3 พ.ย. 2019 เวลา 10:51 • การศึกษา
"ประเทศไทยจะเป็นประเทศพัฒนา (Developed) แล้วหรือยัง" และ "เมื่อไหร่จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว" ตอนที่ 2
ประเทศไทย
1. ด้านเศรษฐกิจ (ต่อ):
ความเดิมตอนที่แล้วผมได้พูดถึงว่าประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นมากและรายได้เฉลี่ยต่อหัวก็สูงขึ้นหลาย 10 เท่าเมื่อเทียบกับปี 1960
ในปี 2019 ประเทศไทยน่าจะมี GDP Nominal per capita (GDP ต่อคนต่อปี) ที่ 7,000 USD กว่าๆ ซึ่งยังไม่จัดอยู่ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยสูง (High Income Country) แต่ก็เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยปานกลางค่อนข้างสูง (Upper Middle Income Country) นั่นหมายถึงอีกหนึ่งขั้นเราก็จะเป็นที่มีรายได้เฉลี่ยสูง
แผนรายได้แต่ละประเทศจาก Worldbank
นอกจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวแล้วคงต้องมาดูในเรื่องความเหลื่อมล้ำของแต่ละประเทศและตัววัดความเหลื่อมล้ำที่ใช้กันหลักๆก็มีนั่นก็มี
ก. ค่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ (Income GINI) ซึ่งประเทศไทยมีค่าประมาณ 30 ปลายๆ ถึง 40 ต้นๆ ..
ซึ่งใกล้ 0 หมายถึงเหลื่อมล้ำน้อยส่วนใกล้ 100 หมายถึงเหลื่อมล้ำมาก..ดังนั้นจะเห็นว่าค่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของไทยไม่ถึงกับแย่ครับ..
GDP by Sector and Labour force by Sector
แต่ก็ยังเป็นปัญหาเพราะจากกราฟด้านบนก็จะเห็นว่ารายได้ประชาชาติของไทยมาจากการเกษตรเพียง 8% แต่เเรงงานภาคการเกษตรมีถึง 30% ของประเทศ นั่นแสดงว่ารายได้ของเกษตรกรยังคงต่ำกว่าภาคอื่นๆเยอะมาก
ข. ค่าความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่ง (Wealth GINI) ซึ่งประเทศไทยมีค่าประมาณ 90 และเป็นอันดับต้นๆของโลกซึ่งก็หมายถึงความเหลื่อมล้ำในการถือครองสมบัติ ที่ดิน และทรัพย์สินนั้นถือว่ามากๆ และก็เป็นปัญหาเลยทีเดียว แต่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างอเมริกาก็มีปัญหาแบบเดียวกันและในหลายๆปีค่านี้ก็สูงเช่นกัน
Wealth GINI จาก Credit suisse
ค. ปริมาณคนจนที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าครองชีพ ( % poverty from national standard) ซึ่งประเทศไทยมีอยู่ที่ 7.9% ในปี 2015 และประมาณ 8% ในปี 2016 นั่นก็เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าอังกฤษและอเมริกาที่มีค่า 11% และ15% ตามลำดับ
ถ้าไปอเมริกาก็จะเห็นว่ามีพวกคนไร้บ้าน (Homeless) มากกว่าบ้านเราเยอะมากๆๆๆ
% poeverty from national standard from wiki
นอกจากนั้นยังมีการศึกษาอีกว่าประเทศไทยมี Shadow Economy หรือ รายได้จากธุรกิจสีเทาเช่นขายของข้างถนนที่ไม่เสียภาษี ขายของปลอม ธุรกิจค้าประเวณี บ่อนเถื่อนและอื่นๆอีก สูงถึง 40% ของ GDP ..
นั่นก็หมายถึงรายได้ที่ไม่ได้ถูกนับน่าจะมีอีกร่วม 200,000 ล้าน USD และเมื่อนำมารวมกับ GDP ปกติ 500,000 ล้าน USD ประเทศไทยก็น่าจะมีตัวเลข GDP ร่วม 700,000 ล้าน.. ซึ่งจะทำให้รายได้ต่อหัวของประเทศไทยขึ้นเป็น 10,000 USD กว่านิดๆและนั่นก็หมายถึงรายได้ต่อหัวใกล้อยู่ในเกณฑ์ประเทศที่มีรายได้สูงที่ 12,000 USD เลยทีเดียว
Shadow economy from Bloomberg
โดยสรุปด้านเศรษฐกิจก็เป็นที่แน่ชัดว่าประเทศไทยเป็นประเทศรายได้ปานกลางค่อนไปทางสูงและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ไม่ถึงกับแย่ แต่ปัญหาคือคนรวยจำนวนน้อยของประเทศครองทรัพย์สินจำนวนมากของประเทศ..นั่นจะเป็นปัญหาหลักในระยะยาว..
2. ด้านสังคม และรัฐศาสตร์
นอกจากด้านเศรษฐกิจโดยตรงแล้วด้านสังคมอื่นๆ
ด้านสาธารณูปโภคเช่น ไฟฟ้าซึ่งประเทศไทยเข้าถึง 100% แล้ว เมื่อมาดูในส่วนของน้ำสะอาดและสาธารณสุขพื้นฐานอื่นก็อยู่ที่ >90% ซึ่งก็ถือว่าดีใช้ได้อยู่
กรุงเทพ
มาถึงค่า HDI (Human Development Index) ซึ่งเป็นค่าสำคัญที่ใช้วัดการเป็นประเทศพัฒนาแล้วโดยเป็นการวัดค่าระดับการศึกษา อายุเฉลี่ยประชากร รายได้และค่าใช้จ่ายมาประมวลผลด้วยกัน
โดยไทยจัดว่ามี HDI อยู่ในระดับสูง (High) เรามีการศึกษาพอใช้ได้และอายุเฉลี่ยคนถือว่ายาวพอได้ แต่ชาติที่พัฒนาแล้วทั้งหมดจะจัดอยู่ในระดับสูงมาก (Very High) ซึ่งประเทศไทยยังห่างอีกขั้นหนึ่ง
HDI from Wikipedia
มาถึง Corruption Index ประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ประเทศที่มีคอรัปชั่นสูงมากมายาวนานและแก้ยังไม่ได้ซะทีเดียว
Corruption Index website
แต่ประเทศไทยก็มีคะเเนนระดับความทุกข์ยากต่ำเกือบที่สุดในโลกซึ่งหมายถึงประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสุข เนื่องจากค่าครองชีพต่ำและอัตราคนตกงานต่ำมากๆๆ
Misery Index from Blomberg
นอกจากนี้คนไทยมีระบบที่ช่วยเหลือกันสูงมากหรือทำให้ Social Capital สูงด้วยนั่นก็เป็นสาเหตุให้สภาพสังคมมีอาชญากรรมต่ำและตกงานต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้เท่าๆกัน และทำให้ประเทศน่าอยู่...
นี่เองที่ผมเห็นได้ชัดมากเวลาเดินทางไปประเทศต่างๆ ก็จะเห็นว่าประเทศไทยถือว่ามีทรัพยากรมนุษย์ที่ช่วยเหลือและมีน้ำใจอันดับต้นๆของโลกเลย (ความเห็นส่วนตัว) และควรรักษาไว้
โดยสรุปด้านสังคมและรัฐศาสตร์ของไทยถือว่าพอใช้ได้ถึงดีเลยทีเดียวครับ ปัญหาหลักๆน่าจะเป็นคอรัปชั่น...
3. ด้านการศึกษา และเทคโนโลยี
ประเทศไทยถือว่ามีวิทยาการการเกษตร และการแพทย์พอใช้ได้แต่เทคโนโลยีด้านอื่นๆ เช่น การทหาร สื่อสาร หุ่นยนต์ ชีวภาพ ยานยนต์ และ อื่นๆ ถือว่าต่ำ
สรุปประเทศไทยขาด Technolgy capital ซึ่งทำให้เราต้องซื้อเทคโนโลยีมาใช้และนี่คือปัญหาหลักในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นผลพวงจากระบบการศึกษา ระบบสื่อสารมวลชน และการเมืองการปกครองที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
อังกฤษ ญี่ปุน อเมริกา
แล้วประเทศไทยจะป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือยัง
ขึ้นกับนิยามของแต่ละคนครับ แต่ถ้าในมุมมองและกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ... "ก็คงยัง" .... "แต่ไม่ไกลมากซะทีเดียว"
แต่ที่สำคัญการพัฒนาของเราต้องอย่าลืมจุดแข็งเรื่องความเอื้อเฟื้อของคนด้วย หรือ Social Capital ด้วย
1
แล้วเมื่อไหร่??? ถึงจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
นั่นไม่ใช่คำตอบที่ง่ายครับ เพราะถ้าเราจะดูประวัติศาสตร์ของประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปปัจจุบันรวมถึงญี่ปุ่นว่าพัฒนามาได้อย่างไร
3
ก็จะเห็นว่าประเทศเหล่านี้ล้วนมีคนจน มีคอรัปชั่น และสาธารณูปโภคที่แย่มาก่อน แต่ประเทศเหล่านี้มีผู้นำที่เด็ดเดี่ยวและมีการพัฒนาเทคโนโลยีรวมถึงการทหารแล้วเข้ามาฉกฉวยและแย่งชิงทรัพยากรของชาติอื่น (ชาติในอาณานิคม) เอาไปใช้จนประเทศตัวเองมีฐานะ
แล้วก็นำมาซึ่งการพัฒนาสาธารณูปโภคและทรัพยากรมนุษย์ของตัวเองในเวลาต่อมา
อังกฤษ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส
อเมริกาก็ใช้ทรัพยากรแผ่นดินทวีปใหม่อันกว้างใหญ่อย่างเต็มที่ และมีแรงงานไม่พอเลยต้องจับคนมาค้าทาสเพื่อเเรงงาน..
อเมริกาก็เจริญได้จากเทคโนโลยีที่เอามาจากยุโรปและใช้เเรงงานทาสจากอาฟริกาช่วยสร้างเศรษฐกิจใหม่
ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งถูกลดลงด้วยการเอาทรัพยากรของชาติอื่นๆมาใช้ ... แล้วก็มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติตัวเองในเวลาต่อมา...
อเมริกา กับ อนุเสาวรีย์ทาสใน เบนิน
แล้วประเทศไทยหล่ะครับ... เราคงต้องแก้ปัญหาภายในเช่นความเหลื่อมล่ำ คอรัปชั่น การศึกษา และเทคโนโลยี... แต่เราไม่มีทรัพยากรจากนอกประเทศมายืมใช้เหมือนดังประวัติศาสตร์ชาติเจริญแล้ว....
"แล้วต้องทำอย่างไรครับ??"
รอตอนที่ 3 นะครับ
#wornstory
Burgen, Emily; et al. (5 April 2012). "An Elusive Relation Between Unemployment and GDP Growth: Okun's Law". Economic Trends. Federal Reserve Bank of Cleveland. Retrieved 3 June 2016.
worldbank information
Thai DEP
โฆษณา