19 พ.ย. 2019 เวลา 12:12 • การศึกษา
"สังคมเหลื่อมล้ำทำไงดี"
"ประเทศไทยจะเป็นประเทศพัฒนา (Developed) แล้วหรือยัง" และ "เมื่อไหร่จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว" ตอนที่ 5 (ตอนจบ)
1
เหลื่อมล้ำมั๊ย??🤣🤣
ถ้าพูดถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำเชิงเศรษฐกิจภาพรวมของไทยอาจต้องกลับไปอ่านในตอนที่ 1 และ 2 ของผมอีกทีนะครับ
อย่างไรก็ตามพอสรุปคร่าวๆได้ว่าข้อดีของไทยคือ
อัตราการตกงานต่ำประมาณ 1%
อัตราส่วนของคนจนที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าครองชีพของประเทศ (% poverty line) อยู่ที่ 7.2% (2015) ซึ่งค่อนข้างต่ำและต่ำกว่าอังกฤษและอเมริกา
ค่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้ (Income GINI index) ก็อยู่ในเกณฑ์ 38-42.5% ก็ถือว่าไม่แย่ซะทีเดียวครับ
ภาพจาก Credit loan.com
เมื่อมาเปรียบเทียบค่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้ (Income Gini index) ของไทยกับประเทศอื่นๆ ประเทศไทยเราก็จะอยู่ระดับกลางๆ คือดีกว่าจีน อเมริกา และอีกหลายประเทศในอเมริกาใต้รวมถึงอาฟริกา แต่จะแย่กว่าประเทศในยุโรปตะวันตก..
และเมื่อมาลงรายละเอียดจากภาพด้านล่างก็จะเห็นได้อีกว่า รายได้เฉลี่ยของไทยแต่ละจังหวัดก็จะมีค่ามากกว่าค่าครองชีพขั้นต่ำเฉลี่ยในเกือบทุกจังหวัด จะมีก็เเต่เชียงใหม่ที่ค่อนข้างจะคาบเส้น..
นี่ก็บอกได้ว่าถึงประเทศไม่รวยมากแต่ก็พอกินครับ...
รายได้เฉลี่ย และ ค่าครองชีพขั้นต่ำเฉลี่ยของไทย ภาพจาก nso.go.th
นี่อาจเป็นเพราะความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องอาหารของประเทศที่ทำให้ต้นทุนด้านอาหารของไทยค่อนข้างถูก?? .... หรืออาจเพราะราคาสินค้าเกษตรถูก??? หรือเพราะอัตราการเเข่งขันที่สูง??
แต่ที่แน่ๆ ราคาอาหารรวมถึงราคาสินค้าอุปโภคในประเทศไทยถือว่าถูกกว่าเมื่อเทียบกับหลายๆประเทศ
คือสินค้าอุปโภคเฉลี่ยของไทยยังถูกว่าลาว พม่าและกัมพูชาเสียอีก ทั้งที่รายได้ประชาชาติเฉลี่ยของไทยสูงกว่าทั้งสามประเทศดังกล่าวมากๆ
Consumer price index จาก numbeo.com
Restaurant price index จาก numbeo.com
นั่นก็คือความโชคดีที่ค่าครองชีพไทยค่อนข้างต่ำ ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศพัฒาแล้ว เพราะประเทศพัฒนาแล้วถึงจะมีรายได้ที่สูงแต่ราคาสินค้าอุปโภค อาหาร และอื่นๆ ก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัวนะครับ... คือค่าครองชีพสูงครับ...
1
อย่างอาหารข้างทางบ้านเรา ทั้งอร่อย คุณภาพดีกว่าและราคาก็ถูกกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศเจริญแล้ว
กินกันนัว ที่ ไทย
ถึงสถานการณ์รายได้และความยากจนของไทยจะไม่ได้ย่ำแย่มากนักในภาพรวม แต่อย่างไรก็ตามความยากจนที่เหลื่อมล้ำก็ยังเป็นปัญหาอยู่และต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
อย่างเช่น ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคอิสาน และภาคใต้ตอนล่างยังมีปัญหาในเรื่องจำนวนคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ค่าครองชีพในอัตราที่สูงมากอยู่..
ภาพจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และะ TPMAP
และเมืองใหญ่ที่มีค่าครองชีพสูงอย่างเช่น กรุงเทพ ปริมณฑล อุดรธานี หรือ หลายจังหวัดทางภาคตะวันออกและใต้ตอนบน ก็มีคนที่มีรายได้ปริ่มๆ กับค่าครองชีพเป็นจำนวนที่มาก
ปัญหาก็คือ "มีเงินแค่พอใช้แต่ไม่พอเก็บ"
1
จาก Credit Suisee ยังมีการศึกษาและได้พบคนไทยที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 USD (ประมาณ 300,000 บาท) ต่อปีมีถึง 91.7% ส่วนที่มีรายได้มากกว่า 10,000 USD หรือ 300,000 บาท ต่อปีมีเพียงไม่ถึง 10%...
นั่นหมายถึงมีปริมาณคนรวยค่อนข้างน้อยมาก...
Credit Suisee
ประเทศที่มี่ความเหลื่อมล้าทางความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก
และนั่นก็เป็นที่มาของความเหลื่อมล้ำความมั่งคั่งซึ่งประเทศไทยมีปัญหาค่อนข้างมาก...
จากภาพกราฟด้านบนก็จะเห็นว่า 1% ของคนรวยในไทยมีอัตราส่วนของสินทรัพย์เท่ากับ 58% ของทั้งประเทศ ซึ่งก็หมายถึงคนจำนวนน้อยของประเทศกับมีรายได้และสินทรัพย์เป็นอัตราส่วนขนาดใหญ่ของประเทศ และอันนี้แหละที่น่าจะเป็นปัญหามากกว่าและอาจจะต้องแก้ไขกันอย่างจริงจัง...
ภาพจากสำนักงานที่ดินเพื่อการเกษตร
เมื่อมามองภาพรวมของประเทศจะเห็นประเทศไทยที่มีพื้นที่ 513,120 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 320 ล้านไร่ โดยจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่งคือพื้นที่ป่า ป่าสงวน ที่ราชพัสดุ และพื้นที่ปฏิรูปเพื่อการเกษตรซึ่งก็คือประมาณ 60% ของประเทศ
ดังนั้นประเทศไทยมีพื้นที่อีกประมาณ 130 ล้านไร่สำหรับประชาชน ซึ่งก็มีค่าเฉลี่ยเท่ากับประมาณ 3 ไร่ต่อคน (ของประชากรที่อายุมากกว่า 25 ปี ซึ่งมีประมาณ 44 ล้านคน)
แต่ในความเป็นจริงมีประชากรผู้ใหญ่ (มากกว่า 25 ปี) มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ (ประมาณ 60%) ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองเลย...
ภาพจาก TCIJ
ส่วนอีก 40 % ที่เหลือที่มีที่ดินของตัวเองนั้น ก็มีถึงประมาณ 50% มีที่ดินน้อยกว่า 1 ไร่ และอีก 35% มีที่ดิน 1-10 ไร่
ส่วนคนที่มีที่ดินมากกว่า 10 ไร่ก็มีเพียงประมาณ 15% ของประชากรที่มีที่ดินทั้งหมด ....
