8 ต.ค. 2019 เวลา 13:35 • สุขภาพ
034 🌿Sugar apple🌿 เรื่องของความหวาน "น้อยหน่า" ไม่เคยน้อยหน้าใคร
"น้อยหน่า" เป็นไม้ผลประจำถิ่นของอเมริกากลาง เรียกกันว่า “อะ โน น่า”
สันนิษฐานว่าน้อยหน่า เข้ามาเมืองไทยเป็นครั้งแรก ช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยชาวโปรตุเกสหรือชาวอังกฤษเป็นผู้ที่นำเข้า มาถวาย ณ พระที่นั่งไกรสรสีหราชหรือพระที่นั่งเย็น แต่ ชาวบ้านในท้องถิ่นมักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตำหนักทะเลชุบศร
https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/323729
ทำให้มีการเพาะพันธ์ุและปลูกน้อยหน่าต้นแรกบน แผ่นดินไทยขึ้นที่ตำบลทะเลชุบศร จังหวัดลพบุรี และเป็นสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของลพบุรี
เรียกว่า “น้อยหน่าพระที่นั่งเย็น” หรือ “น้อยหน่าพระนารายณ์” นั่นเอง
น้อยหน่าลพบุรี https://www.innnews.co.th/regional-news/news_468540/
ด้วยคุณลักษณะเด่นของน้อยหน่าลพบุรี
เป็นน้อยหน่า ฝ้ายหรือน้อยหน่าเนื้อ และถือได้ว่าน้อยหน่าลพบุรีหวาน อร่อยที่สุดในประเทศไทย
ทุกวันนี้ มีการปลูกน้อยหน่าแพร่หลายไปทั่วประเทศ และมีการเรียกชื่อน้อยหน่าแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น นอแน่ มะนอแน่ (ภาคเหนือ) มะออจ้า หรือ มะโอจ้า (ไทยใหญ่) หน่งเกล๊าะแช (เงี้ยวหรือไทยใหญ่แม่ฮ่องสอน) บักเขียบ (ภาคอีสาน ) น้อยแน่ (ภาคใต้)ลาหนัง (ปัตตานี)
ในอดีตน้อยหน่าในเมืองไทยคือพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์หนัง ส่วนพันธุ์พื้นเมือง ยังแตกพันธุ์ออกถึง
3 ชนิด ได้แก่
1. ชนิดผลสีเขียวหรือฝ้ายเขียว หรือน้อยหน่าฝ้าย
https://puechkaset.com
2. พันธุ์พื้นเมืองสีม่วง หรือฝ้ายครั่ง
น้อยหน่าฝ้ายคลั่ง สีม่วง
3. ชนิดผิวเหลืองอ่อนหรือน้อยหน่าเผือก แต่เป็นชนิดที่ไม่เป็นที่นิยม เพราะสีไม่สวย รสก็ไม่หวาน
น้อยหน่า "หนัง" หรือ "ดานัง"
ปัจจุบันนี้ พันธุ์น้อยหน่าพัฒนาไปอีกมาก
สำหรับพันธุ์หนังนั้นเป็นน้อยหน่าเวียดนาม
แต่ไพล่ไปเรียกกันว่า พันธุ์เขมร เป็นพันธุ์มีผลสีเขียวส่วนพันธุ์ที่มีผลสีเหลือง ก็เรียกอีกชื่อว่า น้อยหน่าหนังสีทอง
และคำว่า “หนัง” นั้นมาจากชื่อ "เมืองดานัง"
ในเวียดนาม แต่ไทยเรียกว่า "หนัง"
ไม้ผลในตระกูลเดียวกับน้อยหน่า มี 4 ชนิด คือ
1. ซีรีมัวย่า ( Cherimoya) เป็นพันธุ์จากเม็กซิโก แต่เดิมมีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นที่สองรองจากน้อยหน่า
Cherimoya https://petmaya.com/15-rarest-exotic-fruits
2. น้อยโหน่ง เป็นพืชชนิดที่ทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้ง มีต้นขนาดเดียวกับน้อยหน่า แต่ตามกิ่งไม่มีขน ใบก็เหมือนน้อยหน่า
น้อยโหน่ง http://www.natres.psu.ac.th/FNR/vfsouthern/index.php/2013-10-26-10-11-55/9-uncategorised/81-2013-11-17-07-27-06
3. ทุเรียนเทศ เป็นทุเรียนแขก หรือทุเรียนน้ำ
ได้พันธุ์มาจากมาเลเซีย ส่วนทางมาเลเซียเรียกว่า ทุเรียนยุโรป
ทุเรียนเทศ. https://termsuk.oonvalley.com/Article/Detail/6892
4. น้อยหน่าบิลิบ้า (Biriba)มีปลูกตามไหล่เขาในเม็กซิโก นิการากัว และซานซัลวาดอร์
น้อยหน่าบิลิบ้า (Biriba)
แนะนำเมนูในตำนาน...ข้าวเหนียวน้ำกะทิน้อยหน่าเคยทานครั้งแรกในชีวิตตอนเด็กๆ มียายหาบมาขายหน้าตลาดสถานีรถไฟพิษณุโลก...มันก็นานมากแล้วจนลืมรสมือยายหาบของมาขายไปแล้วแต่ก็ยังคิดถึงรสชาตินั้นอยู่เสมอ
ข้าวเหนียวน้ำกะทิน้อยหน่า http://cooking.teenee.com/dessert/441.html
ใช่ว่าน้อยหน่าจะมีแค่ความหวานอร่อยเท่านั้น น้อยหน่ายังมีประโยชน์และ สรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำใบมาบดใช้พอกแก้อาการฟกช้ำบวมหรือการนำเปลือกของลำต้นมาช่วยในการสมานบาดแผลแม้ว่ากระทั้งเมล็ดนำมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าวใช้ทา เพื่อฆ่าพยาธิผิวหนัง และฆ่าเหา บางชนิดยังใช้รักษามะเร็งได้ด้วย
"น้อยหน่าไม่เคยน้อยหน้าใคร"
แหล่งข้อมูล
ชอบกดไลก์
กดแชร์
กดติดตามเพจ Plants in garden
เพื่อเป็นกำลังให้แอดด้วยนะจ๊ะ www.blockdit.com/plantsingarden
กราบบบบงามมมม😅🤣😆😍

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา