ว่าเงินควรได้ทำไมมันลดฮวบฮาบ 😡
🎯 ถึงคุณยังไม่ได้บำนาญในวันนี้พรุ่งนี้
แต่มันคือรายได้ของคุณในอนาคต แม้จะไม่มากสำหรับบางคน อย่างน้อยก็ดำรงชีพได้หลายวัน
🌺 "สุข" ในทุกๆวันค่ะ / นับหนึ่ง 💖

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา