8 พ.ย. 2019 เวลา 05:10
เรียนคณิตให้เข้าใจ มีความสุข
ᕙ( • ‿ • )ᕗ
แค่นี้จริงๆ แล้วเป็นวิชาที่สนุก แต่เด็กจำนวนไม่น้อยเลยที่รู้สึกเบื่อระอา อาจจะเป็นเพราะเรียนไม่เข้าใจ เรียนแล้วเครียดหงุดหงิด
ต้องยอมรับว่า เด็ก บางคนถูกดุจากผู้ใหญ่หลังจากทำเลขผิด อาจจะกล่าวหาว่าโง่บ้างอะไรบ้าง ทำให้เด็กไม่กล้าลงมือทำ รอฟังผู้ใหญ่สอนอย่างเดียว
รูปจากแอป text on photo
คณิตศาสตร์เมื่อเรียนไปสักพักก็จะรู้ว่ามันไม่มีอะไรตายตัว ไม่มีตัวอย่าง แล้วลอกตามได้ เราต้องนำมาประยุกต์
เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันไม่สามารถเรียนรู้ในวิธีเดียวกันได้ ซึ่งไม่สามารถใช้ได้ในห้องเรียน เพราะจำนวนคนเยอะเกินไป
(* ̄(エ) ̄*) ลักษณะของเด็กไม่เข้าใจ และวิธีแก้ไขปัญหา
1. เมื่อสอนหน้าบนกระดาน ดวงหาเหม่อลอยตั้งแต่ 45 องศา ขึ้นไป ดวงตาไร้แวว ลักษณะเช่นนี้ มักลอยเข้าสู่ดาวอังคารเรียบร้อย \(^o^)/
นักเรียนอีกส่วนหนึ่งมักจะคิดในเรื่องอดีต เช่นเมื่อคาบที่แล้วครูสั่งงานอะไร ปากตอบรับ พยักหน้า แต่จริงๆ ไม่เข้าใจ เพราะในหัวไม่ได้นึกตาม พอทำงานแล้วมักจะงง (= =?)
(^._.^)ノ เหตุการณ์เช่นนี้อยากให้ลองอยู่สองแบบ บางคนก็จะชอบสื่อวีดีโอ ถ้าไม่ได้ผลอาจ ต้องสอนแบบประกบ จับกลุ่มยืนอยู่ใกล้ๆ ในระยะช่วงแขน เพราะเด็กสมาธิจะไม่หลุด อย่างน้อยก็ต้องเกรงใจเราอะนะ
2. เด็กมีความซึม คิดเลขช้า ว่ากล่าวตัวเองว่าไม่เก่ง สภาวะทางจิตใจ ขาดความเชื่อมั่น ใช้วิธีคิดเลขเร็ว เพราะ การฝึกฝนซ้ำ ยังไงผลก็ดีขึ้น ทำให้เขารู้ว่า เราก็ทำได้แฮะ ✧◝(⁰▿⁰)◜✧
3. ಠ︵ಠ พื้นฐานยังไม่แน่น ในทางคณิตศาสตรฺ์มีเนื้อเรื่องต่อเนื่องกัน ในโจทย์ข้อเดียวกันก็มีหลายเรื่อง เช่น สมการบางสมการก็มีเรื่องทศนิยม หรือเศษส่วนร่วมด้วย พื้นฐานก็เป็นเรื่องสำคัญ
ดังนั้นสอนพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ก่อน หรืออาจจะให้ทำแบบมีตัวอย่างรูปแบบเดียวกัน ก่อนที่จะประยุกต์เข้าระดับชั้นของเขา
4. เด็กไม่ลงมือทำรอแต่ครู วิธีนี้ก็ต้องให้คำแนะนำ ว่ามันต้องกล้าผิด คนเราเวลาผิดมักจะจำได้มากกว่าตอนถูก แต่ถ้าไม่ได้ผล อาจจะต้องให้เวลาบิ้วนานพอสมควร อาจจะเป็นเดือนไปเลยก็ได้ <( ̄︶ ̄)↗
อย่างไรก็ตาม มันเป็นประสบการณ์ที่น้ำน้อยพบและทดลองมา ลองปรับใช้ดู และก็อาจมีวิธีการที่ดีมากกว่านี้ ยังไงก็ช่วยกันแชร์ด้วยนะคะ
โฆษณา