"หรืออาจสรุปคร่าวๆได้ว่าคนไทยที่มีที่ดินมากกว่า 10 ไร่ น่าจะมีไม่ถึง 7% ของประชากรผู้ใหญ่ทั้งหมดของทั้งประเทศ"
ภาพจาก MGR online
ภาพจาก TCIJ
นอกจากนี้ถ้ามาดูผู้ถือครองที่ดินก็จะเห็นว่าสองตระกูลใหญ่นั่นก็คือเจ้าของเบียร์ช้างและเจ้าของซีพีได้มีที่ดินรวมเกือบ 1 ล้านไร่ และพอมาดูที่ดินของ สส 500 คนเมื่อปี 2554 (ก่อน คสช) ก็จะเห็น สส ของทุกพรรครวมกันมีที่ดินกว่า 35,000 ไร่ ก็เท่ากับมีที่ดินเฉลี่ยคนละ 70 ไร่..
ดังนั้นก็พอสรุปได้ว่าแค่เพียงทรัพย์สินทางที่ดินอย่างเดียวเรามีความเหลื่อมล้ำกันมากขนาดไหน..
แต่อย่ามองประเทศไทยแย่ไปซะหมดนะครับ ปัญหานี้มีเหมือนกันในหลายประเทศนะครับเพราะอย่างค่าความเหลื่อมล้ำความมั่งคั่งของไทยก็ใกล้เคียงกับอเมริกาและอังกฤษครับ...
อย่างการถือครองที่ดินในอเมริกานั้นมีความเหลื่อมล้ำมหาศาลเช่นกัน...
wordpress.com
และความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่งนี้แก้ก็ยากมากครับ มาตราการและนโยบายหลายๆอย่างที่ทั้งต่างประเทศและไทยพยายามใช้ก็คือ...
1. นโยบายเพิ่มรายได้ระยะสั้น
- นโยบายประชานิยมเพื่อให้มีเงินลงไปในระบบ
- นโยบายประกันราคาสินค้า
1
2. เพิ่มค่าเเรงขั้นต่ำหรือปรับรายได้ทางสังคมให้สูงขึ้น
3. ปรับโครงสร้างภาษี
- อัตราภาษีก้าวหน้า
- ภาษีมรดก/ภาษีที่ดิน
- ภาษีมลพิษชนิดรถยนต์
- ภาษีอื่นๆ
4. เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ตั้งแต่วัยเด็ก
5. เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินแบบพิเศษเพื่อการมีที่ดิน บ้านที่อยู่อาศัย และธุรกิจ
6. เพิ่มระบบการเเจกจ่ายที่ดินเพื่อการทำกิน
7. อื่นๆ แล้วแต่พื้นหลังของแต่ละประเทศ
ภาพจาก NYI.com
แต่จะเห็นว่าการจะทำนโยบายดังกล่าวจะทำให้ได้ประสิทธิภาพแลประสิทธิผลนั้นคงต้องแก้ปัญหา "คอรัปชั่น" และ "การศึกษา" ให้ได้ด้วย
ก็จะเห็นว่ามันเหมือนไก่กับไข่เพราะ "ปัญหาคอรัปชั่น" "ปัญหาการศึกษา" "ปัญหาการพัฒนาเทคโนโลยี" "ปัญหาการเข้าใจคุณธรรมขัดแย้งและการเคารพกฎหมาย" และ "ปัญหาความเหลื่อมล้ำ" จะเเก้ได้จะต้องแก้พร้อมๆ กัน... เพราะมันเป็นปัญหาลูกโซ่เชื่อมต่อกันอยู่..
นอกจากนี้ "ความสามารถของผู้นำประเทศ" และ "การสร้างจิตสำนึกในเรื่องของการพึ่งพาตนเอง มองประเทศชาติและส่วนรวม" จะเป็นอีกสองสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศ
โดยส่วนตัวการปลูกจิตสำนึกในการพึ่งพาตนเอง มองประเทศชาติ และส่วนรวมด้วย" มีความสำคัญมาก
โดยคนที่อยู่ในระดับรายได้สูง มีที่ดินสูง มีอำนาจสูงของประเทศน่าจะยอมเสียสละผลประโยชน์บางส่วนเพื่อส่วนรวม และยอมรับกฎหมายบางอย่างเพื่อคนในชาติที่ด้อยกว่า
ส่วนรัฐควรสร้างให้คนรายได้น้อยมีความพยายามที่จะพึ่งตนเองให้มากขึ้นโดยรัฐต้องพยายามสร้างโอกาสตามที่กล่าวมา..
เสาชิงช้า กับ วัดสุทัศน์
นอกจากความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่งแล้ว ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุขและการศึกษาก็เป็นอีกอันที่ต้องคำนึงถึงด้วย
จาก google
จาก Hfocus
จากภาพเราจะเห็นว่าแต่ละพื้นที่ของไทยยังมีจำนวนหมอต่อคนไข้ที่ต่างกันหลายเท่า หรือแม้แต่สวัสดิการของรัฐในการรักษาและเข้าถึงระบบสาธารณสุขก็ยังงงๆไปตามแต่ละกองทุน
อันนี้ยังไม่รวมถึงสภาพทางสาธารณสุข อุปกรณ์เครื่องมือ และเวชภัณฑ์ที่ยังแตกต่างกันมากในแต่ละจังหวัด
การศึกษาก็เช่นกันยังมีความเหลื่อมล้ำในเชิงคุณภาพการสอน อุปกรณ์ ครูผู้สอน และหลักสูตรการสอน เป็นต้น
วัดโพธิ์
ความเหลื่อมล้ำทั้งสองอย่างข้างต้นก็คงต้องแก้ไปพร้อมๆกันกับความเหลื่อมล้ำทางรายได้และความมั่งคั่งและการแก้ปัญหาก็คงแบบเดียวกัน
แต่ต้องอย่าลืมว่าเราคงไม่สามารถทำให้คนในสังคมมีอะไรเท่ากันได้หมดและไม่มีสังคมไหนทำได้ แต่ที่เราต้องพยายามไปให้ได้คือ
"คนในสังคมต้องเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานได้เหมือนกัน มีการศึกษาที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน และมีรายได้พอใช้นั่นเอง"
และคงต้องพยายามเรียนรู้ดูแบบอย่างประเทศที่เจริญแล้วแล้วมาหา "วิธีที่เหมาะสมตามบริบทแบบประเทศไทยเราเอง"
"คงไปลอกมาทั้งหมดไม่ได้เพราะบริบททางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประชากร สังคม และการเมืองนั้นไม่เหมือนกัน"
ตัวอย่าง 3 เสือประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่าง ไต้หวัน สิงคโปร์ และ เกาหลีใต้ มักเป็นอะไรที่นักวิชาการชอบใช้เปรียบเทียบเพราะพึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้วไม่นาน และไม่ได้เป็นประเทศเจ้าอาณานิคมที่เข้ามาช่วงชิงทรัพยากรของชาติอื่นแล้วไปสร้างความเจริญให้กับตัวเองเหมือนชาติตะวันตก...
ผมขออนุญาตเปรียบเทียบในมุมมองของผมนะครับ...
Taiwan Singapore South Korea
"เกาหลีใต้" คงไม่ย้อนไปไกลมากนักก็เอาเเค่เกาหลีตกไปเป็นประเทศในอาณัติของญี่ปุ่นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงได้มีอิสรภาพแต่ไม่นานสงครามเกาหลีก็เกิดขึ้น
สงครามเกาหลีถึงจะทำให้เกาหลีแตกเป็นสองประเทศและทำให้ประเทศถดถอยยากจนลงมาก (แต่ยังรวยกว่าเรานะครับในช่วงปี 1960)
แต่เมื่อหลังสงครามเกาหลีจบลงทั้งสองเกาหลีได้รับความรู้ทางเทคโนโลยีเต็มๆ จากมหาอำนาจทั้งสองคือโซเวียต (รัสเซีย) และอเมริกาเพราะภาวะสงครามเย็นนั้นได้เกิดขึ้น
ดังนั้นทั้งสองประเทศจึงมีเทคโนโลยีด้านยานยนต์ เครื่องจักรกล และการทหารที่สูง เกาหลีใต้เองในช่วงหลังสงครามเกาหลีก็มีอเมริกาที่ได้บริจาคเงินมหาศาลหลายพันล้านเหรียญเพื่อช่วยบูรณะประเทศ
เกาหลีก็เลยพัฒนาอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ความช่วยจากประเทศโลกเสรี และผู้นำที่มุ่งมั่น ..... เพียง 40 ปีเกาหลีก็กลายมาเป็นประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจ ..
เกาหลีเหนือ
"สิงคโปร์" เกาะเล็กๆ ที่ไม่ได้มีบทบาทมากนักในประวัติศาสตร์แต่หลังจากเป็นของอังกฤษในต้นศตวรรษที่ 19 สิงคโปร์นั้นก็กลายมาเป็นเมืองท่าค้าขายใหม่มาเเทนอยุธยาในอดีตและถูกพัฒนาเป็นจุดพักเรือจากยุโรปไปจีนและญี่ปุ่น
หลังเป็นอิสรภาพจากอังกฤษ ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซียแต่ก็ได้เเยกตัวออกมาเป็นประเทศในเวลาต่อมา
สิงคโปร์นอกจากจะทำตัวเป็นประเทศศูนย์กลางการเดินเรือและการค้าระหว่างเอเซียกับยุโรปเเล้ว สิงคโปร์ยังเป็นผู้กลั่นน้ำมันรายใหญ่ด้วยโดยได้รับมรดกจากอังกฤษ
นอกจากนี้การที่มีระบบสาธารณูปโภคอื่นๆที่ค่อนข้างดีจากอังกฤษ รวมถึงได้ผู้นำที่เด็ดขาดและผูกขาดอย่าง ลี กวน ยู ทำให้การเมืองมั่นคง
และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ต่อเนื่องนั่นก็ทำให้สิงคโปร์ผงาดขึ้นเป็นประเทศที่ร่ำรวยในเวลาไม่นาน
แต่ต้องอย่าลืมว่า "สิงคโปร์มีสถานะที่ค่อนข้างใช้ได้มากๆ อยู่แล้วหลังเป็นอิสระจากอังกกฤษ"
Taiwan
"ไต้หวัน" เกาะไต้หวันในช่วงศตวรรษที่ 16 ได้ตกเป็นของดัตช์และสเปน และต่อก็กลายเป็นของจีนสมัยราชวงศ์ชิง จนกกระทั่งต้นศตวรรษที่ 20 ก็ได้ตกเป็นของญี่ปุ่นและช่วงนี้เองที่ญี่ปุ่นได้สร้างสาธารณูปโภคมหาศาลที่ทันสมัยให้กับไต้หวัน
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามเกาะไต้หวันก็กลายไปเป็นของพรรคก๊กหมิ่นตั๋งของจีน และเมื่อพรรคก๊กหมิ่นตั๋งแพ้พรรคคอมมิวนิสต์ในสงครามเมืองในจีน
บรรดาแกนนำพรรค คนชั้นนำ และคนมีการศึกษาจำนวนมากของจีนก็อพยพมาไต้หวันและเเยกตัวจากจีนในที่สุด
และก็คล้ายกับเกาหลีก็คือด้วยเทคโนโลยีที่ได้มาจากญี่ปุ่น ความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีและการเงินจากชาติตะวันตกที่ใช้คานอำนาจกับจีน รวมถึงคนที่มีการศึกษาและคุณภาพที่มาจากจีน
เลยทำให้ไต้หวันพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
อยุธยา
"ไทย" หลังปลดแอกจากพม่าในช่วงพระนเรศวรประเทศก็เริ่มมั่นคง รวมถึงอยุธยาสามารถหล่อปืนใหญ่ใช้ได้เองในสมัยพระเจ้าเอกาทศรถทำให้เทคโนโลยีการทหารพัฒนาขึ้นมาก..
