15 พ.ย. 2019 เวลา 08:58 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หมอขอเล่า ขอสัมภาษณ์ !!!!
ผศ.ดร.นพ.กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ หัวหน้าทีมผู้ทำ AI ทางการเเพทย์ จนได้รางวัลระดับนานาชาติ
http://psm.md.chula.ac.th/teach_01.php?d=326
เนื่องจากปัจจุบัน เรื่อง AI ทางการเเพทย์ เป็นกระเเสเเละเป็นที่สนใจมากมาย ทั้งในวงการเเพทย์เเละ บุคคลทั่วไป
ซึ่งตัวหมอขอเล่า เองก็สนใจในเรื่องนี้ เเละได้มีโอกาส สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ กับ ผศ.ดร.นพ.กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ ผู้เป็นหัวหน้าทีม โครงการ DAC4TB ซึ่งเป็น AI ที่ช่วยการอ่าน x-rays เเละทำนาย การเกิดวัณโรคซึ่งได้รางวัล Outstanding ICT Innovation and Outstanding ICT Achievement ในงานประชุม HIMSS asiapacific 2019
https://www.thailandmedical.news/news/thailand-team-wins-outstanding-ict-innovation-award-at-asia-pacific-himss-elsevier-digital-healthcare--awards-2019
ดร.กฤษณ์เองได้เล่ามุมมองที่น่าสนใจหลายอย่างเกี่ยวกับ AI ทางการเเพทย์ซึ่งเป็นอย่างไรขอเชิญติดตามได้เลยครับ
หมอขอเล่า : สวัสดีครับ ขอให้ ดร. กฤษณ์ช่วยเล่าประวัติความเป็นมาของ โครงการ DAC4TB หน่อยครับ
ดร.กฤษณ์: โครงการนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2016 ที่ ลูกศิษย์ที่ ปรึกษาของผม หมอตั๊ว ได้ทุนเจ้าฟ้าอานันทมหิดล ไปดูงานที่สหรัฐอเมริกา 1 ปีเเละพอจะกลับมา เมืองไทย เเละใช้ทุนที่กาญจนบุรีจึงเริ่มคิดถึงการเรียนต่อเฉพาะทาง ซึ่ง หมอตั๊วเองอยากเรียนต่อ สาขา อายุรกรรม จึงมาปรึกษาผม ว่าอยากทำงานวิจัยบางอย่างเพื่อเป็นใบเบิกทาง ในการเรียนต่อเฉพาะทางต่อไป จึงได้ ตัดสินใจเลือกเรื่องเกี่ยวกับ วัณโรค เเละตัดสินใจทำเป็น AI เพราะ กำลังเป็นที่สนใจ เเละหมอตั๊วเองก็ชักชวนเพื่อนที่เป็นวิศวกร มาเพึ่มอีกคนนึงสร้างเป็นทีมทำ AI ขึ้นมา
หมอขอเล่า :เเล้วเป็นหมอมาทำ AI ไม่มีปัญหาด้านการเขียนโปรเเกรมหรอครับ???
ดร กฤษณ์ : เนื่องจากในทีม มีวิศวกร ซึ่งเป็นอดีต โอลิมปิควิชาการ คอมพิวเตอร์เเละ เคยได้รางวัลเกี่ยวกับเขียน โปรเเกรม AI เเละตัวผม (ดร กฤษณ์) ก่อนมาเรียนหมอ ก็เคยเป็น โอลิมปิควิชาการคอมพิวเตอร์มาก่อนจึงพอมีความรู้ได้การเขียนโปรเเกรมอยู่บ้าง
หมอขอเล่า:เเล้ว โครงการ DAC4TB มีจุดเด่นต่างจากโปรเเกรมอ่าน x rays คัดกรอง วัณโรคอื่นๆอย่างไร
ดร.กฤษณ์ :เนื่องด้วย โปรเเกรม AI จะเรียนรู้จาก ข้อมูลที่เราสั่งสอนให้อ่าน ดังนั้นข้อมูลที่เราสั่งสอน AI จึงมีอิทธิพล ต่อผลลัพธ์ในการวินิจฉัยของ AI ได้สูง เเละ ตัว โรควัณโรค ก็ไม่ได้ วินิจฉัย ร้อยเปอร์เซ็นต์จาก ฟิล์ม X-rays ต้องอาศัย หลายๆอย่างประกอบกัน
เราจึง มีกฎว่า AI ที่ถูกสั่งสอนโดย ข้อมูลในการอ่าน ฟิล์ม x rays กับ ไปใช้อ่านจริงๆต้องเป็น กลุ่มประชากรที่ใกล้เคียงกัน
อาทิเช่น ถ้า AI ถูกสั่งสอนให้อ่าน x-rays จาก x-rays คนจีน เเต่พอใช้จริง กลับให้ไปอ่าน x -rays ของคนอเมริกา ผลลัพธ์ที่ได้ ก็จะคลาดเคลื่อน หรือ AI ที่ถูกฝึกจากภาพ x -rays ของผู้ป่วยศูนย์โรคมะเร็งปอด พอไปอ่าน
x-raysในกลุ่มประชากรทั่วไป ก็มักจะวินิจฉัยไม่ถูกต้องเต็มไปหมด
ดังนั้น ตัว DAC4TB จะมีการจัดกลุ่มประชากรในการสั่งสอน AI เเละให้ AI ไปอ่านผลต้องเป็นกลุ่มประชากรที่มีลักษณะใกล้ๆกัน เช่น AI ที่ไปอ่าน x-rays ปอดของชาวบ้านทั่วๆไปใน จังหวัด กาจนญบุรี AI ตัวนั้นก็ต้องเรียนข้อมูล จาก x-rays จากคนกาจนญบุรี ไม่ใช่ เอา AI ที่เรียน ข้อมูล x rays จาก โรงพยาบาล มะเร็งในนิวยอร์ค เป็นต้น
นอกจากนี้ DAC4TB จะมี algorithms เป็นคะเเนน ว่าผู้รับการตรวจมีความเหมือน วัณโรคมากน้อยเเค่ไหน ซึ่งเเต่ละคะเเนน จะเเนะนำวิธีการในการ ดำเนินการต่อ ผู้รับการตรวจต่อไป อย่างไร อาทิเช่น เเนะนำให้ไป เก็บเสมหะตรวจเพึ่ม หรือ ให้ปรึกษาหมอ x raysหรือ หมอ อายุรกรรมโรคปอด ซึ่งจะช่วยให้ การทำงานได้รวดเร็วเเละช่วยลดภาระงาน ของเเพทย์ไปได้มาก
หมอขอเล่า : ขอบคุณนะครับที่ ดร.กฤษณ์ได้ช่วยเล่า ประสบการณ์ในการ สร้าง AI สำหรับการคัดกรองวัณโรค เเล้ว ดร. กฤษณ์ มีมุมมองอย่างไร ต่อ AI ที่จะ มีผลต่อการเเพทย์ในอนาคต อันใกล้ จะมาเเทนที่หมอเลยได้มั้ย???
