11 ต.ค. 2019 เวลา 07:14 • ประวัติศาสตร์
บทความนี้จะพาไปรู้จักของใช้ในพิธีกรรมจาวเหนือกั๋นขะเจ้า
cr.ภาพจากชุมชนชาวล้านนา
เครื่องใช้ในพิธีกรรม…ของคนล้านนา
พิธีกรรมต่าง ๆ ของศาสนามักจะมีเครื่องประกอบพิธีซึ่งมีความหมายแตกต่างกันไป โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า หากได้ทำเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นแล้วนำไปถวายสักการะบูชาพระรัตนตรัย จะเกิดบุญเกิดกุศลแก่ตนให้มีความสุขความเจริญ
และมีความเชื่อต่อไปอีกว่า เมื่อใดที่เสียชีวิตลงกุศลผลบุญเหล่านั้นจะเกื้อกูลให้ไปเกิดในสุคติ
วิถีชีวิตและรูปรอยประเพณีของคนล้านนาก่อนที่จะมีการนับถือพุทธศาสนา มีความเชื่อและนับถือในภูตผีหรือสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ ดังเช่นความเชื่อของชาวลัวะที่นับถือผีบรรพบุรุษยักษ์ หรือ “ผีปู่แสะย่าแสะ”
แม้ว่าความเชื่อและการนับถือผีดังกล่าวจะผ่านมากว่าพันปี แต่ปัจจุบันนี้ชุมชนชาวลัวะบางแห่งในเชียงใหม่ยังคงสืบต่อวัฒนธรรมนี้ไว้อยู่
ว่ากันว่าพุทธศาสนาแผ่ขยายเข้ามาสู่เชียงใหม่เมื่อหลายร้อยปีก่อน ดังจะเห็นได้ว่าในยุคที่พุทธศาสนาเจริญเฟื่องฟูมากที่สุดในเชียงใหม่ก็ตอนที่มีการสังคายนาพระไตรปิฏกขึ้นเป็นครั้งแรกของไทยและเป็นครั้งที่แปดของโลกที่วัดเจ็ดยอด
ซึ่งตรงกับสมัยของพระเจ้าติโลกราชนั้น ทำให้ก่อกำเนิดพระธรรมคำภีร์และปราชญ์ของล้านนาเป็นจำนวนมาก
การเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในแผ่นดินล้านนายังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นความเชื่อของคนในล้านนาที่ต้องยึดถือปฏิบัติและเคร่งครัดในพิธีกรรม ซึ่งบางส่วนได้นำเอาพิธีกรรมของพราหมณ์มาใช้
ศาสนาถือเป็นตัวแทนของความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองก็ว่าได้ หากบ้านเมืองใดมีความเจริญอยู่ดีกินดี ก็มักจะมีการสร้างวัดทำบุญขึ้นเสมอ
ตัวอย่างเช่นเมื่อครั้งที่ชาวพม่าเดินทางเข้ามาทำไม้ในเมืองเชียงใหม่ การค้าขายไม้สมัยนั้นประสบความสำเร็จร่ำรวยเงินทอง พ่อค้าชาวพม่าเหล่านั้นจึงได้สร้างวัดไว้เป็นจำนวนมาก บางวัดก็ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันที่มาการผสมผสานศิลปะของพม่าเอาไว้
ในพิธีกรรมต่าง ๆ ของศาสนามักจะมีเครื่องประกอบพิธีซึ่งมีความหมายแตกต่างกันไป
โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า หากได้ทำเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นแล้วนำไปถวายสักการะบูชาพระรัตนตรัย จะเกิดบุญเกิดกุศลแก่ตนให้มีความสุขความเจริญ
และมีความเชื่อต่อไปอีกว่า เมื่อใดที่เสียชีวิตลงกุศลผลบุญเหล่านั้นจะเกื้อกูลให้ไปเกิดในสุคติ นอกจากนี้บางคนยังเชื่อว่า หากได้นำเอาสิ่งใดไปถวายเป็นเครื่องสักการะบูชาก็จะช่วยให้โชคดี ทำมาค้าขายประสบผลสำเร็จ
เครื่องสักการะทั้งหลายจึงเกิดขึ้นตามเจตนาและความเชื่อของแต่ละบุคคล พุทธศาสนิกชนบางกลุ่มก่อนที่จะเข้ามามีศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนานั้น
ได้เคารพเลื่อมใสในศาสนาอื่นมาก่อน เช่นศาสนาพราหมณ์เป็นต้น แต่เมื่อเข้ามานับถือพุทธศาสนาจำนำเอาสิ่งที่ตนเคารพเลื่อมใสนั้นติดตัวมาด้วย ซึ่งมีทั้งเครื่องสักการะเดิมและนำมาผสมผสานกันจึงเกิดมีประเพณีและพิธีกรรมปะปนกัน
สัตตภัณฑ์ หรือเชิงเทียนของชาวล้านนาโบราณที่ใช้เป็นที่ติดเทียนสำหรับบูชาพระรัตนตรัยนั้น
มีคติในทางศาสนาพราหมณ์ว่า เป็นการจำลองภูเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง 7 ล้อมรอบเขาพระสุเมรุอันเป็นที่ประทับของพระอินทร์
การบูชาถือว่าเป็นการบูชาพระเป็นเจ้าองค์นั้น ส่วนคติทางพุทธศาสนากล่าวว่าเป็นโภชฌงค์ 7 คือ ธรรมเป็นองค์ประกอบแห่งการตรัสรู้ 7 ประการ การบูชาด้วยเทียนเป็นเครื่องแสดงถึงแสงสว่าง คือดวงปัญญาที่ส่องให้รู้ธรรม
ขันแก้วทั้งสาม คือพานที่ใช้ใส่ดอกไม้ธูปเทียนบูชาสักการะพระรัตนตรัย ชาวล้านนาเรียกว่า “ขันแก้วตั้งสาม” อันหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ประชาชนนำเอาดอกไม้ธูปเทียนมารวมกันเป็นจุดเดียว เป็นเครื่องเตือนใจให้เห็นว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ความหมายอีกอย่างหนึ่งเพื่อแสดงให้เห็นว่าการกระทำอย่างนั้นชาวบ้านรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนขันแก้ว 5 โกฐาก ก็คือพานใส่ดอกไม้ธูปเทียนแต่แบ่งเป็น 5 ส่วนเพื่อไหว้ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์และพระกัมมัฏฐาน
ผางผะตีด คือถ้วยประทีปหรือถ้วยเล็ก ๆ ที่ทำด้วยดินเผารูปลักษณะแตกต่างกันตามฝีมือของช่าง ในสมัยโบราณเวลามีงานเทศกาลมักจะใช้ผางผะตีดจุดให้แสงสว่าง
ปัจจุบันผางผะตีดได้แผ่ขยายเข้ามาใช้ในเทศกาลยี่เป็งของชาวเหนือ ดังนั้นเมื่อถึงช่วงเทศกาลดังกล่าวชาวบ้านจะจุดผางผะตีดไว้ที่หน้าบ้านของแต่ละคน ความเชื่อเช่นนี้ได้กลายเป็นพิธีกรรมไปแล้ว
แว่นพระเจ้า หรือ แว่นสามตา คือกระจกสำหรับส่องดวงปัญญาทิพย์ 3 ดวงเป็นประดุจดังแว่นส่องเพื่อเอาชนะกิเลสตัณหา
ทางวัดเรียกว่า ญาณ 3 ที่เกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้าคือ อตีตังสญาณ แว่นคือความรู้ที่สามารถส่องเห็นอดีตชาติของพระองค์
2.จตูปปาตญาณ แว่นคือความรู้ที่ส่องเห็นการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลาย
3. อาสวักขยญาณ แว่นคือความรู้ที่ส่องเห็นความหมดสิ้นไปแห่งกิเลสและอาสวะทั้งหลาย
นอกจากนี้ยังมีข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีกรรมทางพุทธศาสนาอีกมากมาย
เครื่องสักการะทั้งหลายเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามพิธีกรรมที่สืบเนื่องมาจากความเลื่อมใสศรัทธา เชื่อว่าหากได้นำเครื่องสักการะไปถวายจะได้บุญอานิสงฆ์มาก
ถือว่าเครื่องสักการะในพิธีกรรมต่าง ๆ ของคนล้านนาเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ทางศาสนา ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องสักการะก็เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวล้านนา เป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาตั้งแต่อดีต ทำให้ชาวล้านนายึดมั่นในครรลองที่ดีงามของสังคมซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงอารยธรรมที่ฝังอยู่อย่างแนบแน่นในหัวใจของชาวล้านนา
เจเจ้นำความนี้มาเล่าสู่กันฟังเพราะคุณพ่อเจเจ้ท่านเป็นคนเหนือเจ้ามีพิธีกรรมเยอะดีส่วนคุณแม่นั้นคนใต้แท้ๆพิธีกรรมทางใต้ก็มากเช่นกันเจเจ้เลยรับสองวัฒนธรรมมาเต็มรูปแบบแล้วจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
ชอบกดไลท์กดแชร์ชี้แนะได้นะคะแบ่งปันกันค่ะ
โฆษณา