31 ต.ค. 2019 เวลา 13:15 • การศึกษา
เมื่อความรู้ มีวันหมดอายุ ep.1
คุณคิดว่าความรู้ที่เราเรียนหรือใช้ทำงานตอนนี้ จะใช้ต่อได้อีกนานแค่ไหน?
ใช้ได้แล้ว,เกือบใช้ไม่ได้,ใช้ได้ 5-10 ปี หรือใช้ได้ตลอดชีวิต?
บางคนอาจคิดว่าใช้ได้ตลอดชีวิต เพราะเรียนมาก็เกือบครึ่งชีวิตแล้ว
บางคนอาจคิดว่าต้องเพิ่มเติมตลอดเวลา
หรือบางคนอาจคิดเหมือนน้ำเต็มแก้ว ที่พอเต็มแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเติมอีก เพราะคิดว่าความรู้นั้นใช้ได้ตลอดไป
แต่ถ้าหากความรู้เราคงที่แต่โลกเรามันเปลี่ยนไปล่ะ...
ความรู้เก่าที่ร่ำเรียนมาจะตอบโจทย์โลกปัจจุบันหรือไม่
ซ้าย-ไทเกอร์ วู๊ดส์, ขวา-โรเจอร์ เฟเดอร์เรอร์
ในหนังสือ Range ได้เปรียบเทียบนักกีฬาอันดับ 1 ของโลกทั้งสองคนโดยสัมภาษณ์ไทเกอร์ วู๊ดส์ ซึ่งเป็นเเชมป์มือกอล์ฟของโลก และโรเจอร์ เฟเดอร์เรอร์ มือวางอันดับหนึ่งกีฬาเทนนิส ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกันและมักพูดเสมอว่าใครเก่งกว่ากัน
ไทเกอร์ วู๊ดส์ เมื่ออายุ 6 เดือนเริ่มเดินเองได้แล้ว อายุ 2 ขวบตีกอล์ฟออกทีวี อายุ 4 ขวบเข้าเรียนตีกอล์ฟวันละ 8 ชม. เรียนจนเชี่ยวชาญจนกลายเป็นตำนานของโลก
กรณีของไทเกอร์ วู๊ดส์อยู่ในลักษณะของการเรียนแบบเดียว เมื่อรู้ว่าชอบสิ่งไหนก็มุ่งมั่นไปที่สิ่งนั้นทุกลมหายใจ
แต่โรเจอร์ เฟเดอร์เรอร์กลับตรงกันข้าม
เพราะตอนเด็กๆ เขาชอบเล่นฟุตบอลกับแม่ เล่นสกี มวยปั๊ม ว่ายน้ำ บาสเก็ตบอลกับพ่อ ถือได้ว่าทำกิจกรรมหลากลายมาก ก่อนจะเริ่มตีเทนนิสในภายหลัง
เฟเดอร์เริ่มสนใจกีฬาเทนนิส จึงหันมาเล่นอย่างจริงจัง แม้จะรู้ตัวช้ากว่าเพื่อนแต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคในการฝึกฝนแต่อย่างใด จนในที่สุดเขาก็ได้กลายเป็นแชมป์โลก
เขาบอกว่า ทักษะไม่ว่าจะเป็นกีฬาอื่นๆที่เขาเคยทำมาทั้งหมดนั้นมันช่วยฝึกการประสานสัมพันธ์ทั้งมือและสายตา ทำให้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว สุดท้ายถือเป็นประโยชน์กับเทนนิส แม้จะไม่ได้เรียนเทนนิสมาโดยตรงก็ตาม
ประเด็นสำคัญคือ ผู้เขียนกล่าวว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่มักเลี้ยงลูกแบบไทเกอร์ วู๊ดส์ ที่พอลูกพูดไม่ได้ตอนวัย2ขวบก็เริ่มคิดถึงความผิดปกติ กลัวลูกจะพัฒนาการช้า
การเรียนรู้เหมือนไทเกอร์ วู๊ดส์ เหมาะสำหรับโลกที่เป็นโลกแบบนิ่งๆเราพยากรณ์ได้ ว่าพรุ่งนี้ไม่ต่างจากเมื่อวาน ถือเป็นเรื่องดี เน้นให้เก่งสุดๆไปเลย เพราะรู้อยู่แล้วว่าอาชีพนี้ไม่อดตาย
แต่ของโรเจอร์ เฟเดอร์เรอร์ คือการเรียนรู้ทักษะหลายรูปแบบ จะเหมาะกับโลกที่เปลี่ยนไปเร็ว
ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการเรียนรู้หลายทักษะเพียงอย่างเดียวจะดีกว่าเสมอไป เพราะตราบใดที่เราขาดข้อมูลเชิงลึก อาจทำให้เราผิดพลาดได้
ดังนั้นเราควรรู้ข้อมูลทั้งเชิงลึกและเชิงภาพรวมกว้างๆ เพื่อที่จะหล่อหลอมเราให้ทันการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน
ตอน 2 จะเป็นเรื่องของใครรอติดตามนะคะ
ขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่ะ
31 ตุลาคม 2562
ท่านเด็ก 🎃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา