9 ต.ค. 2019 เวลา 06:38 • ปรัชญา
#ผู้นำทาง
เรื่องราวของบริษัท โพลารอยด์คอร์ปเรชั่น ที่แสนโด่งดังในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 อาจทำให้คุณได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง
การเริ่มต้นสุดล้ำค่า
เอ็ดวิน แลนด์ เป็นลูกชายพ่อค้าขายเศษโลหะ เขาเกิดปี 1909 ตอนเขายังเด็ก แลนด์ ชื่นชอบวิชาฟิสิกส์โดยเฉพาะเรื่องของแสงเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจากการอ่านหนังสือที่เขียนโดย โรเบิร์ต ดับบลิว. วูด ชื่อเรื่องว่า Physical Optics ซึ่งเป็นเพียงหนังสือไม่กี่เล่มที่มีอยู่ในบ้านของเขา
หลังนั้น เเลนด์ ก็ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่เขากลับอยู่ได้ไม่นานก็ต้องลาออกมากลางคัน เพื่อมาทำการทดลองเกี่ยวกับแสงในห้องแล็บเล็ก ๆ ที่เขาสร้างขึ้นเองในอพาร์ตเมนต์กลางเมืองนิวยอร์ก
แลนด์ ใช้เวลาทำการทดลองนานถึง 20 ปีและสามารถจดสิทธิบัตรผลงานชิ้นแรกนี้ได้ ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนากระบวนการโพราไรเซชั่น ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ (คือการที่คลื่นมีระนาบของอัตราการสั่นเพียงระนาบเดียว โดยการนำแผ่นโพลารอยด์ไปกั้น เพื่อตัดคลื่นการสั่นอื่น ๆ เรียกว่าแสงแบบโพราไรซ์ ซึ่งความเข้มแสงจะมีเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น)
ก้าวข้ามขีดจำกัด
ผลงานชิ้นนี้ของ แลนด์ ก็นำไปสู่ยุคแรกของการผลิตแว่นกันแดดที่สามารถสะท้องแสงได้ แว่นตานักบินสำหรับกองทัพ ระบบกรองแสงสำหรับถ่ายภาพ และระบบภาพยนตร์สามิติเรื่องแรก
แลนด์ เริ่มก่อตั้งบริษัทของเขาเองในปี 1937 จนถึงปี 1940 ก็มีนักลงทุนคนหนึ่งมาช่วยเหลือเขา แลนด์ตั้งชื่อบริษัทว่า โพลารอยด์คอร์ปอเรชั่น ในยุคนั้นบริษัทของ เขามีชื่อเสียงที่สุดในด้าน "การผลิตสินค้าตามคำสั่ง" และในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นจุดที่สร้างกำไรสูงสุดของเขาเลยก็ว่าได้
ครั้งหนึ่งนายพลจากกองทัพอากาศ โทรศัพท์มาเพื่อขอความช่วยเหลือจาก แลนด์ ให้เขาช่วยแก้ปัญหาศูนย์เล็งปืนให้ แลนด์ จึงตอบไปว่า "ผมจะบินไปวอชิงตันในวันรุ่งขึ้นเพื่ออธิบายวิธีการแก้ไขให้ครับ"
นายพลจึงถามกลับไปว่า "คุณมีวิธีแก้ปัญหาแล้วใช่ไหม" แลนด์ตอบกลับทันทีว่า "ยังครับ แต่พอไปถึงผมจะคิดออก" ซึ่งเขาก็ทำได้จริง ๆ
ปัญหาที่ต้องพบเจอ
ในปี 1943 วันหนึ่งขณะที่ แลนด์ พักผ่อนกับครอบครัวช่วงวันหยุด ในขณะที่เขากำลังถ่ายภาพลูกสาวอย่างมีความสุข เมื่อเธอเห็นแบบนั้น จึงเกิดความสงสัยแล้วถาม แลนด์ ออกไปว่า "หนูอยากดูภาพตอนนี้เลย ทำไมพ่อทำให้ไม่ได้ล่ะคะ"
เมื่อได้ฟังแบบนั้นสมองของแลนด์ก็เริ่มทำงานเพื่อคิดสร้างกล้องฟิล์มที่สามารถถ่ายเสร็จแล้วได้ภาพออกมาบนกระดาษทันที แลนด์ ได้ออกมาเล่าในภายหลังว่า "ผมทำรายละเอียดคร่าว ๆ ของระบบออกมาได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ยกเว้นพวกรายละเอียดที่ต้องแก้ปัญหาอื่น ๆ อีกนิดหน่อย"
ตั้งแต่ปี 1943 ถึง 1972 กล้องโพลารอยด์ของ แลนด์ก็เริ่มมีว่างจำหน่ายครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ของปี 1948 ในยุคนั้นถือเป็นนวัตกรรมที่น่าทึ่งที่สุด เพราะเป็นกล้องที่สามารถถ่ายภาพแล้วให้สีซีเปีย (คือสีน้ำตาลเข้มที่ได้จากถุงน้ำหมึกของปลาหมึกธรรมดา) ออกมาได้ภายใน 60 วินาทีเท่านั้น ซึ่งในตอนนั้น แลนด์ ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะขายให้ได้ 50,000 ตัวต่อปี
ความรุ่งโรจน์ที่แสนงดงาม
แน่นอนว่าเพื่อนร่วมงานของเขาคัดค้านว่า "ใครจะมาซื้อ แลนด์ คุณมองโลกในแย่ดีเกินไป" แต่แลนด์กลับคิดถูก ผู้คนต่างชื่นชอบกล้องของเขาอย่างมาก ทำให้การเปิดตัวครั้งแรกก็สามารถขายกล้องได้หมดภายในไม่กี่ชั่วโมง จนถึงปี 1953 แลนด์ขายกล้องโพลารอยด์ไปทั้งหมด 900,000 ตัว
ตลอด 20 ปีหลังจากนั้น โพลารอยด์เปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างต่อเนื่องและได้ยกเลิกการใช้ฟิล์มสีซีเปีย แล้วพัฒนาฟิล์มเป็นขาวดำแทน แลนด์ยอมรับว่านี่เป็นงานที่ยากที่สุดเท่าที่บริษัททำมา
ภัยที่ใกล้เข้ามา
นอกจากนี้บริษัทยังได้คัดเลือก แอนเซล แอดัมส์ ช่างภาพในตำนานมาเป็นที่ปรึกษาในการช่วยทดสอบความผิดพลาดและปัญหาทางเทคนิคที่จะเกิดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาวิธีถ่ายภาพออกมาให้ได้แบบทันท่วงที โดยเรียนรู้และพัฒนาจากข้อผิดพลาดของตัวเองก่อน
โพลารอยด์ก่อตั้งขึ้นจากการทุ่มเงินมหาศาลและลงทุนไปกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ ๆ
ในยุคแรกกล้องโพลารอยด์ถูกออกแบบมาอย่างสง่างาม โดยส่วนใหญ่เป็นผลงานของศิลปินด้านอุตสาหกรรมและบริษัทร่วมมือกันสร้่างสรรค์ไปเรื่อย ๆ และในตอนต้นของปี 1970 ถูกบันทึกไว้ว่าภาพ
โพลารอยด์ถูกถ่ายออกมามากถึงหนึ่งพันล้านใบในแต่ละปี
ผู้นำทางที่หายไป
จนในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 โพลารอยด์ต้องต่อสู้กับคลังเก็บสินค้าที่ได้ทำการขายกล้องถ่ายภาพทันใจ โดย แลนด์ เชื่อว่านี่ถือเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของ
โพลารอยด์ ทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องใช้เวลายาวนานถึง 14 ปีในการต่อสู้คดีครั้งนี้ และยอมความกันในปี 1990 ซึ่งในตอนนั้น เอ็ดวิน แลนด์ ก็ได้เกษียรอายุออกไปแล้วตั้งแต่ปี 1980
หลังจากนั้นมาโพลารอยด์ก็เจอปัญญาหนักขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากผู้คนเลิกซื้อสินค้าของบริษัท และในปี 2001 ถึง 2009 โพลารอยด์ก็ได้ประกาศล้มละลายถึง 2 ครั้งและถูกขายเปลี่ยนมืออีก 3 ครั้ง ภายใต้การบริหารของผู้นำชุดใหม่ โพลารอยด์กลับค่อย ๆ จางหายไปจากวงการ
จากเรื่องนี้ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า นวัตกรรม ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับจำนวนเงินที่ลงทุนในการวิจัยและพัฒนา มันเกี่ยวกับคนที่คุณมี เขานำทางพวกมันอย่างไร และ คุณเข้าใจมันมากแค่ไหนต่างหาก
แล้วคุณล่ะจะนำทางชีวิตคุณไปในทางไหน
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย 😄
โฆษณา