7 เรื่อง รู้ให้ทัน ประกันสังคม
สิทธิเราอย่าปล่อยให้เสียเปล่า
ประกันสังคมที่เราถูกหักจากเงินเดือนทุกเดือน นอกจากสิทธิการรักษาพยาบาลยังมีสิทธิอื่น ๆ
อย่าปล่อยให้เสียเปล่า วันนี้หมีน้อยจะมาแนะนำ สิทธิประโยชน์จากเงินประกันสังคมที่เราส่งกันค่ะ
ก่อนอื่นเรามาดูก่อนว่าเงิน 5% ที่เราถูกหักไป
ทุกเดือน ถูกหักไปทำอะไรบ้าง สมมติว่าคิดจากการส่งสูงสุด 750 บาท (สำนักงานประกันสังคม เล็งแก้กฎหมายอีกรอบ เพิ่มเงินสมทบประกันสังคมสูงสุด 1,000 บาท ภายใน 5 ปี) แบ่งเป็นดังนี้
1.5% = 225 บาท ประกันเจ็บป่วย ตาย
0.5% = 75 บาท ประกันการว่างงาน
3% = 450 บาท ประกันชราภาพ
1
1. กรณีว่างงาน
- ต้องส่งประกันสังคมมาแล้ว 6 เดือน ก่อนการว่างงาน
- มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
- ต้องไม่ถูกเลิกจ้างจากกรณีที่เรากระทำความผิด
ขั้นตอนการขอเงินชดเชยกรณีว่างงาน
- ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านสำนักงานจัดหางาน (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ** ต้องขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่ว่างงาน
- ไปเขียนแบบฟอร์ม (สปส. 2-01/7) ที่สำนักงานประกันสังคม เจ้าหน้าที่จะสอบถามนิดหน่อย พร้อมส่งสำเนาหน้าบุ๊คแบงค์ที่เราประสงค์ให้สำนักงานประกันสังคมโอนเงินให้
- รายงานตัวกับสำนักจัดหางาน (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
1
** สำหรับเงินที่เราจะได้รับชดเชยต้องดูเป็นกรณีไป ที่หมีน้อยเคยได้รับประมาณ เดือนละประมาณสามพันกว่าบาท (นานแล้วจำตัวเลขแป๊ะ ๆ ไม่ได้ต้องขออภัยด้วยค่ะ) ตอนนั้นได้รับ 2 เดือน ติดต่อกันเพราะเดือนต่อไปก็ได้งานใหม่
2. กรณีคลอดบุตร
- จ่ายงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
- จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
- ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน สำนักงานประกันสังคมจะส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
3. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
อันนี้เป็นสิทธิทุกคนที่ส่งประกันสังคมทราบดีอยู่แล้ว คือสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายของโรงพยาบาลตามสิทธิ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
1
4. กรณีทุพพลภาพ
- การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกายหรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ (ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด)
- จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ก่อนทุพพลภาพ
- เงินที่จะได้รับแบ่งเป็น 2 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้ และค่าบริการทางการแพทย์
5. กรณีชราภาพ
กรณีบำนาญชราภาพ (รับเป็นรายเดือน)
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน (ไม่จำเป็นต้องติดต่อกันแค่ให้ครบ 180 เดือน)
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
กรณีบำเหน็จชราภาพ (รับเป็นเงินก้อน จำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ)
- จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
1
6. กรณีสงเคราะห์บุตร
1
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 600 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
- ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
- อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
7. กรณีเสียชีวิต
- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน
- ค่าทำศพ 40,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ
- เงินสงเคราะห์กรณีตาย แบ่งเป็น 2 กรณีคือ
1. ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
2. ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมรักษาสิทธิของเราอย่าให้สูญเปล่านะคะ
1
References : www.sso.go.th
หมีน้อย Story
ผู้อ่านทุกท่านคือกำลังใจของหมีน้อย ขอบพระคุณที่แวะเวียนเข้ามาอ่านเรื่องราวต่างๆของหมีน้อยนะคะ เป็นกำลังใจให้กันและกันค่ะ ❤😍
โฆษณา