10 ต.ค. 2019 เวลา 10:00
เปิดโฉมหน้า " นามปากกาดัง" ในเมืองไทย👺
📍เสพสมบ่มิสม(1) 😱😅😂
เมื่อเรื่องใต้หมอนใต้มุ้ง ความรัก ปัญหาทางเพศเป็นเรื่องที่ยังน่าเขินอายและไม่ควรพูดถามกันในที่สาธารณะหรือไม่มีใครเขียนถึงเมื่อ 30-50ปีก่อน
ไม่ต้องแปลกใจที่คอลัมน์นี้จะได้รับความนิยมในหมู่
ผู้อ่านทั่วไปมากๆ กระทั่งในโรงเรียน ก็มีการล้อกัน ใช้คำว่า ไปปรึกษาหมอนพพร, เองนั่นแหละหมอนพพรเลย...ถ้าท่านจอมยุทธอายุกลางคนขึ้นไปก็น่าจะพอเข้าใจสิ่งที่ข้าเขียนอยู่นี่...
คอลัมน์ที่ต้องแอบอ่านกันเบาๆเงียบๆ แง้มเปิดหน้านสพหน้านี้กันบ่อยๆแต่ก็กลัวคนข้างๆคิดว่าเราบ้ากาม ทะลึ่งตึงตัง...🤣🤣🤣
นพ.นวรัต ไกรฤกษ์ เจ้าของนามปากกา 'หมอนพพร' คอลัมนิสต์ชื่อดัง 'เสพสมบ่มิสม' หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
1
นพ.นวรัต เป็นที่รู้จักของสังคมทั่วไปในสมัยนั้น ในช่วงปี 2520 มาเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลเลิดสิน ทำให้ได้รู้จักกับนายห้างแสง เหตระกูล เจ้าของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ซึ่งได้มีการชักชวนมาเขียนบทความตอบปัญหาทางเพศผ่านคอลัมน์ “เสพสมบ่มิสม” ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
.
โดยใช้นามปากกาว่า “หมอนพพร” ซึ่งมาจากการผสมคำระหว่าง นายแพทย์ (นพ.) แล้วเติมคำว่า “พร” เข้าไป
.
เนื้อหาของบทความดังกล่าวเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของผู้อ่านเดลินิวส์ทุกเพศทุกวัยและเป็นคอลัมน์ยอดนิยมมาจนถึงประมาณปี 2555
1
สำหรับประวัติ นพ.นวรัต เป็นบุตรของมหาเสวกเอก พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ.ไกรฤกษ์) กับเจ้าคำ (เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่)
.
เกิดวันที่ 25 มิ.ย. 2459 จบการศึกษาจากวชิราวุธวิทยาลัยเมื่อปี 2474
.
เข้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาปี 2476-2480 ได้เข้าเรียนในคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และสำเร็จแพทยศาสตร์บัณฑิตเมื่ออายุ 21 ปี
.
ต่อมาปี 2481 สมรสกับ น.ส.ประยล รัตนคุปต์ มีบุตรธิดา 5 คน หลาน 14 คน และเหลน 15 คน
ชีวิตการทำงานปี 2482-2488 นพ.นวรัตน์ เข้าทำงานที่สภากาชาดไทย รพ.จุฬาลงกรณ์ ในตำแหน่งอายุรแพทย์
.
ปี 2490 -2519 ได้มาทำงานที่สถานพยาบาลโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
.
ระหว่างปี 2497-2498 ได้รับทุนการศึกษาจากโรงงานยาสูบไปศึกษาต่อทางโรคผิวหนังและกามโรคที่มหาวิทยาลัย Pennsylvania สหรัฐอเมริกา
.
ปี 2499 ได้ร่วมก่อตั้งชมรมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ช่วงปี 2519-2523 ได้ดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
นพ.นวรัต ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการสงบที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 18 มี.ค.2555 หลังจากเข้ารับการรักษาโรคปอดติดเชื้อ โดยมีอายุ 95 ปี 8 เดือน 18 วัน
📍ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน(2)🥰😂😂
การ์ตูน...เสียดสีเรื่องราวในสังคม ข่าวดัง การเมือง หน้าแรกๆที่ทั้งเด็กและผู้อ่าน นสพ.ไทยรัฐสมัยก่อนชอบเปิดดูก่อนหน้าอื่น...
“ ชัย ราชวัตร ” หรือ นายสมชัย กตัญญุตานนท์ การ์ตูนนิสต์ชื่อดังวัย 77 ปี เป็นชาวอุบลราชธานี เกิดวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2484 เป็นคนไทยเชื้อสายจีน จบการศึกษาด้านบัญชี และเคยเป็นพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ชอบในงานนั้น
.
ด้วยพรสวรรค์ด้านขีดเขียนจึงมาทำงานประจำที่ฝ่ายศิลป์ของหนังสือกีฬาเดอะเกม เขียนการ์ตูนเกี่ยวกับแวดวงการเมือง
.
กระทั่งเกิดเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 เขามีรายชื่อเป็นฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลเผด็จการทหาร จึงตัดสินใจหลบหนีไปอาศัยอยู่ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา นาน 2 ปี เมื่อประเทศกลับสู่ภาวะปกติ จึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทย
1
ช่วงเดินทางกลับมาประเทศไทย “ชัย ราชวัตร” เริ่มงานกับ นสพ.เดลินิวส์ รุ่น “เปลว สีเงิน” หรือ โรจน์ งามแม้น เขียนการ์ตูน “งิ้วการเมือง” นานประมาณ 2-3 เดือน
.
เมื่อ “โรจน์ งามแม้น” เกิดปัญหากับนายทุนจึงลาออกมาอยู่ นสพ.ไทยรัฐ ด้วยกันเมื่อ พ.ศ.2522 และเป็นกำเนิดการ์ตูนการเมือง “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน”
.
🥰 มีผู้ใหญ่มากับไอ้จ่อย เป็นตัวเอก ได้รับความนิยมอย่างสูงมาโดยตลอด
“ชัย ราชวัตร” นับเป็นการ์ตูนนิสต์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดสูงที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย
.
ผลงานที่เขาภาคภูมิใจในชีวิตคือมีโอกาสถวายงานใกล้ชิดในหลวงรัชกาลที่ 9 เขียนการ์ตูนประกอบพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก และคุณทองแดงโดยเฉพาะคุณทองแดง จำหน่ายสูงสุดถึง 3 ล้านเล่ม
12 พ.ค.62 “ชัย ราชวัตร” หรือนายสมชัย กตัญญุตานนท์ การ์ตูนนิสต์ชื่อดัง เจ้าของการ์ตูนหน้า 5 “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ได้ยื่นใบลาออกถึงคณะผู้บริการกองบรรณาธิการ นสพ.ไทยรัฐ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
.
ถือเป็นการปิดฉากการทำเป็นการ์ตูนนิสต์ นสพ.ไทยรัฐ ตั้งแต่ พ.ศ.2522 หรือนานถึง 40 ปี
📍คนปลายซอย (3)😑😅😬
โดย เปลว สีเงิน
ถ้าสนใจคอการบ้านการเมือง ที่ลงลึกแสบสัน สำบัดสำนวนที่คมกริบ ต้องนี่เลย...งานเขียน คุณเปลว สีเงิน
เปลว สีเงิน เป็นนามปากกาของ
โรจน์ งามแม้น
.
เกิดเมื่อ พ.ศ. 2487 ที่จังหวัดสมุทรสงคราม จบชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดโพธิ์ กรุงเทพฯ
.
เริ่มเขียนหนังสือเมื่ออายุ 14 ปี โดยการเขียนเรื่องส่งหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ เคยเป็นนักการเฝ้าโรงพิมพ์ประชาธิปไตย และฝึกหัดตนเองจนได้เป็นนักข่าวอาชญากรรมของหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ พ.ศ. 2514
.
เป็นหัวหน้าข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์บ้านเมือง และได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าข่าวภูมิภาค เขียนคอลัมน์ข่าวอาชญากรรมใช้นามปากกา "นายจิบ" ด้วยสำนวนสนุกสนานเฉพาะตัว ต่อมาจึงย้ายไปอยู่หนังสือพิมพ์ดาวสยาม
📌โรจน์เริ่มใช้นามปากกา "เปลว สีเงิน" เมื่อเขียนคอลัมน์ "เตะผ่าหมาก" ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
.
ก่อนจะลาออกไปรับตำแหน่งหัวหน้าข่าวหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และเขียนคอลัมน์ "สะบัดปากกา ตีแสกหน้า" พศ.2524-2534 ยังคงใช้นามปากกา เปลว สีเงิน
.
ต่อมา พ.ศ. 2534 รับตำแหน่งหัวหน้ากองบรรณาธิการ และเขียนคอลัมน์ "ระหว่างบรรทัด" ในหนังสือพิมพ์สยามโพสต์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยในเครือบางกอกโพสต์
.
