25 ต.ค. 2019 เวลา 23:47 • ท่องเที่ยว
เมื่อครั้งที่ผมมีโอกาสไปเยี่ยมชม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผมจึงถึงโอกาส
ไปพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ซึ่งอยู่ในบริเวณ
พระราชวังบวรสถานมงคล
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์มีความสำคัญอย่างมาก
เพราะเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธสิหิงค์
พระพุทธรูปองค์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองไทย
เรามาอย่างช้านาน
ผมจึงหาโอกาสไปสักการะ
เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต
พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของไทยมายาวนาน หล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร สูง 79 เซนติเมตร ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ที่ด้านหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ผมเห็นฐานพระที่นั่งอีกองค์ที่อยู่ด้านหน้า
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
มีป้ายบอกข้อมูลว่าในอดีตเป็น พระที่นั่งคชกรรมประเวศ
ซึ่งเป็นพระที่นั่งเครื่องไม้ทรงปราสาทมีเกยสำหรับทรงพระคชาธาร(ช้างทรง)
อยู่ทางด้านหน้า รัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
เป็นพระเกียรติยศเฉพาะ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
คราวที่ทรงรับพระบวรราชาภิเษกเสมอด้วยพระมหากษัตริย์
พระองค์ที่ 2 และเสด็จมาประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) แห่งนี้นับเป็นพระที่นั่งทรงปราสาทเพียงองค์เดียวที่สร้างขึ้นในพระราชวังบวรสถานมงคล
บริเวณด้านหน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ในปัจจุบัน พระนารายณ์ทรงปืนประดิษฐานอยู่บนฐานพระที่นั่งคชกรรมประเวศ
ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระที่นั่งคชกรรมประเวศ
เคยเป็นที่ประกอบ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
แต่ในเวลาต่อมาพระที่นั่งองค์นี้ชำรุดมาก
ยากแก่การบูรณปฏิสังขรณ์
จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อลงเหลือเพียงส่วนฐาน
กับเกยพระคชาธาร
ที่ผมได้เห็นอยู่ด้านหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
พระนารายณ์ทรงปืนประดิษฐานอยู่บนฐานพระที่นั่งคชกรรมประเวศ ที่ด้านหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
บนฐานพระที่นั่งคชกรรมประเวศปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระนารายณ์ทรงปืน
พระนารายณ์คือ องค์เทพเจ้าผู้คุ้มครองในศาสนาฮินดู
พระองค์อวตารเป็นพระรามและทรงธนูเป็นสัญลักษณ์
เหตุที่ใช้คำว่า “ทรงปืน”
เพราะในสมัยโบราณอาวุธที่ยิงด้วยวัตถุ
พุ่งไปข้างหน้า เรียกว่า “ปืน” รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรชาวอิตาลี
หล่อประติมากรรมสำริด “พระนารายณ์ทรงปืน” ขึ้นมา
เพื่อนำไปประดิษฐานหน้าพระตำหนัก ณ พระรามราชนิเวศน์(พระราชวังบ้านปืน)
แต่ยังดำเนินการค้างอยู่ สร้างเสร็จในรัชกาลที่ 6
และได้นำมาประดิษฐาน
ณ เกยพระคชาธาร หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาจนถึงปัจจุบัน
รูปปูนปั้นที่ประดิษฐานอยู่หน้าประตูทางเข้า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ต่อมาพระองค์ได้เสด็จไปอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาประดิษฐานที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์แห่งนี้
ภายในพระที่นั่งตกแต่งด้วยภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง
ที่วาดโดยช่างอยุธยาในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์
ซึ่งนับเป็นหนึ่งในจิตรกรรมแบบอยุธยาไม่กี่ชิ้นที่ยังสมบูรณ์เหลืออยู่ เป็นภาพวาดเทพชุมนุมของสวรรค์แต่ละชั้น
และพระพุทธประวัติในแต่ละช่วง
ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ที่วาดโดยช่างอยุธยาในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในจิตรกรรมแบบอยุธยาไม่กี่ชิ้นที่ยังสมบูรณ์เหลืออยู่ เป็นภาพวาดเทพชุมนุมของสวรรค์แต่ละชั้น
ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ที่วาดโดยช่างอยุธยาในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในจิตรกรรมแบบอยุธยาไม่กี่ชิ้นที่ยังสมบูรณ์เหลืออยู่ เป็นภาพวาดเทพชุมนุมของสวรรค์แต่ละชั้น
เมื่อผมได้เข้าไปยังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ผมเห็นพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่กลางพระที่นั่ง
ตัวองค์พระประทับอยู่บนพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
เป็นปราสาททองห้ายอด เป็นภาพที่งดงาม
สง่า น่าเลื่อมใสเป็นอย่างมาก
พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่กลางพระที่นั่ง ตัวองค์พระประทับอยู่บนพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นปราสาททองห้ายอด เป็นภาพที่งดงาม สง่า น่าเลื่อมใสเป็นอย่างมาก
พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของไทยมายาวนาน
หล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ
หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร สูง 79 เซนติเมตร
เป็นศิลปะแบบลังกาโบราณ
เรื่องราวความเป็นมาของพระพุทธสิหิงค์
มีเรื่องเล่ายาวนานมาก ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า
พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลักกาได้สร้างขึ้น
ต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ไปขอมาถวายพระร่วง
แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น
จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิงหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา
พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่กลางพระที่นั่ง ตัวองค์พระประทับอยู่บนพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นปราสาททองห้ายอด เป็นภาพที่งดงาม สง่า น่าเลื่อมใสเป็นอย่างมาก
แล้วพระพุทธสิหิงค์ก็ได้ถูกอัญเชิญย้ายไปที่ต่างๆ
ทั้งกำแพงเพชร เชียงราย และเชียงใหม่
จนเมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ได้ตีเชียงใหม่ได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน
ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานกว่า 105 ปี
เมื่อคราวอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 ให้กับพม่า
ชาวเชียงใหม่ได้มาอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปเมืองเชียงใหม่
จนในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ทรงโปรดให้อัญเชิญ
พระพุทธสิหิงค์ลงมายังกรุงเทพมหานคร
โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
พระราชวังบวรสถานมงคล นับตั้แต่นั้น
จนมาถึงปัจจุบัน
มีเรื่องเล่าที่สืบทอดความเชื่อกันมาถึงความศักดิ์สิทธิ์
ขององค์พระพุทธสิหิงค์ที่ว่า องค์พระพุทธสิหิงค์ได้ถูกสร้าง
มาจากแรงอธิษฐาน 3 อย่างด้วยกัน
คือ 1.คำอธิษฐานของพระอรหันต์ผู้ร่วมพิธี
2. แรงอธิษฐานของพระเจ้ากรุงลังกา
3. อานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การที่พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด
พระพุทธศาสนาย่อมรุ่งเรืองดังดวงประทีบ ณ ที่แห่งนั้น
ปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของไทย
มีปรากฎอยู่ 3 องค์ด้วยกัน
องค์แรกประดิษฐานที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
พระราชวังบวรสถานมงคล
องค์ที่สองประดิษฐานในวิหารลายคำ
วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
และองค์ที่สาม ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดพระนครศรีธรรมราช
ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า
ตามตำนานเรื่องเล่าที่สืบทอดกันมา
นั้นเหมือนกับความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
และหมายถึงองค์พระพุทธสิหิงค์องค์ใดกัน
เพราะจากรูปแบบของพระพุทธสิหิงค์ทั้ง 3 องค์
ที่หลายฝ่ายได้บอกกล่าว ล้วนมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป
ตามแต่ละท้องที่
แต่ไม่ว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไร
องค์พระพุทธสิหิงค์ ก็เป็นองค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาตลอดจนถึงปัจจุบัน...
หากชื่นชอบบทความ
ฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์
เพื่อเป็นกำลังใจด้วยครับ
ปั่นเรื่อง เป็นภาพ
โฆษณา