4 ต.ค. 2019 เวลา 07:36 • ธุรกิจ
หากมีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax) จาก 7% เป็น 8% ประเทศไทยได้อะไรหรือเสียอะไร
แม้ว่าจะเป็นกระแสข่าวลือและรัฐบาลประกาศห้ามในหัวข้อ “อย่าเชื่อ อย่าแชร์ ข่าวลวงรัฐบาลขึ้น VAT8% ยืนยันคง 7% ไปอีก 1 ปี” แต่เรื่องนี้จะได้นำมาวิเคราะห์เป็นกรณีศึกษาว่าประเทศได้หรือเสียอะไร
เจตนาการแบ่งปันครั้งนี้จะเป็นการแบ่งปันในแง่มุมของการตลาด แม้ว่าสถานการณ์ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงก็ตาม ซึ่งจะเป็นการเทียบเคียงผลลัพธ์ที่ได้รวมถึงโอกาสทางการค้าและการตลาด
ครั้งนี้จะทำการเปรียบเทียบเป็น 3 กรณี (Scenarios) คือ ขึ้นเป็น 8% คงตัวในอัตราเดิมที่ 7% และลดลงเหลือ 6%
ที่มา: รายงานสถานการณ์ด้านการคลัง ปีงบประมาณ 2561 ตุลาคม 2560-กันยายน 2560 สำนักนโยบายการคลัง สำรักงานเศรษฐกิจการคลัง
การเพิ่มเป็น 7% เป็น 8% รัฐบาลจะได้รายได้เพิ่ม คำนวณจากฐานภาษีมูลค่าเพิ่มกรมสรรพากรปี 2561 ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน
ม.ค. 2561 69,389 ล้านบาท
ก.พ. 2561 63,457 ล้านบาท
มี.ค. 2561 62,832 ล้านบาท
เม.ย. 2561 66,285 ล้านบาท
พ.ค. 2561 65,694 ล้านบาท
มิ.ย. 2561 68,617 ล้านบาท
ก.ค. 2561 70,904 ล้านบาท
ส.ค. 2561 69,239 ล้านบาท
ก.ย. 2561 65,037 ล้านบาท
นำมูลค่าการจัดเก็บภาษีทั้ง 9 เดือนมาหาค่าเฉลี่ยต่อเดือนได้เท่ากับ 66,828 ล้านบาท X 12 เดือน ก็จะได้ 801,939 ล้านบาท โดยการคำนวณไม่มีการเพิ่มเงื่อนไขการคำนวณใดๆ
อัตราการขยายตัวของรายได้ในปี 2562 เท่ากับ 6.84%
ที่มา: รายงานสถานการณ์ด้านการคลัง ปีงบประมาณ 2561 ตุลาคม 2560-กันยายน 2560 สำนักนโยบายการคลัง สำรักงานเศรษฐกิจการคลัง
ดังนั้นหากเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้ฐานข้อมูลในปี 2561 รวมกับอัตราการขยายตัวฯเท่าเดิม รัฐบาลจะมีรายได้เพิ่มเท่ากับ (801,939 + 6.84%) X 1% = 8,568 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 865,359 ล้านบาท
ซึ่งเป็นการคำนวณแบบง่ายๆ และนี่คือจำนวนเงินที่จะได้นำมาพัฒนาประเทศ
กรณีที่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงโดยใช้การคำนวณเดียวกันกับข้างต้น
รายได้ลดลงเท่ากับ (801,939 + 6.84%) - 1% = -8,568 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 848,223 ล้านบาท
ถ้าผลลัพธ์แค่เพียงตัวเลขข้างต้น “ยุคใหม่การตลาดของไทย” คงไม่จำเป็นต้องมาแบ่งปันก็ได้ เพราะสามารถคำนวณได้แบบไม่ยากอยู่แล้ว หากแต่มุมมองทางการตลาดและเศรษฐศาสตร์ที่ต่างออกไปต่างหาก
ทางการตลาดคือการเก็บภาษีเท่าเดิมอะไรเดิมๆผลลัพธ์ก็คงไม่ต่างจากเดิมมากนัก แม้ว่าจะมีการกระตุ้นการใช้จ่ายจากภาครัฐบาล คงเพิ่ม GDP ได้ไม่มากเท่าไรนัก
เช่นเดียวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 1% ก็เห็นชัดๆว่าเก็บได้เพิ่มเกือบ 10,000 ล้านบาท อันที่จริงต้องมากกว่านี้เยอะเพราะมีการจัดเก็บภาษีจากต้นทุนซื้อบวกภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งแรกแล้วยังมีการเก็บทบต้นอีก อันนี้เกินกว่าความภูมิปัญญาของ “ยุคใหม่การตลาดของไทย” จะคำนวณออก เงินจำนวนนี้สามารถนำมากระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกมาก
แต่ยังก่อน แม้ว่าการเพิ่มภาษีอีก 1% จะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นก็ตามที แต่ทว่ายังมีเรื่องการเศรษฐศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องของค่าเสียโอกาส กรณีการเพิ่มภาษีสิ่งที่หายไปคือปริมาณการซื้อที่ลดลง มีการคิดคำนวณละเอียดถี่ถ้วนขึ้นเพราะราคาสินค้าเพิ่มขึ้น โอกาสในการจับจ่ายใช้สอยลดลง ส่งผลต่อเม็ดเงินที่จัดเก็บได้ลดลง
แต่นี่ไม่กระทบมากเท่าไรนัก แต่ที่กระทบหนักคือเศรษฐกิจภาพรวมทั้งระบบที่คนจะไม่ยอมจับจ่าย
แล้วการลดภาษีลงมาเหลือ 6% หรืออาจจะลดลง 5% ก็ได้ รัฐบาลจะเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีทางตรงลงอย่างชัดเจน ทว่าอย่าลืมว่าภาษีไม่ได้กระทบต้นทุนด้านเดียว เพราะมีผลตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางกว่าจะถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย ภาษีจะลดลงมีอย่างมาก
แล้วมุมมองด้านการตลาดจะเป็นอย่างไร แน่นอนว่าเมื่อต้นทุนสินค้าลด การจับจ่ายซื้อหาสินค้าก็เพิ่มขึ้น มีโอกาสจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวหรือมากกว่าด้วยซ้ำ
ลองจินตนาการดูนะว่าหากผู้คนซื้อหาจับจ่ายเพิ่มขึ้น ความคึกคักของเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ภาพรวมภาคธุรกิจของไทยจะมีเงินไหลเข้าเพิ่มเท่าไหร่ ทางเศรษฐศาสตร์ก็คือการเพิ่มโอกาสในการซื้อขายนั่นเอง
ผลกระทบทางอ้อมคือทำให้ต้นทุนสินค้าไทยถูกลง แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นก็ตามแต่ก็ทำให้เราสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นได้
เหมือนจะเสียรายได้จากการลดภาษีแต่ผลที่ได้มีโอกาสที่จะทำให้ภาคเศรษฐกิจของประเทศโชติช่วงชัชวาล และยังไม่จำเป็นต้องใช้การอุดหนุนจากภาครัฐเพิ่มแต่อย่างใด
นี่เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆจากคนที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงธุรกิจและการตลาดของไทย มิได้มีเจตนาที่จะทำให้ใครเสียหาย แต่เป็นการแบ่งปันในแง่มุมของโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้
FB Page: Thailand Modern Marketing
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
หากชื่นชอบและถูกใจบทความนี้ ฝากกด Like กด Share และติดตามเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ
โฆษณา