7 ต.ค. 2019 เวลา 01:00 • ไลฟ์สไตล์
กุ้งขาวที่กินอยู่ทุกวันมีการแปรรูปหลายแบบนะรู้ยัง?
ที่มา: Women.thaiza.com
กุ้งขาววานาไม ที่มา: สยามรัฐ 7 ตุลาคม 2562
ถ้าเป็นเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้วอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทยทำเพื่อส่งออกเกือบทั้งหมด ในช่วงนั้นการเพาะเลี้ยงกุ้งเชิงอุตสาหกรรมจะเป็นการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ คนไทยจำนวนน้อยมากที่จะได้ลิ้มรสกุ้งทะเลหากไม่ได้อาศัยอยู่ใกล้พื้นที่และมีฐานะที่ดีพอสมควร ก็ยากที่จะได้รู้จักกับกุ้งกุลาดำในขณะนั้น
กุ้งกุลาดำ ที่มา : mgronline.com
แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์บีบบังคับในเรื่องโรคระบาดและต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้นแต่ราคาขายได้เท่าเดิมและลดลงเรื่อยๆ และยังมีคู่แข่งจากหลายประเทศทำการผลิตแข่งกับไทยเพิ่มขึ้นด้วย อาทิ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลย์เซีย เอกวาดอร์ แม๊กซิโก เป็นต้น
คนไทยจึงต้องหาทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่และลดต้นทุนการเลี้ยงกุ้ง และกุ้งพันธุ์ที่สามารถตอบโจทย์นี้ได้คือกุ้งขาววานาไม (Litopenaeus Vannamei) เพราะเป็นกุ้งที่สามารถเลี้ยงได้ในปริมาณความหนาแน่นสูงเติบโตไว ส่งผลให้สามารถผลิตกุ้งออกมาจำหน่ายได้จำนวนมากในต้นทุนที่ลดลง
จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้ก็ส่งผลให้ราคาจำหน่ายลดลง สามารถทำการตลาดในประเทศได้อย่างกว้างขวาง จนกลายมาเป็นอาหารกลุ่มโปรตีนที่สำคัญของคนไทย กลายมาเป็นอาหารกลุ่มโปรตีนที่สำคัญรองลงมาจากหมูและไก่
กุ้งขาวที่รับประทานอยู่ในปัจจุบันก็ได้มีการแปรรูปเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าตามลักษณะการนำไปใช้ ทำให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อหาได้ง่ายและสะดวกขึ้น โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภทหลักคือกลุ่มแปรรูปแบบวัตถุดิบ (Raw) และกลุ่มกุ้งต้มสุก (Cooked) ซึ่งครั้งนี้ “พากินพาเที่ยว” จะพามารู้จักกุ้งขาวในกลุ่มวัตถุดิบที่มีหลากลายรูปแบบดังนี้
1. กุ้งขาวทั้งตัว (Head On Shell On-HOSO) เป็นกุ้งที่ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสภาพ เพียงแต่ทำความสะอาดเท่านั้น ซึ่งสะดวกต่อการนำไปใช้ได้หลากหลายเมนู อาจจะทำต้มยำกุ้ง กุ้งอบวุ้นเส้น ที่ใส่ทั้งตัวลงไปเลย หรืออาจจะหักหัวออก หรือแกะเอาแต่เนื้อกุ้งก็ได้
ที่มา : Siam Makro Frozen Catalog 2011
กุ้งอบวุ้นเส้น ที่มา: Tripadvisor ประเทศไทย
2. กุ้งขาวเด็ดหัว (Headless Shell On-HLSO) เพื่อตอบสนองลูกค้าที่ต้องการกุ้งแบบไม่ได้เด็ดหัวออกเอง ที่ทำให้เสียเวลาและเกิดขยะ การใช้ก็เหมือนกับการใช้ในเมนูกุ้งขาวทั้งตัว
ที่มา : Siam Makro Frozen Catalog 2011
3. กุ้งขาวผ่าหลัง (Easy Peeled Shell On-Easy Peeled) คือกุ้งขาวที่ตัดหัวนำมาผ่าหลังดึงลำไส้ออก การนำไปทำอาหารเมื่อกุ้งสุกแล้วจะทำให้เห็นสีขาวของเนื้อกุ้งที่ตัดกับเปลือกที่ออกสีส้ม สร้างความน่ารับประทานได้มาก
ที่มา : Siam Makro Frozen Catalog 2011
4. กุ้งขาวผ่าหลังไว้หาง (Peeled Deveined Tail On – PDTO) เป็นการนำกุ้งขาวมาตัดหัวออกแล้วลอกเปลือกออกจนถึงข้อหางข้อสุดท้ายและดึงลำไส้ออก เป็นกุ้งขาวแปรรูปที่เป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะทำให้สะดวกและประหยัดเวลา เมื่อนำไปประกอบอาหารทำให้น่ารับประทานและสามารถรับประทานได้ง่าย
ที่มา : Siam Makro Frozen Catalog 2011
ต้มยำกุ้ง ที่มา: Food.mthai.com
กุ้งมะนาว ที่มา: Yeastinfectionnomorereport.org
5. กุ้งขาวถอดเปลือกไม่ผ่าหลัง (Peeled Undeveined Tail Off – PUD) คือการแปรรูปด้วยการตัดหัวออกแล้วลอกเปลือกออกทั้งตัว แต่ไม่ผ่าหลังจะยังมีลำไส้อยู่
ที่มา: Siam Makro Frozen Catalog 2011
6. กุ้งขาวถอดเปลือกผ่าหลัง (Peeled Deveined Tail Off – PD) การแปรรูปแบบนี้จะเหลือเพียงเนื้อกุ้งล้วนๆ เมนูที่ต้องการใช้เนื้อกุ้งอย่างเดียวจึงเหมาะกับกุ้งแปรรูปแบบนี้ เช่น ทำข้าวผัด กุ้งขาวผัดหน่อไม้ฝรั่ง กุ้งมะนาว ทอดมันกุ้ง เป็นต้น
ที่มา: Siam Makro Frozen Catalog 2011
หลนกุ้ง ที่มา: Cooking.kapook.com
7. กุ้งขาวยืด (Straightened Peeled Deveined Tail On-Nobashi Ebi) เป็นการแปรรูปแบบกุ้งขาวผ่าหลังไว้หางหรือ PDTO แล้วมาทำการบั้งสันหลังกุ้ง หลังจากนั้นนำกุ้งเขาเครื่องยืดให้ยาวขึ้น โดยส่วนมากจะนำไปทำเมนูอาหารญี่ปุ่น เช่น กุ้งเทมปุระ กุ้งชุปเกร็ดขนมปัง เป็นต้น กุ้งที่นำมาทำการแปรรูปแบบนี้จะต้องเป็นกุ้งที่สดมาก บางครั้งต้องใช้กุ้งเป็นๆมาทำเพื่อต้องการความสดที่สูง
ที่มา: Siam Makro Frozen Catalog 2011
กุ้งเทมปุระ ที่มา: TraAve.com
ทั้ง 7 รูปแบบกุ้งขาวแปรรูปข้างต้น ล้วนทำมาเพื่อตอบสนองต่อการใช้งานของลูกค้าให้เหมาะกับแต่ละเมนู บางครั้งการนำกุ้งมาแปรรูปแงอาจจะทำให้เกิดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความชำนาญ และที่สำคัญทำให้ลดเวลาในการจัดการได้ด้วย หลายร้านอาหารนิยมใช้กุ้งแปรรูปเพราะสามารถควบคุมต้นทุนสินค้าและความสูญเสียของสินค้าได้
ที่ไหนมีของอร่อย ที่ไหนน่าเที่ยว เราจะพาคุณไป
หากชอบบทความช่วยเป็นกำลังใจด้วยการกด Like กด Share และความเห็นที่เป็นประโยชน์ ด้วยนะครับ
โฆษณา