10 พ.ย. 2019 เวลา 12:00 • สุขภาพ
ประสบการณ์ปรับ 'นาฬิกาชีวิต'
หลังจากได้แรงบันดาลใจการใช้ชีวิตจากนักเรียนทุนคนหนึ่ง..ทำให้หันมาเอาจริงกับการตั้งเวลาทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับ นาฬิกาชีวิต (Biological clock)+หลัก 3S แล้วลองดูผลที่หนึ่งวัน นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ
ภาพจาก 1
หลายคนเมื่อเข้าสู่วัย "แซนวิช" 30-40s เริ่ม มีปัญหาการนอนหลับ ตื่นมาไม่สดชื่น มึนงง คนที่คุยด้วยบ่นว่าใจลอย รวมทั้งข้าพเจ้า
จนมีโอกาสคุยกับรุ่นน้องที่เป็นนักเรียนทุน Chevening ซึ่งเป็นทุนให้เปล่าของรัฐบาลอังกฤษ สำหรับสร้าง "ผู้นำในสาขาต่างๆ" ..น้องเล่าถึงความประทับใจเพื่อนที่รับทุนตัวแทนประเทศจีน
ด้วยความที่การแข่งขันในประเทศจีนต่อทุนให้เปล่าเหล่านี้มีสูงมาก เช่น หากไทย 1: 50 ของเขา 1:1,000 เพื่อนคนจีนนี้ ทั้งได้ผลงานวิจัยตีพิมพ์หลายเรื่อง และอัธยาศัยดีเป็นที่รักของเพื่อนๆ
จากการแบ่งเวลา ด้วยหลัก 3S (จะกล่าวต่อไปค่ะ)
จึงจุดประกายว่า⭐ "แบ่งเวลา"⭐ มีผลต่อประสิทธิภาพร่างกายแน่นอน ...จะลองลงมือปฎิบัติเสียที โดยใช้สูตรต่อไปนี้
🌻1.หลัก 3S-Start small, Stay steady, Sane (2)
เป็นการเป้าหมายการดูแลตนเองที่
ฝึกตนเองสุขง่าย เพื่อมีพลังทำสิ่งที่ยาก
Start small ตั้งเป้าความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ
Stay steady ทำให้ได้ทุกวันสม่ำเสมอ
Sane มีสติ รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
ยุคนี้เป็นการง่ายที่เราจะใช้ไปงาน หรือ social media มากไป จนขาดด้านอื่น เราจึงต้องจัดแบ่งเวลา มีการ 'ออมเวลาให้ตัวเอง' ไว้ก่อนใช้
⭐ เป้าหมายของข้าพเจ้าคือ ออกกำลังกาย 30 นาทีต่อวัน และออกกำลังสมอง โดยเขียน blog ลงวันละ 1 ชิ้น
มีพื้นที่ให้ออกกำลังกายเสมอ เมื่อเรามองหา ณ หลังโรงพยาบาล เช้าวันอยู่เวร
🌻 ข้อมูลของฮอร์โมนที่สำคัญต่อการทำงานร่างกาย
Melatonin ช่วยให้หลับดี และต้านอนุมูลอิสระ สูงช่วง 22-6 น.(peak ตี 2)
Cortisol ทำให้ตื่นตัว มีสมาธิ สูงช่วง 4-13 น. (peak 10 น.)
อุณหภูมิ สะท้อนการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ต่ำในตี 2 ถึง 7 น. (trough ตี 5)
ภาพ 3
การขึ้นลงของฮอร์โมนเหล่านี้เป็นตัวสื่อปรับจูนเวลาในเซลล์ของอวัยวะต่างๆในร่างกาย 'นาฬิกาบ้าน' ให้ตรงกับสมอง 'หอนาฬิกากลาง' ที่รับรู้เวลาจากแสงเป็นหลัก....
หากท่านใดสนใจลึกลงไปว่า นาฬิกาภายในเซลล์มีกลไกไขลานอย่างไร เป็นการค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์โนเบลปี 2016 อ่านได้จาก (4) ค่ะ
ภาพ 4
🌻 แท้จริง ศาสตร์แพทย์จีนและอายุรเวท ได้สังเกตและมี "นาฬิกาชีวิต" มาก่อนเนิ่นนานแล้ว
การทำกิจกรรมตามนาฬิกาชีวิต ช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานอย่างสอดคล้อง หากเปรียบเหมือนวงออแคสตร้า ก็คือการที่เครื่องดนตรีได้เล่นตามคอนดัคเตอร์
ภาพ 5
ข้าพเจ้าจึงวางเวลาของตนเองไว้ดังนี้
🖼5 - 7 น. : เวลาส่วนตัว ดื่มกาแฟ ทบทวนชีวิต
7 - 9 น. : ครอบครัว/ทานมื้อเช้า
9 - 13 น.: งานใช้สมาธิ เรียนรู้สิ่งใหม่
13- 14น.: ทานมื้อเที่ยง
14 -17 น.: งานติดต่อประสาน ไลน์ อีเมล์
✨17- 19น: ครอบครัว/ออกกำลังกาย
19 -22น.: เวลาส่วนตัว,อ่าน blog, วางแผน
22- 5 น. : นอนหลับ
การเขียน blog ทำในช่วงว่างๆ ที่นึกอยาก แล้วเก็บไว้ ทยอยตั้งเวลาลง 18 น.วันละบทความ
ประสบการณ์ที่ได้รับคือ
🍀ออกกำลังกายได้ตามเป้าหมาย
🍀นอนหลับดี ตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่น
🍀รู้ข้อจำกัด ปฎิเสธงานที่ทำไม่ไหว
🍀งานที่ค้างมา 1 เดือนเสร็จใน 2 ชั่วโมง
🍀หลัง 17 น.ปิดไลน์ อีเมล์ โทรศัพท์ ปิดสมองหยุดที่จะคิดถึงงาน..รู้สึกชีวิตมีอิสระอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
🍀คุยกับคนในครอบครัวอย่างใส่ใจ
🍀สุขสงบใจ ในการเขียน blog ด้วย 'ความตั้งใจ' แล้ว 'ปล่อยวาง'
⭐แล้วท่านละคะ มีทิป หรือ เทคนิคจัดเวลาชีวิตอย่างไร เชิญแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ🙂

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา