19 พ.ย. 2019 เวลา 04:45 • ข่าว
ทำไม Instagram จึงซ่อนไลค์? ใครได้ใครเสีย
เมื่อช่วงไม่กี่วันมานี้ app ที่คนไทยใช้กันไม่น้อยอย่าง instagram ได้เริ่มกระจายการทดสอบรูปแบบการซ่อนยอดไลค์ ไม่ให้แสดงจำนวนให้ผู้ติดตามเห็น
แต่เจ้าของโพสท์ยังสามารถดูจำนวนยอดไลค์ของตัวเองได้ โดยระบบทดสอบนี้ได้เคยใช้กับหลายประเทศแล้ว เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อิตาลี รวมทั้งอเมริกา และตอนนี้ในไทยก็เริ่มทดสอบระบบนี้แล้วเช่นกัน
Search engine journal
ทำไมต้องซ่อนยอดไลค์?
ประเด็นของเรื่องนี้ CEO ของ Instagram นาย Adam Mosseri ได้ให้ความเห็นไว้ว่า
“the idea is to try to depressurize Instagram, make it less of a competition, and give people more space to focus on connecting with the people they love and things that inspire them”
.
ก็คือ มีความคิดอยากให้ instagram นั้นเป็นพื้นที่ที่เป็นชุมชนสำหรับผู้คน ให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการติดต่อสื่อสารกันกับผู้คนที่รัก และสิ่งที่ชอบ โดยไม่ต้องมีความกดดันจากจำนวนยอดไลค์
โดยเฉพาะสำหรับเด็กยุคใหม่อย่าง gen Z ที่มีปัญหาสุขภาพจิตหลายอย่างจาก social media
เป้าหมายคือ ต้องการให้ instagram เป็นเสมือน”พื้นที่ปลอดภัย”สำหรับทุกคน ต้องการลดความวิตกกังวล และลดการเปรียบเทียบทางสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องระวังจากการใช้ social media ทั้งสิ้น
ใครอยากแชร์ อยากลงอะไรก็ได้ที่ตัวเองชื่นชอบ สนใจ โดยที่ไม่ต้องกลัวว่าลงแล้วคนจะไลค์มากน้อย เพราะไม่มีคนเห็นยอดไลค์นั่นเอง
ความเห็นส่วนตัวในประเด็นนี้หลังจากลองทดสอบคือ ถึงแม้เราจะไม่เห็นจำนวนยอดไลค์ทั้งหมดเป็นจำนวนตัวเลข แต่เรายังคงกดเข้าไปดูคนที่ไลค์โพสท์นั้นๆได้อยู่ดี
ซึ่งก็แปลว่า คนที่โพสท์ก็ไม่ได้อาจสบายใจได้จริงว่า จะไม่มีคนอื่นมาดูโพสท์ของตัวเอง ว่ามีหรือไม่มีคนไลค์ให้
จึงคิดว่าสุดท้าย instagram อาจต้องพิจารณาปิดการเข้าไปดูคนที่มากดไลค์ของโพสท์คนอื่นได้ ถ้าต้องการลดความกดดันในเรื่องนี้จริงๆ
ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
คือ influencer และ brand สินค้าต่างๆ
ที่อาจต้องใช้ตัวเลขยอดไลค์มาเป็นหนึ่งในเกณฑ์การประเมินการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน รวมทั้งการพิจารณาจ้างงาน influencer ต่างๆ
โดยก่อนหน้านี้การวิเคราะห์จาก hypeauditor ที่ดูจำนวนยอดไลค์ของ influencer พบว่าในประเทศที่ทดสอบการปิดยอดไลค์
.
กลุ่ม influencer ที่มีผู้ติดตามในช่วง 5,000-20,000 คน ยอดไลค์ตกประมาณ 3-15%
HypeAuditor
ส่วนในกลุ่มที่มีผู้ติดตาม 100k-1M คน ในญี่ปุ่นกลับมียอดไลค์เพิ่ม ส่วนในบราซิลกลับมียอดลดลงอย่างรุนแรง ซึ่งอาจสะท้อนวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ
HypeAuditor
ผู้คนในหลายวัฒนธรรมมีพื้นฐานที่ชอบทำตามๆกันกับคนส่วนใหญ่ โพสท์ไหนมียอดไลค์เยอะ ก็จะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนโพสท์ไหนมีคนไลค์น้อย ก็อาจจะถูกเลื่อนผ่านไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คนไม่ได้สนใจที่เนื้อหาของโพสท์มากนัก หรืออาจต้องมีจำนวนไลค์เป็นตัวกระตุ้นความสนใจ
ในประเด็นนี้นั้นผู้เชี่ยวชาญในวงการตลาด influencer อย่าง ‘Gil Eyal’ ผู้ก่อตั้ง HYPR ได้กล่าวว่า
จริงๆยอดไลค์นั้นเป็นตัวชี้วัดที่แย่ เพราะยอดไลค์สามารถสร้างได้ง่ายๆ อย่างที่พวกเราเห็นคนที่รับปั๊มยอดไลค์ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งก็ไม่ได้เป็นการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคที่แท้จริง
และอีกประเด็นคือ ยอดไลค์มักไม่ได้แสดงถึงความรู้สึกจริงๆของผู้คนเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ อย่างเช่น การไลค์ตามๆกัน หรือบางคนที่กดไลค์ทุกโพสท์ ซึ่งก็ไม่ได้สะท้อนอะไรเกี่ยวกับความนิยมในสิ่งนั้นๆ
ขอสรุปสิ่งที่น่านำไปคิดต่อหรือแชร์ความเห็นกันเป็นประเด็นต่างๆดังนี้
1 การซ่อนยอดไลค์ไม่ให้คนอื่นเห็นแต่เจ้าตัวยังเห็นนั้น ถึงแม้เราจะลดการเปรียบเทียบกับคนอื่นลงได้ แต่ถ้าเราได้ยอดไลค์น้อยลงเมื่อเทียบกับเดิม เราจะมีความเครียดลดลงหรือมากขึ้น และอนาคต social media ทั้งหลายจะปรับรูปแบบเป็นอย่างไรให้สามารถลดความเครียดได้ดีขึ้น
2 เพื่อนๆคิดว่าอะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีในการดูว่าโพสท์หนึ่งๆได้รับความนิยมมากหรือน้อย
3 เราจะเอาอะไรเป็นตัวตัดสินใจ ในการที่จะกดอ่านโพสท์หนึ่งๆบ้าง แล้วก่อนจะกดอ่าน เราได้ดูจำนวนยอดไลค์ ยอดแชร์ ยอดคอมเมนท์ของโพสท์นั้นๆก่อนไหม
4 คิดว่า blockdit ควรจะโชว์ยอดไลค์ ยอดแชร์หรือไม่ เพราะเหตุใด รวมทั้งเจ้าของโพสท์ควรจะกดดูได้หรือไม่ ว่าใครมากดไลค์ให้ตัวเองบ้าง
ร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้เลยนะคะ
Ref :
โฆษณา