7 พ.ย. 2019 เวลา 11:41 • ธุรกิจ
ธนาคารกลางเตรียมรับมือ "วิกฤตเศรษฐกิจ" ครั้งใหญ่
ช่วงนี้มีหลายเหตุการณ์เป็นที่น่าจับตา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือการเมืองทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
มีเสียงพูดกันหนาหูมากขึ้นถึงเรื่องราวในอนาคตอันใกล้ว่าโลกกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก
ล่าสุด ชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ สาขาชิคาโก ออกมากล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันได้ช่วยหนุนเศรษฐกิจสหรัฐ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะรับมือกับเหตุการณ์ตื่นตระหนกที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ส่วนคณะกรรมการนโยบายการเงินของประเทศไทยก็เพิ่งประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2008 ที่เรียกว่า Hamburger Crisis โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะช่วยทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังแก้ไขกฎเกณฑ์ที่เอื้อให้เงินทุนไหลออกเพื่อลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 4 เรื่อง คือ
- การยกเว้นการนำเงินรายได้จากการส่งออกกลับประเทศ
- การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ
- การโอนเงินออกนอกประเทศ
- การซื้อขายทองคำในประเทศเป็นเงินตราต่างประเทศ
จะเห็นว่าหลายฝ่ายกำลังเตรียมตัวรับมือกับวิกฤตครั้งนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นจริงไหม จะเกิดเมื่อไหร่ และจะมีผลต่อเราอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ คือไม่มีใครอยากให้เกิด
หากย้อนไปในอดีตวิกฤตการเงินที่น่าสนใจน่าจะเป็นวิกฤตการเงินของสหรัฐ ในปี 1907 เพราะวิกฤตครั้งนี้นำไปสู่การตั้งธนาคารกลางสหรัฐ จนมีผลทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจผู้กุมเศรษฐกิจโลก
วิกฤติการเงินสหรัฐปี 1907 เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลอะไรตามมา และผู้ที่รับบทพระเอกแก้ไขปัญหาครั้งนั้นภายใน 1 เดือนได้อย่างไร
ติดตามได้ในเรื่องเล่า "วิกฤตการเงินสหรัฐปี 1907 วิกฤตที่ก่อให้เกิดธนาคารกลางสหรัฐ" ในตอนหน้านะคะ
รายละเอียดเรื่องที่ ธปท. ปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกและลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทดูได้ตามลิ้งค์นี้นะคะ
โฆษณา