ดร.กฤษณ์:ที่จริงเเล้ว AI อย่างง่ายๆที่เป็น algorithm ทั่วๆไปมีมานานเเล้วในการเเพทย์ อาทิเช่น เครื่องเตือนเมื่อ ค่า lab ผิดปกติเกิน กำหนดเป็นต้น เเต่ถ้า ให้พูดถึง machine learning กับ deep learning ในส่วนนี้จะเข้ามาช่วย มาในเรื่องการวินิจฉัยโรคมากขึ้น
ตัวอย่าง งานที่ ดร กฤษณ์ บรรยาย เกี่ยวกับ AI ทางการเเพทย์นะครับ
ดร.กฤษณ์ : เเต่ส่วนในเรื่อง การรักษา จนถึงขั้นเเทนที่หมอ นั้นยังถือว่าห่างไกล
เคยมี AI ที่สามารถ ตอบปัญหาเชาว์ชนะมนุษย์ เเละเเข่งหมากรุก ชนะมนุษย์ เเต่พอให้ AI ตัวนี้ไปรักษา มนุษย์โดยใช้ ข้อมูลจากฐานข้อมูลการรักษาเป็น งานวิจัยจากทั่วโลกทีอยู่บน อินเตอร์เน็ต ปรากฎว่า ผลลัพธ์ไม่ดีนัก เพราะ 1.บางทีข้อมูลการรักษาที่สมัยใหม่ที่สุด ก็ยังไม่ได้อัพโหลด ขึ้น อินเตอร์เน็ต เเต่อาจจะอยู่ในวงวิชาการต่างๆ ที่หมอๆถกเถียงกัน
2. บางทีข้อมูลการรักษาหลายๆโรคที่ดีที่สุด ก็ไม่ได้อัพโหลดเป็นภาษาอังกฤษ อาทิเช่น โรคมะเร็งกระเพาะ คนญี่ปุ่นก็เก่งงานวิจัยที่เขียนโดยภาษาญี่ปุ่น AI ที่ถูกเขียนโดยภาษาอังกฤษ ก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นๆได้
3. AI ไม่มีความเป็นมนุษย์ ซักประวัติตรวจร่างกายก็ไม่ได้คุณภาพเท่า มนุษย์จริงๆ ทำให้เมื่อต้องตัดสินใจรักษาจริงไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเท่าไหร่ เป็นต้น
หมอขอเล่า :เเล้วสุดท้าย อยากให้ ดร.กฤษณ์ฝากถึง หมอรุ่นน้องเเละประชาชนทั่วๆไปว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรสำหรับ การ disruption ของ AI ต่อ การเเพทย์
ดร กฤษณ์: ในส่วนของหมอนั้น ก็เเนะนำให้ตั้งใจเป็นหมอ ดูเเลคนไข้ให้ดีครับ เเละเพึ่มความเป็น มนุษย์ให้มาก เพราะยังไงจุดนี้ก็เป็นจุดเเข็งที่ AI ยังไม่สามารถทดเเทนได้ ส่วนใครที่ เป็นหมอเเต่ไม่เคยเขียน โปรเเกรมเเละอยากจะมา ฝึกเขียนโปรเเกรม AI ผมก็ไม่เเนะนำนะครับ เพราะ คนเราไม่มีทางที่จะเก่งทุกเรื่อง เเนะนำให้ ฟอร์มทีมกับ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่าถ้าอยากทำเรื่อง AI จริงๆ
ดร กฤษณ์: ในส่วนของประชาชน ทั่วๆไป การมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ทางการเเพทย์ย่อมดีเสมอ เเต่อย่างไรก็ตามก็ขอให้ อย่าเพิ่งเชื่อ AI มากกว่า หมอจริงๆนะครับ เพราะยังไง AI ก็ยังเป็นเเค่ผู้ช่วยมากกว่า !!!!
หมอขอเล่า :ขอขอบคุณ ดร กฤษณ์มากๆครับที่ได้มาเเชร์ ประสบการณ์เเละมุมมองเกี่ยวกับ AI ทางการเเพทย์นะครับ
บทความนี้อาจจะยาวไปซักหน่อย นะครับ
เเต่ผม ก็ตั้งใจอย่างมากที่จะเขียนบทสัมภาษณ์ ออกมาเพราะ นานๆจะได้สัมภาษณ์ ผู้ที่ทำงานเเละมีผลงานด้าน AI ทางการเเพทย์จริงๆ เเละก็เชื่อว่าจะมีประโยชน์เเละเป็นความรู้ต่อผู้อ่านทุกท่านนะครับ
หวังว่าผู้อ่านจะสนุกเเละได้ความรู้นะครับ
https://www.forbes.com/sites/tomtaulli/2019/10/12/ai-artificial-intelligence--whats-the-next-frontier-for-healthcare/
โฆษณา