ลาออกไปก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2539
นายโรจน์ได้รับพระราชทานปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยทางอธิการบดีมหาวิทยาลัยให้เหตุผลว่า นายโรจน์ประสบความสำเร็จในการประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนอย่างสร้างสรรค์และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักหนังสือพิมพ์รุ่นหลัง ทั้งในด้านความรู้ความสามารถในการเขียนคอลัมน์
ที่มีสำนวนภาษาเฉพาะตัว การใช้ภาษาไทยเรียบง่ายและน่าสนใจ ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ สามารถอธิบายเรื่องยากให้เข้าใจง่าย ซึ่งแต่ละข้อเขียนล้วนแต่ให้ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารหนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์ นักหนังสือพิมพ์อาวุโส ผู้เขียนบทความวิเคราะห์การเมืองและสังคม ตีพิมพ์ในหน้า 5 ของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ชื่อคอลัมน์ "คนปลายซอย"
📍ซ้อเจ็ด ในManager online (4)🤗🙄😬
ตราบทุกวันนี้ยัง ไม่ปรากฎแน่ชัด ว่า คือใคร คงเป็นปริศนาต่อไปชั่วกาลนาน(เทอญ)😱😱 สมัยนั้นอาซ้อจะดังมากน่าจะเรื่อง แหม่มเบนโล...พุ่งมาก
ซ้อเจ็ด เป็นนามปากกาของนักเขียนผู้ไม่ประสงค์จะออกนามจริง เขียนบทความในผู้จัดการออนไลน์เกี่ยวกับดาราและบุคคลที่มีชื่อเสียง โดยมีข้อมูลจากวงใน หรือข้อมูลที่สำคัญ ลักษณะการเขียน ผู้เขียนจะไม่กล่าวชื่อ คนนั้นว่าเป็นใครแต่จะพูดเป็นคำใบ้ต่างๆ แทน เช่น คุณลุงหน้าเหลี่ยม คุณป้าหน้าบาน น้องตาโตเสียงแผด นางเอกหน้าคม เป็นต้น และเปิดให้มีผู้เข้าไปอ่านเป็นจำนวนมากและแสดงความคิดเห็นต่างๆกันไป นอกจากข่าวในเว็บออนไลน์แล้ว คอลัมน์ซ้อเจ็ดมีบริการรับฟังข่าวผ่านโทรศัพท์มือถือ ไปขนาดนั้น ความอยากรู้อยากเห็นมันไปไกลขนาดนั้นเลย...😱😱🥴🥴
😊 ประวัติที่มาซ้อเจ็ด
.
ในปี พ.ศ. 2543 ในขณะนั้นผู้จัดการออนไลน์มียอดคนอ่านเพียง 3,000 คนต่อวัน (อยู่อันดับที่ 40 ในสมัยนั้น) คุณสนธิ ลิ้มทองกุล มีคำสั่งมายังผู้ที่ใช้นามปากกาว่า ซ้อเจ็ด เปิดคอลัมน์ซุบซิบเพื่อดึงคนอ่านให้ได้หลักหมื่น โดยนามปากกา “ซ้อเจ็ด”
.
โดยเริ่มเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่มีการอุ้มฆ่าของตระกูลวิญญรัตน์ ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการซอสปรุงรสยี่ห้อภูเขาทอง ซึ่งคนที่ถูกอุ้มคนสุดท้ายเป็นซ้อคนที่เจ็ด!
.
โดยการเขียนจะอัปโหลดเรื่องราวใหม่ๆ ทุกเย็นวันศุกร์ สุดสัปดาห์ แต่พอเกิดเหตุการณ์ช่วงก่อนปฏิวัติ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ที่มีการข่มขู่จะปิดผู้จัดการออนไลน์ จึงทำให้ซ้อเจ็ดหายตัวไป...😱😱
หลังจากนั้น 2 ปี จึงกลับมาพร้อมกับการเปลี่ยนชื่อจาก คอลัมน์ เดิม เป็น “บีบสิว” และมาเป็น “บีบสิวหัวช้าง” โดยเปลี่ยนมาอัปเดตเรื่องใหม่ทุกเย็นวันจันทร์แทน โดยตีแผ่เรื่องราว ของนักการเมืองและครอบครัว ดารา นักร้อง
1
📌 คาแร็กเตอร์ของซ้อเจ็ดที่ถูกสร้างคือเป็น“สตรีวัยกลางคน อายุ 45 ปี ผมหยักศก อกอิ่ม รูปร่างสมส่วน สุขภาพดี หน้าตาสดใส ไม่นิยมการแต่งหน้า เป็นภริยาท่านทูตต่างชาติ รสนิยมดี การศึกษาดี เป็นคนสู่รู้ มีอารมณ์ขัน ตลกร้าย ตรงไปตรงมา กระนั่นแม้จะปากคอจัดจ้าน ในความดิบนั้นก็มีมโนธรรม มีคุณธรรมแฝงอยู่ในบางเรื่อง”
📌 ผลงานชิ้นแรกๆ ที่สร้างชื่อให้ซ้อเจ็ด เช่นเรื่อง เกย์ ชู้ สำส่อน มั่วยา ขายตัว รวมไปถึงเรื่องราวใหญ่โตอย่าง นักการเมืองโกงกินชาติ โดยเขียนในรูปแบบสาธยายแบบเผ็ดร้อน รุนแรง ด้วยการบรรยายโวหาร กล่าวถึงคนอื่นโดยไม่ใช่อักษรย่อ มีการเล่าเรื่องที่น่าติดตาม ซึ่งเป็นการสร้างจุดขายที่แตกต่างจากข่าวซุบซิบยุคเก่า รวมถึงการบัญญัติศัพท์ใหม่ๆ เช่น
ซินาอ้า (นี่ต้องไปค้นเอง ใครอ้าใคร😅🤣)
แม้จะเป็นข่าวที่มีลักษณะแบบปากต่อปาก แต่ซ้อเจ็ดก็ต้องนำข้อมูลมาตรวจสอบก่อนเขียนทุกครั้ง 3-4 รอบ รวมถึงความถูกต้องในการใช้ภาษา
.
