7 ต.ค. 2019 เวลา 12:11 • ปรัชญา
จะรู้ว่าสิ่งใดมีคุณค่า? กับความคิดแนว
ความก้าวหน้า : การอนุรักษ์
จำ และ ลืม : ทิ้ง และ เก็บ : ใหม่ และ เก่า
สัจธรรมของการ ดับ และ เกิด
ผมคิดว่าในสังคมเรานั้น ถกเถียงกันเรื่องนี้บ่อยมาก
เรื่องที่ว่าเราควรจะรักษาสิ่งที่มีอยู่หรือใช้สิ่งที่ใหม่กว่า
บางคนให้ค่าการอนุรักษ์มากกว่า
บางคนให้ค่าความก้าวหน้ามากกว่า
และที่จริงมีอีกหลายทางเลือกแต่
บางครั้งมนุษย์ก็สร้างมาว่ามันมีแค่
2 ทางเลือก แต่ผมจะเสนอ 2 อย่าง
ให้คุณได้อ่านกันก่อนเพื่อความเข้าใจ
ธรรมชาติของมนุษย์มักจะใช้สิ่งที่ถนัด
คุ้นเคย ใช้การได้จากประสบการณ์ในอดีต
ซึ่งเข้าหมวดหมู่ของการ อนุรักษ์ รักษา เก็บไว้
( Conservative )
แต่เมื่อเกิดวิกฤตบางปัจจัยไม่สามารถทำแบบเดิม
หรืออยากทำอะไรใหม่ๆ เบื่อสิ่งเก่า ไม่พอใจสิ่งที่เป็นอยู่
จะมีมนุษย์บางกลุ่ม จะหาทางใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่
เป็นคนหัวก้าวหน้า พัฒนา ประยุกต์ ยกเลิก ทิ้ง
( Progressive )
Classic n' Modern
แต่ไม่ต้องห่วงวันนี้เราไม่ได้พูดถึงความก้าวหน้า
หรือ การอนุรักษ์ รักษา แต่อย่างใด
แต่ครั้งนี้ผมจะมาพูดถึง "คุณค่า" ของทุกสิ่ง
และทำไมมันถึงเชื่อมโยงกับ
ความก้าวหน้า และ การอนุรักษ์?
การที่มีสิ่งนึงเกิดขึ้น แล้วมีผู้คนรับรู้
และเห็นว่ามันมีประโยชน์
หรือ ส่งผลกระทบต่อผู้คน
สิ่งนั้นก็ถือว่ามี "คุณค่า" ภายในตัวเองแล้ว
และในเมื่อสิ่งนั้นมี ประโยชน์
หรือในเมื่อสิ่งนั้นมี โทษ
เหมือนเหรียญสองด้าน
ก็ย่อมจะมีผู้คนเห็นทั้งสองด้านเช่นกัน
เหรียญก็มีสองด้านเช่นกัน เป็น ภาษิตที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้ง
ในเมื่อเหรียญนั้นมีประโยชน์
สามารถเป็นตัวกลางระหว่าง
การแลกเปลี่ยนสิ่งของได้
ได้บริโภค อาหาร ยา ที่อยู่ สิ่งที่อยากได้
แต่เมื่อเป็นตัวกลางในการแลก(เกือบ)ทุกสิ่งสากลนั้น
ก็แปลว่ามันก็แลกเปลี่ยนเป็น
เหล้า สุรา ยาเสพติด
สั่งให้คนฆ่ากันก็ได้โดยการใช้เงินจ้าง นี้ก็คือ โทษ เช่นกัน
เป็นประโยชน์ของผู้ว่าจ้างให้ฆ่า
เป็นให้โทษของผู้ที่ถูกฆ่าตาย
หยิน หยาง สัญลักษณ์ของความสมดุล ตรงกันข้ามระหว่าง ขาวดำ
แต่ผมจะมาเสนอทางเลือกที่สาม
การผสมระหว่างสีขาวกับสีดำ
การจดจำ และ การทิ้งมันไป
ผมจะยกตัวอย่าง ประโยคนึงของ
เล่าจื่อที่ได้กล่าวไว้ว่า
"ผู้แสวงหาความรู้ เพิ่มพูนข้อมูลทุกวัน
ผู้แสวงหาปัญญานั้น คัดสรร ลดทอน ละทิ้ง"
-คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง
( นำคำแปลมาจากคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา )
เราไม่จำเป็นจะต้องสุดโต่งก็ได้
เราสามารถปรับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ก็ได้เช่นกัน การที่จะใช้ความรู้ให้เต็มที่นั้น
เราจะต้องหาความรู้เข้าตัว
คัดกรองว่ามันใช้ได้หรือไม่ ปรับใช้กับตัวเองได้ไหม
ลดทอนบางส่วนของความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์
ละทิ้งความรู้ที่ไม่สามารถใช้การได้แล้ว ไม่เป็นประโยชน์อีกแล้ว
อนุรักษ์ในสิ่งที่ทำให้เกิดผลดีใช้การได้ดีไม่ส่งผลเสีย
ก้าวหน้ารับสิ่งใหม่ๆทดลองใช้เพื่อที่จะได้พบสิ่งที่ดีกว่าเดิม
ถ้าไม่ดีกว่าเดิมก็ทิ้งสิ่งที่ไม่เกิดผลดีไป นี้คือวงเวียนของปัญญา
คุณเคยคิดถึง ด้านนี้ของเหรียญไหม?
ในเมื่อเราสามารถใช้ 2 สิ่งเข้าด้วยกัน
เราจะสามารถตั้งมั่นเหมือนเหรียญด้านนี้ได้
เหรียญที่ถูกตั้งไว้อย่างสมดุล เป็นตรงกลางนั้นเอง
แต่มีสิ่งนึงที่เป็นคำถามของใครต่อหลายคนคือ
ทำไมบางสิ่งยังคงอยู่แม้มันจะแย่มากๆ
เพราะมันยังมีคุณค่าอยู่ อย่างที่ผมได้ยกตัวอย่างไปว่า
แม้กระทั่งการสั่งให้ฆ่าคนก็เป็นประโยชน์ได้เช่นกัน
ประชากรลดลงไม่ล้นโลก ผู้จ้างสบายใจที่ได้เห็นผล
ผู้ถูกว่าจ้างก็ได้เงินทองจากการฆ่าคน
ดังนั้นถ้าสิ่งใดยังคงอยู่ให้พึงตระหนักว่า
สิ่งนั้นยังคงมีค่าอยู่ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม
หรือแม้กระทั่งบางสิ่งที่ไร้
รูป รส กลิ่น เสียง
ขอแค่มีความคิด และ ความทรงจำ
แม้บางสิ่งจะถูกทำลายถ้ายังมีใคร
จำมันได้ มีความคิดที่ส่งผลจากสิ่งนั้น
มันยังมีคุณค่าทั้งสิ้น ยังมีคุณค่าอยู่
ในเมื่อสิ่งใดหมดคุณค่า
สิ่งนั้นจะหายไปเอง
ทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง
ความทรงจำ ความคิด
จะไม่มีอีกต่อไป
เพราะมันได้หมดคุณค่าแล้ว...
-CourAge
ปล. ด้วยความที่ผมเริ่มจะเห็นหลายๆบทความ
และหลายๆ คอมเม้นต์ ไม่ว่าที่ใดก็ตาม
เริ่มพูดถึงการที่อยากได้การเปลี่ยนแปลง
อยากให้อนุรักษ์สิ่งนี้ สิ่งนั้น สิ่งโน้น
อยากโค่นล้มอีกฝั่งให้หายไปบ้าง
แม้ผมจะมีความคิดที่ไม่พอใจในบางเรื่องของบางกลุ่ม
ผมก็ไม่ถึงกับขั้นต้องไปกำจัดคนเห็นต่างให้หมดสิ้น
ตอนนี้สถานการณ์ของคนที่สุดโต่งของแต่ละฝ่าย
ไม่ว่าฝั่งไหน มันเริ่มรุนแรง และ การกระทำแทบจะไม่ต่างกัน
มันเริ่มจะห่างไกลความเข้าใจซึ่งกันและกันไปเรื่อยๆขึ้นทุกวัน
ผมก็ใจหายบางครั้งที่เห็นฝ่ายตัวเองบอกว่า
"อยากให้กลุ่มคนความคิดแบบนี้ หายๆไปก็ดี ประเทศจะได้ดีขึ้น"
ผมไม่อยากให้มันเกิดขึ้นแบบในข้อความนี้เลย
ความคิดแบบนี้มันเป็นการหักล้างอีกฝ่าย มันจะยิ่งให้เกิดความแค้น
เกลียดชัง หนักไปอีก ถ้ามีการโค่นล้มฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ฝ่ายที่ถูกโค่นก็ไม่พอใจและก็รบกันอย่างนี้ไม่จบไม่สิ้น
ผมถึงพยายามเขียนบทความที่พูดถึงความหลากหลาย
เราต้องเปิดกว้างและพยายามตกลงกันให้ได้จะดีกว่าครับ
ผมหวังว่าเราจะตกลงกันได้ และไม่ทำฝ่ายใดฝ่ายนึง
หมดคุณค่าและสูญสลายไป การที่จะไม่สูญสิ้นไปนั้น
ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากัน ถ้าไม่อยากให้มีการสูญสิ้น
ปรับตัวดีกว่าถือว่าเป็นทางที่ดีที่สุดในอุดมคติผม
อ้างอิง :
Spring Autumn Leaves : ปัญญา ชา จีน -ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
ได้หยิบใช้คำแปลภาษิตของ "เล่าจื่อ" ในหนังสือนี้
โฆษณา