6 ต.ค. 2019 เวลา 16:17 • การเมือง
รำลึก 43 ปี 6 ตุลาคม 2519 กับไม้ขีดไฟ
**การทำให้ประวัติศาสตร์การเมือง รวมไปถึงความทรงจำเกี่ยวกับ 6 ตุลา กลับขึ้นมาเป็นกระแสหลักมันไม่ง่าย ?** คำถามที่สำคัญคือ เพราะอะไรจึงทำให้ไม่ง่าย ?
- เกือบสี่เดือนที่ห่างหาย.. อาจด้วยภารกิจที่รัดตัว .. และอะไรหลาย ๆ อย่าง ที่บีบให้ไม่มีเวลาต้องเขียนเพจ .. วันนี้ถือเป็นฤกษ์งามยามดีอีกทั้งที่ผู้เขียนจะขอเปิดตัวการกลับมาด้วยเหตุการณ์อันนับว่าเป็นไม้ขีดไฟด้ามหนึ่งของสังคมไทย..
_(1)_ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทางประชาไทได้นำเสนอคลิปวิดีโอเกี่ยวกับ "6 ตุลา" ภายใต้ประเด็นคำถามที่น่าสนใจคือ "รู้จัก 6 ตุลากันหรือไหม?" ภายในวิดีโอเป็นการเข้าไปถามเด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาด้วยคำถามที่ว่า "น้องๆ รู้จัก 6 ตุลาหรือป่าว?" คำถามสั้นๆ หากแต่คำตอบที่ได้จากบรรดานักเรียนมีค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น "ไม่รู้จัก" "รู้จักบ้าง" ไปจนถึง "รู้จัก แต่ไม่แน่ใจว่าเนื้อหาถูกต้องไหม"
_(2)_คลิปวิดีโอของประชาไทนี้ได้นำไปสู่คำถามอีกคำถามที่น่าในใจคือ "6 ตุลา มีที่ทางแค่ไหนในแบบเรียนไทย" ซึ่งทางประชาไทก็ไม่รีรอที่จะหาคำตอบ ได้นำเสนอคำตอบภายในรายงานชุด "ฉันไม่รู้จัก 6 ตุลา"
ในรายงานดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะตอบคำถามว่า รัฐไทยอธิบายเรื่อง "6 ตุลา" ให้เยาวชนเข้าใจว่าอย่างไร
_(3)_แต่ผู้เขียนรายงานกล่าวต่อว่านี่อาจเป็นคำถามที่ดีเกินไป บางทีอาจต้องเริ่มต้นตั้งแต่ว่า "รัฐไทยอธิบายเรื่องนี้หรือไม่ ?"
ฉันไม่รู้จัก 6 ตุลา: สำรวจ 6 ตุลา ในแบบเรียนไทย - ประชาไท [2019-02-07]
_(4)_อันเนื่องมาจากประสบการณ์ในการทำ Undergraduate thesis ของผู้เขียนมีความเกี่ยวข้องแบบเรียนไทยในระดับประถมศึกษาตั้งแต่ป.1-6 (กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ หลักสูตรแกนกลาง 51)
_(5)_ผู้เขียนแค่รู้สึกอยากจะเล่าถึงที่ทางของ "6 ตุลา" ในเนื้อหาของแบบเรียนประถมศึกษาตามประสบการณ์ที่ผู้เขียนมี จึงเป็นเหตุผลที่ฉุดกระชากผู้เขียนลุกขึ้นมานั่ง แล้วเอามือทั้งสองข้างว่างบนแป้นพิมพ์แล้วพรรณามายาวจนขณะนี้
_(6)_แน่นอนว่าธรรมชาติของการเรียนรัฐศาสตร์เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองอย่าง "14" และ "6" ตุลา รวมไปถึง พฤษภาคม ปี "35" ย่อมอยู่ในวิสัยที่จะมองหาอยู่แล้ว ในขณะที่ผู้เขียนทำการเพ่งพินิจพิเคราะห์ต่อเนื้อหาในแบบเรียน ใจก็พยายามหาไปด้วยว่า เหตุการณ์ทางการเมืองมันไปโผล่อยู่ส่วนไหนบ้างกันบ้าง
_(7)_สุดท้ายก็พบว่า เหตุการณ์ทางการเมืองที่ถูกพูดถึง (เพียงกล่าวถึง) มีแค่ "14 ตุลา และ พฤษภาคม 35" เท่านั้น คำว่า "6 ตุลา" ไม่เห็นแม้เพียงเงาของตัวอักษร โดยเหตุการณ์ทางการเมืองที่พบจะพบได้ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน "ประวัติศาสตร์" ระดับชั้นป.3 เท่านั้น (จากหนังสือทั้งหมดที่ใช้ในการทำ Undergraduate thesis) ซึ่งจัดพิมพ์โดยบริษัท อักษรเจริญทัศน์ หรือ อจท.
