15 ต.ค. 2019 เวลา 00:54 • ท่องเที่ยว
บ้านพ่อ - นาเฮียใช้
บ้านพ่อหนังสือที่ฉันมี
ตั้งแต่ปี 2542
หนังสือ 3 มิติ บ้านพ่อ
จะพาทุกท่านมาชมบ้านพ่อ ผ่านหนังสือ
"บ้านพ่อ" วังสวนจิตรลดา หนังสือ 3 มิติ ที่โครงการส่วนพระองค์ร่วมกับ บริษัทศิริวัฒน์อินเตอร์พริ้นท์จำกัด( มหาชน)จัดทำขึ้นจำหน่าย เพื่อนำรายได้ทูลเกล้าถวายเป็นราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พันษาครบ 6 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2542
บ้านพระราชาของแผ่นดิน ในความนึกคิด และที่เราเห็นในนิทาน หรือพระราชวังจริงๆของพระราชาองค์อื่นในโลก จะเป็นปราสาทราชวังที่อลังการสวยงาม และรายล้อมด้วยสวนดอกไม้สวยสดงดงาม
คงมีบ้านพระราชา พ่อหลวงของปวงชนชาวไทยองค์เดียวเท่านั้น ที่ภายในรั้ววังมีท้องนา ป่าไม้ โรงโคนม โรงสีข้าว ศูนย์การทดลอง ปฎิบัติการมากมาย บนพื้นที่กว่า 300 ไร่
ที่พระราชวังใดในโลกไม่มี
ใครยังไม่เคยเข้าไปอาจนึกภาพไม่ออก ขอให้ดูในภาพข้างล่างนี้ ตามหมายเลขกำกับ จะเป็นที่ตั้งของสำนักงาน โรงงาน ศูนย์ต่างๆดังกล่าวมากมาย ดังนี้
หนังสือบ้านพ่อ ซูมดูหมายเลขได้ เป็นที่ตั้งสำนักงาน ห้องปฎิบัติการต่างๆ
หมายเลข..
1.บ้านพลังงานแสงอาทิตย์
2. ศูนย์คอมพิวเตอร์
3. โรงโคนม 4.ศูนย์รวมนม
5. โรงเนยแข็ง 6. โรงนมผง
7. โรงนมเม็ด 8.ตรวจสอบคุณภาพ
9. ธุนการการเงิน. 10.ห้องเย็น
11.ยุ้งข้าว 12.โรงสีข้าว
หนังสือบ้านพ่อ :เกษตรทฤษฎีใหม่ 30:30:30:10
13. พัสดุ 14.โรงแกลบ
โครงการนาข้าวทดลอง
15.อนุรักษ์พันธุกรรมพืช
16.เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
หนังสือบ้านพ่อ แสดงให้เห็นโครงการส่วนพระองค์ที่ทรงทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนของพระองค์
17.กรมวิชาการ
18.ทดลองปลูกพืชปราศจากดิน
19.อาคารพันธุ์พืช
20.โครงการค้นคว้าน้ำมันเชื้อเพลิง
21.ศาลามหามงคล
22.วิจัยพัฒนา
23.สำนักงานขาย
24.โรงหล่อเทียน
25.โรงน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์
ภาพบน โครงการค้นคว้าเชื้อเพลิง ,ภาพล่างคือบ้านพลังงานแสงอาทิตย์.( ภาพจาก MThai)
โรงเพาะเห็ด ภาพจากMthai
26.ห้องเย็น
27.โรงน้ำผลไม้กระป๋อง
28.โรงเพาะเห็ด
29.โรงกระดาษสา
30.เรือนเพาะชำ
31.สาหร่ายเกลียวทอง
32.โรงอาหารปลา
33.อาคารอเนกประสงค์
34.โรงเพาะเห็ด
35.โรงปุ๋ยหมัก
สาหร่ายเกลียวทอง ภาพจากMthai
หนังสือบ้านพ่อ
ถ้าพ่อไม่พระราชทานแนวคิด เศรษกิจพอเพียงและทรงทำ เกษตรทฤษฎีใหม่ให้เราดู เราก็จะไม่เห็นภาพเกษตรกรรายเก่าและใหม่เพิ่มขึ้นมากมาย ที่ลุกขึ้นมาสนใจตั้งใจพัฒนาพื้นที่ของตนเองทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริกันมากขึ้น ลูกหลานกลับถิ่นฐาน หันมาสานต่อยอดงานพ่อแม่กันมากขึ้น หลายคนเกษียณราชการก่อนกำหนด หรือพนักงานออกจากการเป็นลูกจ้าง เพื่อมาปลูกป่า ทำนา ไร่ สวน กันมากขึ่น เห็นแล้วชื่นใจมากๆ
จาก Carabow.com
บางรายให้พื้นที่นา สวน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพิ่มรายได้อีกทาง บางรายทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่เก็บค่าเข้าไปชม แต่ไปชิม ช็อบ ใช้ ในศูนย์ก็พอมีรายได้เข้าแล้ว
อย่างนาเฮียใช้ หรือ..
ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี
เมื่อวานมีเวลาเที่ยวแค่ครึ่งวัน ฝนตกหนักแต่อยากออกนอกกรุงเทพที่ไม่ไกลบ้านมาก จึงเลือกสุพรรณ ถิ่นเคยอยู่และเคยไป แต่มีเวลาน้อย เลยเลือกที่ไม่เคยไป และใกล้ที่สุด
จึงมาตกที่ นาเฮียใช้
ออกไปก็ไปเจอฝนระหว่างทางก่อนถึงสุพรรณ ใจแป้ว จะได้ปั่นจักรยาน หรือเดินเล่นในนาในสวนดังใจยากได้หรือเปล่า
มองไม่เห็นท้องนาที่อยากเห็น
แต่พอไปถึงฝนก็ไม่มี ท้องฟ้าโปร่ง อากาศดี แดดไม่ร้อน เดินสบาย แต่พอเที่ยงก็ร้อนบ้างแต่ไม่มาก ไปช่วงน่าร้อนต้องพกร่ม หมวกเอาไม่ไหวแน่ แต่ภาพท้องนา ผืนน้ำ ทำให้สดชื่นได้
บนเนื้อที่ 89 ไร่ คนงานร้อยกว่าคน กระจายดูแลในส่วนต่างๆ ( สอบถามคนงาน) นับเป็นสถานที่หนึ่งที่กว้างขวาง และน่าสนใจมากๆ
เหมาะแก่การพาลูกหลานมาสัมผัสชีวิตวิถีไทย ได้ปั่นจักรยานชมสวน ชมบ้านไทย ชมบัว พายเรือ สนุกได้ทุกเพศทุกวัย แต่วันนี้เรือมีน้ำเต็มทุกลำ เนื่องจากฝนตก อดเลย
เอาภาพมาฝากเยอะหน่อย กระตุ้นเที่ยวไทย ไม่ต้อง "เดี๋ยว " ลุยเลย
โต๊ะเสวยของกรมสมเด็จพระเทพฯ
นอกจากจะได้ชมบ้านเรียนไทยที่สวยงาม พระราชกรณียกิจ สิ่งของทางประวัติศาสตร์ให้เรียนรู้ เราจะได้เรียนรู้เรื่องราว และองค์ความรู้ในวิถีของเกษตรกรที่ทรงคุณค่ามากๆ จากแผ่นป้ายใหญ่ที่นาสาธิต
รอบๆศูนย์ จะเห็นภาพในอดีตภาพวิถีแห่งท้องทุ่ง ยุ้งฉาง ไอ้ทุยควายไทย เล้าไก่ เล้าเป็ด ผักสวนครัว ผักริมรั้ว โรงสีข้าวพอเพียง(ไม่ได้ให้คนทั่วไปเข้าไปดูข้างใน ) รุ่นแอดเห็น ก็คิดถึงวัยเยาว์ ที่เราคุ้นตาอีกครั้ง ทำให้อิ่มเอมใจบอกไม่ถูก
แค่อยากจะบอกว่า ถ้านึกไม่ออกว่าจะไปเที่ยวไหน ได้บรรยากาศแบบนี้ สุพรรณก็น่าสนใจ ใกล้กรุงเทพฯด้วย
แวะเยี่ยมชมสถานที่ที่เป็น จิตวิญญาณ ของชาวนาไทย ... แห่งนี้กันค่ะ ทำให้ระลึกถึงพระองค์ท่านอย่างมีความสุข และภูมิใจที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทย และเกิดในรัชสมัยของพระองค์ท่าน
ขอจบด้วยพระราชดำรัสของในหลวงในดวงใจไทยทั้งชาติ เกี่ยวกับการเกษตร
"การอาชีพเพาะปลูกนี้มีความสำคัญมาก เพราะการเพาะปลูกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ ถ้าเราไม่มีการเพาะปลูกก็จะไม่มีวัตถุดิบที่จะมาเป็นอาหาร หรือ เป็นเครื่องนุ่งห่ม หรือ เป็นสิ่งก่อสร้าง ฉะนั้น ต้องทำการกสิกรรม...”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะผู้นำสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์นิคม
วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๑
🙏🙏🙏🙏🙏🙏
MomNoi
15/10/2562
โฆษณา