และที่สำคัญมีการดูตัวบทกฎหมายว่าจะถูกฟ้องหรือไม่ สิ่งที่เขียนมีข้อเท็จจริง 60% และเรื่องแต่งขึ้นอีก 40% เพื่อให้เรื่องราวมีสีสันด้วยภาษาที่น่าดึงดูด
😑 การหาข่าว แก้ไข
ในช่วงปีแรก ซ้อเจ็ดเขียนข่าวทุกข่าวด้วยตัวเอง จากนั้นเริ่มมีทีมเข้ามาช่วย จาก 3 คนเป็น 5 คน ซึ่งซ้อเจ็ดจะเป็นคนกลั่นกรองและเรียบเรียงสำนวนด้วยตัวเอง เพื่อให้งานเขียนดูมีตรรกะมากขึ้น การเก็บข้อมูล นำมาจากตามวงเหล้า ตามผับ ตามบาร์ “เด็กเที่ยว” และ “สาวไซด์ไลน์” ที่มีประสบการณ์ตรง บางครั้งข้อมูลเชิงลึกก็มีการแลกกับเงินค่าเรื่อง 2,500 บาท ก็มีในสมัยนั้น
5
📌 อิทธิพลในการเขียนของซ้อเจ็ด คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และยาขอบ ที่มีการเขียนเรื่องโดยใช้ กลยุทธ์ร้อยเรียงเหมือนเรื่องสั้น เพื่อให้อ่านสนุก น่าติดตาม
2
📌 ซ้อเจ็ดยังส่งผลต่ออิทธิพลให้เกิดคอลัมน์ประเภทซุบซิบ นินทา ในนิตยสารบันเทิงหลายฉบับตามมา ซ้อเจ็ดวิจารณ์ไว้ว่า "บางเล่มใช้คำแรงจนดูโง่เกินไป เราแรงจริง เราถ่อย เราดิบ แต่เราไม่ต่ำ ไม่โลว์เทสต์ เราเป็นเมียท่านทูตนะ อย่างน้อยก็จบเอกชนสตรีชั้นนำ (หัวเราะ)" และซ้อเจ็ดเล่าว่า "เกินครึ่งของหัวหน้าข่าวบันเทิงในนิตยสารแนวนี้เคยเป็นลูกน้องซ้อเจ็ดมาก่อน"
ยังไงก็ฝากเหล่าจอมยุทธไปสืบต่อนะ ว่าจริงๆซ้อเจ็ดเป็นนายหรือนางหรือเป็นใคร...หวังว่ายังมีชีวิตอยู่ดี😂😱😅😑
ข้าก็จะจบเห่ด้วยประการฉะนี้ หาข้อมูลมาเขียนเรียบเรียง ตามความอยากรู้อยากเห็นของข้าเองล้วนๆ
🥰😂😅
pic from pinterest
ออกท่องยุทธ ถ้าเราพอรู้เเหล่งเบาะเเส เเหล่งข่าว หรืออะไรดีๆ จอมยุทธที่เร้นกายที่เต็มไปด้วยคุณภาพ ความลึกลับ น่ากลัว เราจะพบว่า การฟัง การอ่าน การพูดคุย ก็เป็นสุนทรีย์อย่างนึงของชีวิต...อ่านฟัง พูด ไปเถอะนะ เรื่องในบ้านจนถึงนอกบ้าน สังคม โลกใบนี้...สนุกและมันส์พะยะค่ะ 🤣🤣🤣
📍ฝากกด Like& ติดตาม...ด้วยนะจ้ะ😍😍
#แม่เฒ่ากินฮวย Love Reading n Listening😊😆
โฆษณา