5 ต.ค. 2019 เวลา 01:19 • สุขภาพ
การประเมินความผิดปกติการนอนหลับด้วยตนเองแบบง่ายๆ ด้วย Modified Mayo Sleep Questionnaire https://cutt.ly/5eucnjZ
การนอนหลับกับสมองมีความสัมพันธ์กันแนบแน่น
การนอนหลับที่ดีสำคัญต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
ขณะเดียวกันความผิดปกติของการนอนหลับ ก็เป็นสัญญาน (indicator) บอกความผิดปกติของสมอง จิตใจ ฮอร์โมน
ประวัติการนอน มีมากกว่า "นอนไม่หลับ"
ข้าพเจ้าจึงเชื่อว่าหากมีการซักประวัติการนอนหลับแบบเป็นระบบจะช่วยสร้างเสริมสุขภาพ ได้ไม่น้อยกว่าการซักประวัติออกกำลังกาย
เมื่อข้าพเจ้ายังเรียนเฉพาะทางประสาทวิทยาอยู่ มีความสนใจหัวข้อเกี่ยวกับการนอนหลับเป็นพิเศษ จึงได้พยายามทำสอบถามคัดกรองที่คนทั่วไปสามารถประเมินตนเอง เพื่อจะได้เข้าใจแนวทางดูแลตนเอง และไปสื่อสารกับแพทย์ได้ง่ายขึ้น
จนได้เจอกับแบบประเมิน Mayo Sleep Questionnaire (1) จึงได้ขออนุญาตเจ้าของ เพื่อนำมาเป็นภาษาไทยในเวอร์ชั่นการ์ตูนดังที่นำมาเสนอนี้ค่ะ ซึ่งได้ลองนำไปใช้คัดกรองความผิดปกติการนอนหลับ ที่คลินิกโรคประสาทไขสันหลังอักเสบ (2) และผู้ป่วยพาร์กินสัน (3)
แบบทดสอบมี 8 ข้อซึ่งคัดกรองการนอนผิดปกติ ด้วยความไว (sensitivity) เมื่อเทียบกับการตรวจมาตรฐานคือ sleep lab/polysomnogrsphy ดังตารางค่ะ
ท่านที่สนใจลองประเมินตนเองก่อน ใน google form นี้ https://cutt.ly/5eucnjZ
เพื่อสรุปว่าอาการใดพบบ่อย แล้วจะมาเล่าแต่ละอาการในซีรีส์ "Sleep neurology: make it easy" ต่อไปค่ะ ^_^
Reference
1.Boeve BF et al. Validation of the Mayo Sleep Questionnaire to screen for REM sleep behavior disorder in a community-based sample. J Clin Sleep Med 2013;9(5):475-480
2.Gomutbutra P, Pasokpakdee P. Sleep Problems in Thai Neuromyelitis Optica Spectrum Disorder and Multiple Sclerosis: A Pilot Study. Multiple Sclerosis Journal 2017; 23: 2: 308–355 (poster abstract).
3.Gomutbutra P, Kanjanaratanakorn K, Tiyapun N. Prevalence and Clinical Characteristics of Probable REM Behavior Disorder in Thai Parkinson’s Disease Patients. Parkinson’s Disease. 2018;2018:1–6.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา