11 ต.ค. 2019 เวลา 05:51 • ปรัชญา
#บทเรียนราคาแพง
ในเรื่องบางเรื่องก็ยากเกินกว่าจะอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้ เหมือนกับเรื่องราวของเศรษฐีสามคนนี้
คุณค่าของการกระทำ
ในปี 2008 เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาแย่ลงอย่างหนัก ส่งผลให้เหล่าผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่าง Ford, GM, และ Chrysler ต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อนำมาช่วยพยุงธุรกิจของพวกเขาให้สามารถดำเนินอยู่ต่อไปได้
ผู้บริหารทั้งสามบริษัทจึงจำเป็นต้องไปอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ซึ่ง ณ ขณะนั้นมีเที่ยวบินจาก ดีทรอยต์ ไป วอชิงตัน ดี.ซี.มากถึง 24 เที่ยวต่อวัน
เป็นได้มากกว่าคำพูด
แน่นอนว่าพวกเขาเลือกที่จะเดินทางโดยเครื่องบินส่วนตัวในแบบต่างคนต่างไป และไม่คิดแม้จะเดินทางไปด้วยกันเลย
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงเกิดเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากว่า "นี้คือการแสดงออกของคนที่ต้องการเงินสนับสนุนจากรัฐบาลจริง ๆ หรอ พวกบริษัทเหล่านี้ไม่ควรได้รับเงินช่วยเหลือเลยด้วยซ้ำ"
เมื่อข่าวถูกแพร่ออกไปมากขึ้น บริษัททั้งสามก็ถูกโจมตีจากสังคมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเหล่าผู้คนในสภา คนจากสื่อต่าง ๆ อีกทั้งประชาชนจำนวนมหาศาลที่รวมตัวกันแสดงออกถึงความโกรธเกรี้ยว ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์กันยกใหญ่ ถึงเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสมในครั้งนี้
ผลที่ตามมา
จริงอยู่ที่ค่าเดินทาง โดยเครื่องบินส่วนตัวอาจจะไม่กระทบถึงสถานะทางการเงินที่ย่ำแย่อยู่แล้วของทั้งสามบริษัท ให้ยิ่งย่ำแย่ลงไปอีก แต่นี่เป็นการบ่งบอกว่า พวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงสถานะของตัวเองเลย
ถึงแม้ว่าในตอนท้าย บริษัททั้งสามก็ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลจนได้ ถึงจะต้องแลกมาด้วยความอับอายมหาศาลที่ต้องแบกรับไว้ก็ตาม
เรื่องนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า "แม้ความตั้งใจจะเป็นอย่างไร เราก็ต้องรับผิดชอบต่อสารสุดท้ายที่ถูกส่งออกไปเสมอ ถึงพฤติกรรมที่เราแสดงออกไป จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม แต่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเมื่อได้แสดงออกไปแล้ว"
ผู้กำหนดการกระทำ
จิตใต้สำนึกของเราเป็นตัวกำหนด ว่าเราจะแสดงพฤติกรรมออกมาแบบไหนในทุกวัน เช่นถ้าเราบอกกับจิตใต้สำนึกว่า "เรามีเป้าหมายและเราก็จะทำมันให้สำเร็จ"
ส่งผลที่ตามมาก็คือ เวลาที่เราตั้งใจทำงานแม้จะขี้เกียจ จิตใต้สำนึกก็จะบอกว่า "เพราะนี้คืิอเป้าหมายที่ยังทำไม่เสร็จ เราก็จะไม่ล้มเลิกความพยามเด็ดขาด"
ผลจากการควบคุมซ้ำ ๆ
ซึ่งนี้เป็นเพียงเหตุการณ์ตัวอย่างเล็ก ๆ ของวัน แต่หากเราทำบ่อย ๆ เข้า มันจะไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป เพราะนี่จะกลายเป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ซ้ำไปซ้ำมาจนทำให้จิตใต้สำนึกจดจำ และรู้ว่าเมื่อเจอเข้ากับเรื่องใหญ่ ๆ จะต้องตัดสินใจอย่างไร เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายได้เร็ว และดีมากขึ้น
ถึงแม้ความจริงแล้วคนที่จะทำแบบนี้ได้มีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เพราะคนส่วนใหญ่เลือกที่จะนอนต่อ เลือกที่จะล้มเลิกไปก่อน มันจึงไม่แปลกที่คนประสบความสำเร็จจะมีเพียงแค่หยิบมือ
แล้วคุณล่ะ คิดว่าครั้งต่อไปที่จะบอกให้จิตใต้สำนึกของคุณทำคืออะไร
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย 😄
โฆษณา