15 ต.ค. 2019 เวลา 10:01 • สุขภาพ
โรคซึมเศร้า : ยาสามารถรักษาได้ 💊
มีเรื่องราวของคลิกนิกเล็กๆ ในโรงพยาบาลเล็กๆแห่งหนึ่ง ที่นี่จะมีผู้คนแวะเวียนมาหาบ่อยๆ พวกเขามาทำอะไรกันนะ 🤔
นั่นสิ มาทำอะไรกัน มีตั้งแต่เด็กวัยรุ่น ไปจนถึงคนวัยทำงานรวมถึงคนสูงอายุมากๆก็มากัน
แต่สิ่งที่น่าสังเกต....ผู้คนที่มาที่คลินิกแห่งนี้ล้วนแต่แบกปัญหาต่างๆไว้ภายในใจแทบทั้งสิ้น มีเรื่องราวที่อยู่ภายในมากมายที่อยากบอกเล่าให้ใครสักคนได้ฟัง
เมื่อมายังคลินิกแห่งนี้จะมีนางฟ้าใจดีที่คอยช่วยเหลือ ขอแค่พวกเขาเหล่านั้นยอมบอกเล่าเรื่องราวที่อยู่ภายในใจออกมา
แน่นอนผมกำลังพูดถึงคลินิกที่รับบำบัด รักษา ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิต ไม่ว่าจะเป็นโรคจิตเภท โรคซึมเศร้า หรืออยากจะเลิกบุหรี่ สุรา ยาเสพติด ฯลฯ นั่นเอง
เมื่อเช้าได้เห็นข่าวนักร้องสาวชาวเกาหลี เสียชีวิต เป็นอะไรที่น่าสะเทือนใจอย่างมาก อ่านคร่าวๆมีเรื่องของโรคซึมเศร้าร่วมด้วย
วันนี้จึงอยากนำเสนอเรื่องราวของการรักษาโดยใช้ยา เน้นไปที่โรคซึมเศร้าที่เกิดกับเด็กและวัยรุ่น
พูดถึงเรื่องนี้ก็นึกขึ้นได้ ในสมัยเรียนมีรุ่นน้องอยู่คนหนึ่งป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เป็นชีวิตที่น่าสงสารมาก เพื่อนๆในรุ่นเดียวกันไม่มีใครคบเลย เพราะน้องมีพฤติกรรมแปลกๆ ชอบอยู่คนเดียว เบื่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ชอบมีปัญหากับเพื่อนจนเพื่อนไม่คบในที่สุด น้องเคยพยายามฆ่าตัวตาย 3 ครั้งแต่ไม่สำเร็จ ได้ฟังเรื่องราวแล้วสะเทือนใจเป็นที่สุด
สำหรับยาที่ใช้รักษานั้น แนะนำดังนี้
ยาท่ีควรใช้เป็นทางเลือกแรกในการรักษาภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น คือ ยาในกลุ่ม serotonin reuptake inhibitor (SSRI) ได้แก่ fluoxetine, sertraline, escitalopram และ fluvoxamine
นั่น!!! ยังจำ fluoxetine กันได้ไหม โผล่มาอีกแล้ว 😁
โดย fluoxetine เป็นยาที่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยในปัจจุบันท่ีแสดงว่ามีประสิทธิภาพในการรักษา ภาวะซึมเศร้าทั้งในเด็กและในวัยรุ่นมากท่ีสุด
Fluoxetine ไม่ธรรมดาเลยใช่มั้ยล่ะ
ส่วนยาในกลุ่ม tricyclic antidepressants (TCA) เช่น amitriptyline, nortriptyline หรือ imipramine ไม่มีข้อมูลว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นจึงไม่ควรใช้เป็นทางเลือกแรกในการรักษา
อาการไม่พึงประสงค์ของยาในกลุ่ม SSRI เช่น fluoxetine ท่ีพบบ่อย ได้แก่ อาการคลื่นไส้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ง่วงนอน หรือนอนไม่หลับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักไม่รุนแรงและหายไปได้หลังจากใช้ยาไประยะหน่ึง ในวัยรุ่นบางรายอาจมีอาการกระวนกระวายได้ในช่วงแรกของการรักษา
2
การใช้ยาในระยะยาวอาจทําให้เกิดปัญหาความต้องการทางเพศลดลงหรืออวัยวะเพศไม่แข็งตัว...เชื่อว่าหลายคนที่ติดตามเพจนี้มาน่าจะรู้ผลข้างเคียงเรื่องนี้กันแล้ว
ขนาดยาที่ใช้ แนะนำดังตาราง 👇👇
การรักษาจะใช้เวลานาน ไม่ใช่กินปุ๊บ หายปั๊บนะ ต้องอธิบายให้คนไข้เข้าใจ อย่างต่ำก็เป็นเดือนๆกว่าจะเห็นผล
ช่วงแรกๆที่กินยาไป หากรู้สึกผิดปกติอะไรให้รีบมาพบแพทย์ โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด
ทิ้งท้ายมีแบบทดสอบภาวะซึมเศร้ามาให้ลองทำกัน
เภสัชกรลองทำแล้ว ได้ 1 คะแนนเอง ว้าวว ✨✨
แหล่งอ้างอิง
1. แนวทางการดูแลวัยรุ่นท่ีมีภาวะซึมเศร้า
Clinical Practice Guideline for Adolescents with Depression ของ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
หากไม่อยากพลาดสาระดีๆเกี่ยวกับยาอย่าลืมกดติดตาม “เภสัชกร vate มีอะไรจะบอก” ด้วยน้าา 🤗🤗
โฆษณา