วิชาพื้นฐาน "ประวัติศาสตร์" ระดับชั้นป.3
_(8)_ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือส่วนของการจัดวางเนื้อหา เหตุการณ์ทางการเมืองทั้ง 3 ถูกพูดถึงในส่วนพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ลำดับที่ 9) ในส่วนย่อยด้านความมั่นคง โดยเนื้อหาในส่วนดังกล่าว กล่าวเพียงแค่ว่า "...เมื่อบ้านเมืองเกิดวิกฤติการณ์ด้านการเมือง เช่น วัน"มหาวิปโยค" 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 และวิกฤติการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 (9) ได้ทรงเข้ามาแก้ไขวิกฤติการณ์เพื่อให้ยุติลงได้อย่างรวดเร็ว และไม่ทำให้วิกฤติการณ์ขยายตัวออกไปจนทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น"
3
วิชาพื้นฐาน "ประวัติศาสตร์" ระดับชั้นป.3 หน้า 72
_(9)_และนี่คือข้อค้นพบเพียงเล็กน้อยจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนมี การเขียนในครั้งนี้ผู้เขียนมิได้มีเจตนาไปมากกว่าการค้นหา "6 ตุลา" และเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองอื่นๆในแบบเรียนไทย อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็ได้แต่หวังว่าผู้ที่ถูกสายลมพัดพามาพบและมาอ่านความเรียงนี้จะมองเห็นแง่มุมบางแง่มุมที่ซ่อนอยู่และนำไปคิดต่อ (ในพื้นที่ทางความคิดของตนเอง)
_(10)_ ท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนอยากกล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ก็เปรียบเสมือนไม้ขีดไฟด้ามหนึ่งที่จุดไฟแห่งแสงสว่างเล็ก ๆ ให้กับสังคมไทย ท้ายที่สุดเราย่อมเห็นการอธิบายถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา และเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองอื่น ๆ อีกมากมาย แต่คำถามที่สำคัญต่อจากนี้คือ "รัฐไทย (ผู้มีอำนาจในการควบคุมสื่อและแบบเรียนกระแสหลัก)ให้คำอธิบายแบบไหน?)" ซึ่งอาจจะมีพื้นที่การต่อสู้เชิงการเมืองวัฒนธรรมก็เป็นได้ ..
1
___รายการอ้างอิง___
1) นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์. (2562). ฉันไม่รู้จัก 6 ตุลา : สำรวจแบบเรียน-ความเข้าใจของนักเรียนไทยในปี 2562. จาก https://prachatai.com/journal/2019/02/80914
2) กิตติยา อรอินทร์. (2562). 6 ตุลา...เรื่องอะไรหนูก็ไม่รู้เหมือนกัน (วิดีโอ). จาก https://www.youtube.com/watch?time_continue=2&v=6SGIHNDPSEQ
3) วุฒิชัย มูลศิลป์. (2559). ประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ไทย ร่มเกล้า จำกัด.
โฆษณา