16 ต.ค. 2019 เวลา 14:52 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
“การตัดสินใจทำสิ่งต่างๆยังมาจากคุณเองอยู่หรือไม่?”
#21 Lessons for the 21st Century
#ความท้าทายทางเทคโนโลยี
3.เสรีภาพ
การมองประชาธิปไตยเป็นการแสดงความคิดเห็นอาจต้องมองใหม่ เมื่อมองดีๆการเลือกตั้งที่มาคู่กับประชาธิปไตยอาจเป็นการแสดงความรู้สึกมากกว่าไม่ใช่การแสดงความคิด
ตัวอย่างเช่น นักชีวะ ริชาร์ด ดอว์กิน ที่มองว่าตัวเค้าเองไม่ควรมีสิทธิ์โหวตเรื่องเบรกซิทของอังกฤษ เพราะตัวเค้าเองนั้นขาดความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์
อย่างเช่นหากประชามติมีสิทธ์แสดงความคิดเห็นไอน์สไต อาจถูกปฏิเสธเรื่องคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ที่เค้าทำ หรือกับนักบิน การจอดเครื่องบินที่อาจไม่มีผู้โดยสารเห็นด้วยหากต้องให้ผู้โดยสารเป็นคนตัดสินใจในการจอดโดยการโหวต
เมื่อประชาธิปไตยเป็นเรื่องของหัวใจมากกว่าสมอง จุดอ่อนของระบบจะเกิดทันทีหากเทคโนโลยีสามารถเจาะหัวใจคนได้
เมื่อเป็นเช่นนั้นประชาธิปไตยจะกลายพันธุ์ไปเป็นแค่การแสดงละครเท่านั้นไหม?
สำหรับความรู้สึกเสรีที่เป็นหลักของทุกๆคนในปัจจุบันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติหรือว่าเก่าแก่มายาวนาน
เมื่อหนึ่งพันปีก่อน ความชอบธรรมมาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความชอบธรรมที่มาจากหัวใจของความเสรีแบบทุกวันนี้ เพิ่งมีการโอนมาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมื่อไม่นานนี้เอง
และการโอนความชอบธรรมอาจเกิดขึ้นอีกครั้ง และสำคัญมากๆคือ จากมนุษย์ไปสู่อัลกอริทึม
สุดท้ายเจตจำนงเสรีอาจเป็นเพียงอัลกอริทึมของชีวเคมี และความรู้สึกเป็นเพียงการคำนวณที่รวดเร็วจนคนเราไม่ได้ตระหนักรู้ ว่าจริงๆก็เป็นอัลกอริทึมเหมือนกัน
ในอดีต อารมณ์เป็นตัวเลือกดีสุดในเอกภพ การเลือกสิ่งต่างๆที่สำคัญให้ตัวเองอย่างการเรียน เลือกอาชีพ หรือคู่แต่งงาน เรานั้นเลือกเองจากข้อมูลภายนอกและภายในที่มีเพียงเราเท่านั้นที่รู้
แต่เมื่อปฏิวัติแฝดเกิด อัลกอริทึมอาจสามารถเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกภายของเราได้ดีกว่าตัวเราเองมากๆ
ยกตัวอย่างด้านการแพทย์ เมื่อเราติดตามสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมง จะทำให้เกิดการพบอาการเริ่มต้นของโรคต่างๆ อย่างเช่น ไข้หวัด มะเร็ง หรืออัลไซเมอร์ ซึ่งตัวเราเองนั้นไม่ได้รับรู้จากภายในถึงมัน และอัลกอริทึมยังสามารถแนะนำ การรักษา การกิน แบบจำเพาะบุคคลได้อีกด้วย จากข้อมูลที่ได้เก็บสะสมมา
เมื่อถึงยุคนั้นคนจะสำราญได้มากขึ้นจากการสุขภาพดีแต่อาจย้อนแย้งกับการรู้สึกอยู่ป่วยตลอดเวลา
เพราะทุกวันนี้เราจะยังสุขสบายดีแม้ว่าจะป่วย ถ้าหากโรคนั้นไม่ได้มาทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมาน แต่อนาคต เราอาจจะรู้ว่าป่วยหรือเสี่ยงป่วยตลอดเวลา หากเราไม่ทำตามอัลกอริทึมบอก ไม่ว่าจะการกิน การใช้ชีวิต การพักผ่อน จนอาจเกิดเหตุการที่ถ้าเราทำประกันอาจถูกปฏิเสธเนื่องจากบริษัทนั้นรู้ถึงพฤติกรรมของเรา นายจ้างไม่จ้างเพราะทราบถึงข้อเสียต่างๆของเรา ที่บริษัทอาจต้องเสียค่ารักษาให้เราเป็นจำนวนมากในอนาคต สุดท้ายเราต้องใช้พลังงานในการจัดการเรื่องความเจ็บป่วยไปมากมาย หรือเทคโนโลยีอาจพัฒนาไปจนถึงขั้นใช้อัลกอริทึมจัดการเรื่องความป่วยของเราได้เอง จนเราไม่ต้องทำอะไรกับมันมากนัก จนการเตือนเรื่องโรคหรือความเสี่ยงต่างๆนี้กลายเป็นเหมือนกับโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่เตือนขึ้นมาในคอม และเราก็ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก
ในบทนี้ยังมีเนื้อหาน่าสนใจอีกมาก แต่ผมคงจะขอเล่าถึงตัวอย่างสุดท้าย ที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วที่คนจำนวนมากอาจไม่ได้เลือกจากความคิดของตนเอง
อย่างการตัดสินใจเลือก BRIXIT และ การเลือกตั้งของ Donald Trump ที่มีการแสดงความคิดเห็นว่าอาจเกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้จูงใจ
“ไม่แน่ว่าหากคุณลองย้อนกลับไปนึกถึงการตัดสินใจบางอย่าง คุณอาจกำลังถูกจับตามองและจูงใจ จนไม่ได้คิดสิ่งนั้นเองจริงๆอย่างเสรีก็เป็นได้”
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นล่วงหน้าครับ
ฝากกดไลค์ กดติดตาม หรือกดแชร์ถ้ามองว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ
matmat

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา