17 พ.ย. 2019 เวลา 15:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
พลาสติกกันกระสุน?? 😯👍
เมื่อทีมนักวิจัยจาก RICE University สร้างโครงสร้างพอลิเมอร์ด้วยเครื่อง Print 3 มิติที่สามารถหยุดกระสุนที่มีความเร็วกว่า 20,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง
สภาพของชิ้นงานที่ถูกยิง, เครดิตภาพ Rice University/Jeff Fitlow
เทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่อง Print 3 มิตินั้นได้สร้างความเป็นไปได้ของรูปแบบชิ้นงานหรือโครงสร้างที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ให้เกิดขึ้นและนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง
ชิ้นงานที่ทีมวิจัยได้สร้างขึ้นนี้เป็นโครงสร้างที่เรียกว่า "tubulanes" เป็นโครงสร้างของท่อพอลิเมอร์คล้ายกับท่อคาร์บอนนาโนสานไขว้กัน เป็นโครงสร้างในจินตนาการที่ถูกทำทายเอาไว้ว่าถ้าทำได้จะมีคุณสมบัติที่น่าทึ่ง
ซึ่งโครงสร้างรูปแบบนี้ถูกทำนายคุณลักษณะไว้ตั้งแต่ปี 1993 โดย Ray Baughman นักเคมีแห่งมหาวิทยาลัย Texas และนักฟิสิกส์ Douglas Galvão แห่งมหาวิทยาลัย Campinas ประเทศบราซิล
แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตและขึ้นรูปชิ้นงานพลาสติกจึงไม่อาจพิสูจน์แนวคิดได้จนถึงวันนี้
ภาพขยายของชิ้นงานที่ถูกยิง, เครดิตภาพ Rice University/Jeff Fitlow
โดยทีมวิจัยได้ทดสอบด้วยการสร้างชิ้นงาน 2 ชิ้น ชิ้นแรกขึ้นรูปด้วยโครงสร้างพอลิเมอร์แบบปกติ ส่วนอีกชิ้นขึ้นรูปด้วยการ Print 3 มิติด้วยโครงสร้างในรูปแบบ tubulanes โดยทั้งสองชิ้นเป็นพลาสติกชนิดเดียวกัน
เมื่อทำการทดสอบด้วยการยิงกระสุนที่ความเร็วสูงกว่า 20,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเข้าใส่ชิ้นงาน ผลที่ได้คือขิ้นงานทั้ง 2 สามารถหยุดกระสุนได้แต่ชิ้นแรกแรงกระสุนได้สร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างทั้งชิ้น
แต่กับชิ้นงานที่ขึ้นรูปด้วยโครงสร้างแบบ tubulanes กระสุนสามารถสรางความเสียหายลึกไปได้ถึงแค่ชั้นที่่ 2 ของชิ้นงาน
ทีมวิจัยประเมินว่าโครงสร้างแบบ tubulanes สามารถสร้างการต้านทางกระสุนได้ดีกว่าการขึ้นรูปแบบเดิมถึง 10 เท่า
โดยสองปีก่อนทีมวิจัยของ RICE University ก็เคยสร้างชิ้นงานด้วยโครงสร้างที่เรียกว่า schwarzite brick ซึ่งทำให้เกิดวัสดุที่เบาแต่แข็งแรงและยืดหยุ่นอย่างมาก
ก็นับเป็นอีกก้าวของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการ Print 3 มิติที่จะช่วยให้เราสามารถสร้างวัสดุที่เคยมีอยู่แต่ในจินตนาการให้ออกมาเป็นจริงและใช้งานได้ 😉

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา