18 พ.ย. 2019 เวลา 02:58 • ธุรกิจ
10 ตัวเลขน่าตกใจ! จบปริญญาก็ไม่ทำให้รวย
เมื่อก่อนพ่อแม่มักสอนลูกว่าให้เรียนสูงๆ จบมาจะได้มีงานทำดีๆ มีเงินเดือนสูงๆ แต่มาถึงยุคนี้คำพูดนี้ไม่จริงเสมอไป “ใบปริญญา” ไม่ได้การันตีความสำเร็จของผู้เรียนได้ จบจริงแต่ไม่มีความสามารถ ไม่เคยฝึกงาน ไม่เคยทำงาน วันๆ เอาแต่เรียนและเรียนอย่างเดียว แบบนี้โอกาสหางานทำยิ่งยากมากขึ้น สอดคล้องกับตัวเลขน่าตกใจที่ www.ThaiFranchiseCenter.com นำมาฝากแล้วจะรู้ว่า “ปริญญา” อาจไม่ได้ทำให้เรารวยขึ้น หรือสบายขึ้นได้
1. จำนวน 37,210,000 ล้านคนมีงานทำ
ภาพจาก BBC Thai
สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 พบว่า จำนวนผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 56,640,000 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมจะทำงาน 37,210,000 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีงานทำ 37,210,000 คน ผู้ว่างงาน 385,000 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 120,000 คน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 18,920,000 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน คนชรา เป็นต้น
2. 12,000 คนคือคนว่างงานที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561
 
ตัวเลขของผู้ว่างงานยังน่าเป็นห่วงจำนวนผู้ว่างงานในเดือนกันยายน 2562 อยู่ที่ 385,0005 คน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.0 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 12,000 คน และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 3,000 คน
3. อายุ 15-24 ปี มีอัตราว่างงานสูง
ภาพจาก bit.ly/2NLKOa4
กลุ่มวัยเยาวชนหรือผู้มีอายุ 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 6.5 ซึ่งปกติในกลุ่มนี้ อัตราการว่างงานจะสูง ส่วนกลุ่มวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.4 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 กลุ่มวัยเยาวชนมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 5.1 เป็นร้อยละ 6.5
4. ปริญญาตรี 173,000 คนว่างงาน
ภาพจาก bit.ly/2Oa6HP9
ผู้ว่างงาน หากจำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ พบว่า ผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจำนวนสูงสุดคือ 173,000 คน (อัตราการว่างงานร้อยละ 2.2) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 84,000คน (ร้อยละ 1.3) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 77,000คน (ร้อยละ 1.2) ระดับประถมศึกษา 42,000คน (ร้อยละ 0.5)
5. ร้อยละ 75 ของคนมีงานทำไม่ได้จบปริญญา
ภาพจาก bit.ly/2OfKLlA
จากอัตราคนมีงานทำในประเทศ 37,210,000 คน เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา 7,977,000 ล้านคน นั่นคือผู้มีงานทำอีก 30 ล้านคนเศษ หรือคนไทยเกือบร้อยละ 75 ของผู้ที่มีงานทำไม่ได้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา
 
6. อันดับ 7 จาก 181 ประเทศทั่วโลก
 
นี่คือตัวเลขการจัดอันดับการว่างงานของไทยซึ่งอยู่ที่ อันดับ 7 จาก 181 ประเทศทั่วโลกคิดเป็นอัตราว่างงานเฉลี่ย 1.1-1.2% แต่แรงงานไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบและมีการเข้าโครงการลาออกโดยสมัครใจทำให้ไทยมีอัตราว่างงานในเกณฑ์ต่ำ
 
7. ร้อยละ 15 ของผู้ปกครองขาดทุนถ้าคิดในแง่การลงทุนเรื่องค่าเรียน
ภาพจาก bit.ly/2QiKRMa
จำนวนผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาของปี 2561 สำเร็จปริญญาตรี 447,454 คน, สำเร็จ ปวช. 246,426 คน, สำเร็จ ปวส. 161,924 คน แต่มีผู้ว่างงานในระดับอุดมศึกษากว่า 173,000 คน ผลเช่นนี้ คือร้อยละ 15 ของผู้ปกครองของนิสิตนักศึกษาลงทุนในค่าเล่าเรียนและกินอยู่ของนิสิตนักศึกษาไปแบบขาดทุน เพราะลูกหลานสำเร็จการศึกษามาแล้วก็ยังหางานทำไม่ได้
8. 12,101,900 คนเลือกทำงานส่วนตัว
ภาพจาก facebook.com/phatarinfoods
ในจำนวนเกือบ 38 ล้านคนที่มีงานทำนั้น พิจารณาประเภทงานที่ทำพบว่าเป็นลูกจ้างรัฐบาลเพียง 3,277,700 คน เป็นลูกจ้างเอกชน 15,940,200 คน และเลือกทำงานส่วนตัว 12,101,900 คน ที่เหลือเป็นงานอื่น ๆ สะท้อนให้เห็นถึงคำว่า “เป็นนายตัวเอง” ของคนยุคนี้ทั้งที่อยากทำและจำใจทำมีมากขึ้น
9. ค่าแรง 325 บาท ยังไงก็ไม่พอกิน
 
