2 ต.ค. 2019 เวลา 07:50 • ครอบครัว & เด็ก
ลูกแค่ซนปกติหรือสมาธิสั้น แยกได้อย่างไร?
CR. freepik
เรื่องนี้เคยมีกรณีค่ะ คือพ่อแม่ไม่แน่ใจว่าลูกตัวเองซนปกติหรือสมาธิสั้น ก็้เลยพาไปพบคุณหมอ ผลออกมาคือ ลูกแค่ซนปกติตามวัย ทีนี้จะแยกได้ยังงัยล่ะ? ไปดูข้อมูลพร้อมวิธีรักษาเบื้องต้นกันค่ะ
เด็กที่ซนปกติ
โดยปกติแล้วเด็กแจ่ละวัยจะมีสมาธิไม่เท่ากัน
- อายุไม่เกิน 1 ขวบ จะมีสมาธิได้ไม่เกิน 2-3 นาที
- อายุ 1-2 ขวบ จะมีสมาธิได้ประมาณ 3-5 นาที
- วัยอนุบาล จะมีสมาธิได้ประมาณ 5-15 นาที
- วัยประถมตอนต้น จะเริ่มนานขึ้นเป็น 15-30 นาทีขึ้นไป
เด็กโตจะมีสมาธิมากกว่าเด็ก เอามาเทียบกันไม่ได้นะคะ
โรคสมาธิสั้นเป็นอย่างไร?
โรคสมาธิสั้น หรือ attention-deficithyperactivitydisorder (ADHD) เรียกได้ว่าเป็นภาวะบกพร่องในการทำงานของสมอง ที่จะสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก 2 รูปแบบคือ
1. ขาดสมาธิจดจ่อ (Inattention)
- ไม่ตั้งใจฟังในสิ่งที่คู่สนทนาพูดด้วย หรืออาจฟังเป็นช่วงๆ แต่ก็จับใจความที่คู่สนทนาพูดไม่ได้
- ไม่ชอบทำอะไรตามขั้นตอน มักทำแบบรวบรัด
- ไม่ชอบจดจ่ออยู่กับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งนานๆ
- ไม่ชอบการเรียนรู้ที่ต้องใช้เวลานาน เช่น การอ่านนิทานยาวๆ หรือ อ่านหนังสือเรื่องยาว
- ไม่ใส่ใจรายละเอียด ทำให้มองข้ามเรื่องสำคัญ ทำให้เกิดความผิดพลาดแบบซ้ำๆ
- มักลืมอุปกรณ์เครื่องใช้หรือของจำเป็น เช่น ลืมดินสอ ยางลบ หรือหนังสือ เมื่อถึงโรงเรียนแล้ว
- บริหารเวลาไม่เป็น เรียงลำดับความสำคัญก่อนและหลังไม่ได้
- พยายามเลี่ยงและไม่ชอบงานที่ต้องใช้เวลาทำนานๆ เช่น การบ้านหรือการเขียนรายงาน
2. อาการที่ไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) และอาการหุนพลันแล่น (Impulsivity)
- พูดไม่หยุด เห็นอะไรก็เอามาพูดได้ทุกเรื่อง
- นั่งนิ่งๆ หรืออยู่กับที่นานๆ ไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ
- เคลื่อนไหวเร็ว ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
- ไม่ชอบการรอคอย เมื่อไหร่ที่ต้องให้รอ จะรู้สึกขัดใจและอึดอัด
- มักจะลุกออกจากที่นั่งบ่อยๆ เช่น ออกนอกห้องเรียน เป็นต้น
- กระสับกระส่าย จนสังเกตได้ว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์
- ไม่สามารถทำงานอดิเรกหรือทำกิจกรรมแบบเงียบๆ คนเดียวได้
- พูดสวนขึ้นมาในขณะที่คนอื่นยังพูดไม่จบ
1
สมาธิสั้น...รักษาอย่างไร?
1. จัดตารางกิจกรรมประจำวันของลูกอย่างมีแบบแผน
2. จัดบริเวณบ้านให้สงบ พยายามไม่ให้มีเสียงรบกวนในเวลาที่ลูกต้องทำการบ้าน
3. แบ่งงานให้ลูกทำทีละน้อย อาจเป็นงานบ้านง่ายก็ได้ค่ะ แล้วคอยให้กำลังใจลูก
4. การมอบหมายงานลูก ควรดูจังหวะที่เหมาะสม ดูว่าลูกพร้อมที่จะฟังหรือไม่
5. ชื่นชมลูกทุกครั้งที่เค้าทำงานได้สำเร็จ แต่หากลูกนิ่งๆ เมินเฉยต่องาน ให้คุณพ่อคุณแม่ใจเย็นๆ ช่วยเค้าทำในบางช่วงสลับกับให้เค้าได้ลองเอง จนงานสำเร็จ
6. เมื่อลูกเริ่มจะมีอาการอยู่ไม่นิ่ง ให้คุณพ่อคุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจด้วยการหากิจกรรมอื่นทำแทน
7. ใช้พลังการไม่อยู่นิ่งให้เป็นประโยชน์ เช่น ทำงานบ้าน เริ่มจากง่ายๆ ก่อน
8. พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกก่อน เช่น มีวินัย รู้จักการรอคอย และการทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยเวลานานๆ
9. พูดคุยกับครูอยู่เสมอ เพื่อช่วยกันปรับพฤติกรรมลูกเมื่อลูกอยู่ที่โรงเรียน
1
แต่ไม่ว่าลูกจะเป็นเด็กที่ซนปกติหรือจะสมาธิสั้นก็ตาม "การมีพ่อแม่ที่เข้าใจ ให้กำลังใจ และคอยอยู่เคียงข้างเค้าไม่ว่าวันนั้นเค้าจะสุขหรือทุกข์" เหล่านี้ต่างหากคือ สิ่งที่ลูกต้องการ
ติดตามผลงานเพิ่มเติม
🌏 website :
แนะนำ ติชม ได้นะคะ
🔖เพื่อเป็นกำลังใจให้คุณแม่🔖
กดไลค์ 👉 ถ้าชอบ
กดแชร์ 👉 ถ้าคิดว่ามีประโยชน์
กดติดตาม👉 เป็นกำลังใจให้อย่างดีเลยค่ะ
🙏 ขอบคุณสำหรับทุกการติดตามและความคิดเห็นค่ะ
โฆษณา