5 ต.ค. 2019 เวลา 02:46 • ความคิดเห็น
ความยุติธรรม......ราคาจ่ายที่แลกด้วยชีวิต
สังคมมาถึงจุดที่ผู้อยู่บนสุดของห่วงโซ่แห่งความยุติธรรม ต้องมาเรียกร้องความยุติธรรมซะเอง !!
จริงๆตลอดหลายปีมานี้สังคมเราวนเวียนกับการเรียกร้องความยุติธรรมมาตลอด ทั้งในระดับการเมืองและปัจเจก แต่การเรียกร้องความยุติธรรมไม่ว่าระดับไหนล้วนมีราคาจ่ายที่แสนแพง และเหยื่อคือผู้ที่จ่ายแพงกว่าเสมอ !!
ซึ่งเราก็พบเห็นและตระหนักดีว่ามันเป็นปัญหาระดับโครงสร้างที่ยากต่อการแก้ไข
ไม่ว่าจะ คดี 9 ศพ ของแพรวา หรือ99 ศพปี53 ความยุติธรรมล้วนแล้วแต่ต้องแลกมาด้วยราคาจ่ายที่แพงเกินไปและไม่คุ้มค่าเลย เราต้องจ่ายอีกเท่าไหร่ด้วยราคาไหน ปัญหาเหล่านี้ถึงจะได้รับการแก้ไข
ทั้งๆที่ความยุติธรรมไม่ควรเป็นสิ่งที่ต้องเรียกร้องด้วยราคาจ่ายอันแสนแพงเพราะมันควรจะดำเนินและดำรงค์อยู่บนพื้นฐานปกติของสังคม
แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า “Justice is the advantage of the stronger” ความยุติธรรมเป็นเรื่องของผู้ที่แข็งแกร่งกว่า เข้าถึงทรัพยากรได้มากกว่า มีต้นทุน
มีอำนาจที่เหนือกว่า
เพราะการเข้าถึงความยุติธรรมของคนทั่วไปเราต้องยอมรับว่ามันมีความไม่เท่าเทียมในพื้นฐานมีความเหลื่อมล้ำอยู่ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่คนธรรมดาทั่วไปจะมีต้นทุนดำเนินการในระบอบนี้ ไม่ว่าจะ ค่าธรรมเนียม ค่าทนาย ค่าประกัน ค่าเดินทาง ค่าเสียโอกาส เหล่านี้ล้วนเป็นราคาจ่ายที่แสนแพง ในปัจจุบันยิ่งช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นถ่างขึ้น ก็ยิ่งยากลำบากขึ้นไปทุกที อย่าลืมว่า เงิน 5,000 ของแต่ละคนมันไม่เท่ากัน !! ทั้งๆที่การเข้าถึงบริการด้านความยุติธรรมควรเหมือนหรือใกล้เคียงกับการใช้บริการพื้นฐานทั่วไป อย่าง ประกันสุขภาพหรือเรียนฟรี
เพราะแค่สู้กับความเหลื่อมล้ำทางฐานะทางเศรษฐกิจก็เหนื่อยแล้ว หากต้องสู้กับอำนาจทางสังคมเข้าไปอีก จบเลยค่ะ
จริงๆแล้วปัญหาการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม โดยอาศัยอำนาจรัฐและอำนาจทุนมันก็มีมายาวนานในสังคมจนกระทั่งคนเริ่มเกิดความเสื่อมศรัทธา แม้มันจะมีการตระหนักและพยายามแก้ไขมาตลอด(การจัดตั้งองกรณ์อิสระต่างๆ) แต่สิ่งที่สะท้อนออกมาเราก็พอเห็นว่า มันไม่ถูกจุด
เรื่องที่เราต้องยอมรับ คือ ปัจจัยที่เข้ามามีอิทธิพลต่อความยุติธรรมก็คือเรื่องเงินและผลประโยชน์ ปัจจัยด้านอำนาจก็สำคัญแต่ก็ยังอยู่ใต้สิ่งนี้ เพราะการที่จะก้าวเข้าสู่อำนาจก็ต้องมีต้นทุน สิ่งที่ก่อปรให้มันเกิดปัญหาแบบนี้ก็คือ ลัทธิทุนนิยม และสังคมพหุนิยมทางอำนาจ(ขอไม่พูดถึง) นั่นแหละ
ลัทธิทุนนิยมจะไม่สามารถเขามามีบทบาทแทรกแทรงใดๆได้เลย หากความยุติธรรม หนีห่างจากเงินและประโยชน์ตอบแทน เราจะสถาปนาเสาหลักนี้ให้มั่นคงได้ก็ต้องเริ่มจากการยอมรับ ถึงความเหลื่อมล้ำที่เป็นจริงทางสังคมในทุกมิติ และปรับแก้ให้สอดคล้องกับบริบทยุคสมัย
และการจะเปลี่ยนแปลงสังคมพหุนิยมทางอำนาจ เราก็ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของตัวเราเอง
สิ่งที่เราต้องตระหนักคือ เราทุกคนต้องกล้าที่จะยืนเคียงข้างความยุติธรรม ความถูกต้อง หากเราเพิกเฉยกันมากขึ้น สุดท้ายเราเองก็จะสูญเสียมันไป
มิ้วๆนะ
โฆษณา