15 ต.ค. 2019 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) กำแพงแห่งการแบ่งแยกเยอรมนี ตอนที่ 1
เมืองเบอร์ลิน
1
กำแพงเบอร์ลินถือเป็นกำแพงที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์
กำแพงนี้ได้แบ่งแยกครอบครัว ญาติพี่น้องให้ต้องแยกจากกัน และเรื่องราวของกำแพงนี้ก็มีความเข้มข้นและน่าศึกษา
แต่ก่อนอื่น ผมขอพาไปรู้จักกับเบอร์ลินก่อนครับ
เบอร์ลินเป็นเมืองหลวงของเยอรมนี และเมืองนี้ก็ได้ผ่านช่วงเวลาที่รุ่งเรืองและตกต่ำมานับร้อยปี
เบอร์ลินในยุค 20 (พ.ศ.2463-2472)
เบอร์ลินนั้นได้ถือกำเนิดมาเป็นเวลานานกว่า 800 ปี เริ่มจากราวปีค.ศ.1200 (พ.ศ.1743) และเจริญรุ่งเรืองมาเรื่อยๆ จนถึงต้นยุคค.ศ.1600 (พ.ศ.2143-2242) เมื่อเกิดสงครามระหว่างชาวยุโรปที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกและชาวโปรเตสแตนท์
สงครามศาสนาในยุโรป
ผลจากสงครามทำให้เมืองถูกทำลายไปมาก และประชากรก็ล้มตายไปกว่าครึ่ง แต่เบอร์ลินก็ฟื้นฟูขึ้นมาได้จากการเปิดรับผู้อพยพและคนต่างศาสนา
1
ค.ศ.1701 (พ.ศ.2244) เบอร์ลินได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรปรัสเซีย (ในเวลานั้นยังไม่มีประเทศเยอรมนี)
1
องค์กษัตริย์แห่งปรัสเซียได้ทรงขยายกองทัพของพระองค์ ทำให้เมืองเบอร์ลินเองก็เติบโตขึ้นด้วย
ภายในยุคค.ศ.1800 (พ.ศ.2343-2442) เบอร์ลินก็ได้กลายเป็นเมืองหลวงแห่งศิลปินและเหล่าผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ได้เกิดมหาวิทยาลัยต่างๆ มากมาย ดึงดูดเหล่าบัณฑิตและนักศึกษาทั่วทุกมุมโลก
เบอร์ลินในยุคค.ศ.1800 (พ.ศ.2343-2442)
ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรไอน้ำก็ได้เปลี่ยนเบอร์ลินและทั้งโลก
ได้มีการสร้างทางรถไฟและโรงงานต่างๆ มากมาย เบอร์ลินได้กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจและอุตสาหกรรม ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาในเบอร์ลินเป็นจำนวนมาก
1
ค.ศ.1871 (พ.ศ.2414) นายกรัฐมนตรีปรัสเซีย “อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck)” ได้ประกาศว่าต่อไปจะมีอาณาจักรใหม่ที่เรียกว่า “จักรวรรดิเยอรมัน (United German Empire)”
อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck)
เบอร์ลินกลายเป็นศูนย์กลางของมหาอำนาจยุโรป
2
ภายในปีค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) เบอร์ลินก็มีประชากรกว่าสองล้านคน
ต่อมา สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปีค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยเยอรมนีได้รุกรานเบลเยี่ยมและฝรั่งเศส และเยอรมนีก็ได้พยายามนำกองเรือมาปิดล้อมสหราชอาณาจักร
ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) เรือดำน้ำเยอรมันได้โจมตีเรือโดยสาร “อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย (RMS Lusitania)” ทำให้ผู้โดยสารกว่า 1,198 คนเสียชีวิต และในจำนวนผู้เสียชีวิตก็เป็นชาวอเมริกันกว่า 128 คน
เรืออาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย (RMS Lusitania) ล่มจากการโจมตีของเรือดำน้ำเยอรมัน
เยอรมนีคาดว่าชัยชนะจะตกเป็นของตน แต่สงครามก็ดำเนินต่อไปจนถึงค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) มีผู้เสียชีวิตกว่า 20 ล้านคน
เมื่อเยอรมนีประกาศยอมแพ้สงคราม ประเทศทั้งประเทศก็อยู่ในสภาพทรุดโทรม
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II) ได้ก้าวลงจากราชบัลลังก์
สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ทำให้หลายราชวงศ์ในยุโรปล่มสลาย
ค.ศ.1919 (พ.ศ.2462) เยอรมนีได้จัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก เรียกว่า “สาธารณรัฐไวมาร์ (Weimar Republic)”
ถึงแม้เบอร์ลินจะอยู่ไกลจากไวมาร์กว่า 200 ไมล์ (320 กิโลเมตร) แต่เบอร์ลินก็เป็นศูนย์กลางของสาธารณรัฐไวมาร์ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ศิลปะ วิทยาศาสตร์อีกด้วย
1
ศิลปะ วัฒนธรรม ภาพยนตร์ ดนตรี ความเจริญรุ่งเรืองได้แผ่ซ่านไปทั่วเบอร์ลิน ทั่วเบอร์ลินนั้นเต็มไปด้วยคาเฟ่และไนท์คลับ เบอร์ลินเป็นเมืองที่คึกคักและเต็มไปด้วยสีสัน
แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของเยอรมนีอยู่ในสภาวะวิกฤต อาชญากรรมและจำนวนคนว่างงานก็สูงมาก และต่อมา ในปีค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) ทั้งเบอร์ลินและเยอรมนีต่างก็ล้มครืนจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลก (The Great Depression)
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำพรรคนาซีได้ออกมากล่าวโทษว่าทั้งหมดนี้เป็นความผิดของพรรคคอมมิวนิสต์และคนยิว โดยมีเสียงสนับสนุนฮิตเลอร์เป็นจำนวนมาก ทำให้พรรคนาซีมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อฮิตเลอร์ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปีค.ศ.1933 (พ.ศ.2476) ผู้สนับสนุนฮิตเลอร์ต่างฉลองด้วยการจุดคบเพลิงและเดินสวนสนามผ่านประตูบรันเดินบวร์ค
ผู้สนับสนุนฮิตเลอร์ฉลองชัยชนะของฮิตเลอร์
ภายใต้กฎของนาซี ชีวิตของชาวเบอร์ลินก็ได้เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งชีวิตชาวเยอรมันทั่วประเทศ
1
พรรคคอมมิวนิสต์รวมถึงพรรคการเมืองอื่นๆ กลายเป็นพรรคที่ผิดกฎหมาย เสรีภาพในการแสดงความเห็นและเสรีภาพของสื่อก็ได้สูญสิ้นลง
คู่แข่งทางการเมืองของฮิตเลอร์ต่างถูกทำร้ายและกำจัดให้พ้นทางของฮิตเลอร์
ที่หนักหนาที่สุดคือ “ชาวยิว”
ชาวยิวต้องตกงาน ธุรกิจที่มีเจ้าของเป็นชาวยิวก็ถูกรัฐบาลยึด และชาวยิวก็ต้องติดสัญลักษณ์รูปดาวหกแฉกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นชาวยิว
ชาวยิว
ความทะเยอทะยานของฮิตเลอร์นั้นไปไกลกว่าที่หลายคนคิด เขาไม่ได้ต้องการจะปกครองเพียงเยอรมนี แต่เขาต้องการจะยึดครองยุโรปทั้งทวีป
ค.ศ.1939 (พ.ศ.2482) ฮิตเลอร์ได้รุกรานโปแลนด์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 และในปีค.ศ.1941 (พ.ศ.2484) ญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ก็ได้ทำการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) ฮาวาย ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงคราม
ภายหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฎว่ามีผู้เสียชีวิตมากถึง 50-80 ล้านคน โดยนาซีได้ทำการสังหารผู้คนกว่า 12 ล้านคน และครึ่งหนึ่งเป็นชาวยิว
1
เบอร์ลินเองก็ถูกกองทัพอากาศสหรัฐและสหราชอาณาจักรทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วง ส่วนทางภาคพื้นดิน กองทัพสหภาพโซเวียตก็ได้มุ่งหน้าเข้ามายังเบอร์ลิน
วันที่ 30 เมษายน ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) ฮิตเลอร์ซึ่งตระหนักดีว่าตนเองแพ้แล้ว ได้ยิงตัวตายในที่หลบซ่อน
เยอรมนีได้ยอมแพ้ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488)
สงครามได้จบลงแล้ว เบอร์ลินอยู่ในสภาพทรุดโทรม
คำถามในตอนนี้คือ เยอรมนีและเมืองหลวงอย่างเบอร์ลินจะเป็นอย่างไรต่อไป?
ติดตามคำตอบได้ในตอนหน้านะครับ
โฆษณา