มาถึงเรื่องอัตราค่าแรงขั้นต่ำกันบ้าง เราเห็นคนจบระดับปริญญาตรีหลายคนที่ยังหางานไม่ได้ก็มุ่งหน้าเป็นพนักงานโรงงานระหว่างรอเรียกงานที่สมัครไว้ ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 325 บาท ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นตัวเลขที่ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตแม้จะประหยัดสักแค่ไหน ด้วยค่าครองชีพที่สูงทุกด้าน เช่นข้าวมื้อละ 50 หากกิน 3 มื้อก็ 150 บาท หรือถ้าไม่นับเรื่องค่าข้าว ก็ยังมีปัจจัยทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าดูแลครอบครัว จิปาถะ ตัวเลข 325 บาทจึงกลายเป็นวาระในการหาเสียงเมื่อการเลือกตั้งที่ผ่านมาที่หลายพรรคการเมืองประกาศว่าจะเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้ แต่นั่นก็ต้องสู้กับบรรดาผู้ประกอบการทั้งหลายที่มองว่าต้นทุนตัวเองก็สูงเช่นกัน
1
10. พร้อมเตะฝุ่นอีกกว่า 520,000 คน
ภาพจาก bit.ly/2QjaYlY
สำนักงานสถิติแห่งชาติ คาดการณ์แรงงานจบใหม่ในปีหน้า โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม 2563 ที่เป็นช่วงจบการศึกษาของเหล่าบัณฑิตใหม่ จะมีตัวเลขคนว่างงานใหม่สูงถึง 520,000 คน สูงที่สุดมากกว่าปี 2562 ในเดือนกรกฎาคมที่มีตัวเลขบัณฑิตใหม่ว่างงานอยู่ที่ 436,000 คน และย้อนหลังกลับในในช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่ตัวเลขว่างงานของแรงงานใหม่อยู่ที่ 382,000 คนจากตัวเลขที่เกิดขึ้นทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า อัตราการว่างงานของแรงงานจบใหม่ มันพุ่งสูงขึ้นเป็นก้าวกระโดดขึ้นมาอย่างเรื่อยๆ และถือเป็นเรื่องหนักอกสำหรับรัฐบาล และกระทรวงแรงงานที่ต้องกดตัวเลขว่างงานเหล่านี้ให้ "ต่ำลง" ให้ได้อย่างเร่งด่วน ถือเป็นเรื่องที่จะรอไม่ได้เลยทีเดียว เพราะตัวเลขระดับคนว่างงานของเด็กจบใหม่ที่ทะลุ 500,000 คนในปีหน้า จะเป็นตัวเลขการ "เตะฝุ่น" ที่สูงที่สุดในประเทศไทยในกรอบ 10 ปีเลยทีเดียว
 
ถ้าตัวเลขนี้ถูกต้อง สถิตินี้บอกว่าการจ้างงานของประเทศไทยไม่ได้สนใจผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยเลยถ้าเช่นนั้น ต้องกลับไปดูว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในการจ้างแรงงาน หรือเกิดข้อผิดพลาดในการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือจะโทษว่าเป็นผลพวงจากผลกระทบจากสงครามการค้าที่กระทบเศรษฐกิจทั้งโลก และประเทศไทยก็ไม่รีรอที่จะได้ผลกระทบนี้ สิ่งที่เด่นชัดคือการจ้างงานที่ลดลง และรวมไปถึงการตกงานของเหล่าแรงงานไทย ปัญหาที่เกิดขึ้นเห็นภาพชัดเจนว่า เอกชนไม่รับพนักงานใหม่ มีแต่ทยอยปรับออก สถานการณ์เช่นนี้จะยืดเยื้อต่อไปตามวังวนของเศรษฐกิจประเทศที่ยังไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ตอนนี้ก็ติดลบไปแล้ว 2-4%
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
โฆษณา