นั่นก็ทำให้อยุธยาเป็นเมืองที่มีความมั่นคงและเป็นเมืองท่าค้าขายที่รุ่งเรืองมากในสมัยพระนารายณ์
หลังสมัยพระนารายณ์ อยุธยาลดการค้าขายกับต่างชาติลงอย่างมาก
กอปรกับสงครามแย่งอำนาจกันในราชวงศ์ทำให้คนเก่งๆล้มตายและความรุ่งเรืองเริ่มหายไปจนกระทั่งถูกพม่าตีแตก พอมาในช่วงรัตนโกสินทร์นั้นสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ก็ทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นมากแต่เทคโนโลยีส่วนใหญ่ยังคงนำเข้ามาทั้งหมดและพึ่งจะเริ่มจะศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีเอง แต่ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและไทยไม่ได้มีผู้นำที่เก่งพอ รวมถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เราต้องชดใช้ค่าสงครามเป็นข้าวปริมาณหลายล้านตัน เงินในระบบถูกคอรัปชั่นมากมาย และคนส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ
นั่นก็เลยทำให้ไทยในช่วงปี 1960
"เป็นประเทศที่น่าจะจนที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง" และที่แน่ๆ "จนสุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลานั้น"
วัดอรุณ
ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาไทยก็ได้ฟื้นตัวและมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทั้งๆ ที่มีเทคโนโลยีที่ต่ำ ประเทศที่ยากจน คนขาดการศึกษา และไม่มีมหาอำนาจช่วยเหลือ
ไทยโดยเฉพาะกลุ่มเอกชนได้พยายามบุกเบิกการส่งออกด้วยค่าเเรงที่ต่ำมาก การเริ่มการโปรโมทการลงทุนและการท่องเที่ยว การอาหารที่รสชาติเลิศ และการมีนิสัยคนที่ยิ้มแย้มและเอื้ออารี
ใน 40 ปี ประเทศไทยก็เริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ด้วยการเป็นผู้ส่งออกสินค้าอุปกรณ์ชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องประดับ และอุตสาหกรรมอาหารและเกษตร รวมถึงมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวขนาดใหญ่ของโลก...
การศึกษาดีขึ้นมาก และคนก็รวยขึ้นกว่าเมื่อ 40 ปีที่แล้วมากๆ โดยรวมไทยก็ได้กลับมาป็นประเทศที่มีฐานะปานกลางถึงไม่ร่ำรวยเท่าอีกสามประเทศที่กล่าวมาเพราะบริบทต่างกัน แต่ไทยก็พัฒนามามาก..
อย่าลืมเราเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์กว่าหลายประเทศ ดังนั้นเรามีโอกาาสมากกว่าในอนาคต....
"ปัญหาคอรัปชั่น" "ปัญหาการศึกษา" ปัญหาการพัฒนาเทคโนโลยี" "ปัญหาการเข้าใจคุณธรรมขัดแย้งและการเคารพกฎหมาย" และ "ปัญหาความเหลื่อมล้ำ" มันจะลดลงไปถ้าคนไทยช่วยกัน..
ช่วยกันก็คือ อย่างน้อยขอให้เข้าใจบริบท ที่มา ประวัติศาสตร์ ของประเทศไทยและประเทศอื่นก่อนจริงๆ
คนไทยต้องอ่านให้มาก ฝึกเข้าใจก่อน แล้วค่อยวิจารณ์เพื่อต่อยอดและสร้างชาติครับ..
และรักษาความมีน้ำใจ ช่วยเหลือกันไว้
และประเทศจะดีขึ้น...
ส่วนตัวผมยังมั่นใจว่า
"ผมจะเห็นไทยเป็นประเทศเจริญแล้วก่อนผมตายครับ"
จบ.....
กทม..
#wornstory
เป็นการเขียน series ที่เหนื่อยมากครับ...ฝากไลค์นะครับ
โฆษณา