26 พ.ย. 2019 เวลา 04:00 • ความคิดเห็น
BDNF สารในสมองผู้ "เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส"
ธรรมชาติคัดสรรให้สิ่งมีชีวิตที่ "ใช้วิกฤตเป็นโอกาส"...ร่างกายเรามีกลไกตอบสนองต่อภาวะขาดอาหารหรือมีการใช้พลังงานสูง โดยการหลั่งสาร 'BDNF' เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสติปัญญาในการแก้ปัญหา..ในคนที่เป็นโรคซึมเศร้าและอัลไซเมอร์มีสารตัวนี้ต่ำ แล้วเราจะเพิ่มมันอย่างไรดี
ภาพประยุกต์จาก internet ไม่ประสงค์ใช้เพื่อการค้า
🌻 วัฎจักรวิกฤตคือโอกาส : G-to-K และ K-to-G
สัตว์ต่างๆ รวมถึงมนุษย์ในอดีต มีช่วงฤดูกาลขาดแคลนอาหาร ต้องเดินทางไกลไปหาอาหาร ทำให้ร่างกายต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด..สำหรับมนุษย์นอกจากอยู่รอดแล้วยังเกิดการเรียนรู้ใหม่จากวิกฤตแต่ละครั้งด้วย
วัฎจักรวิกฤตสู่โอกาส IMS = Intermittent Metabolic Switching : ซ้ายคือช่วง fasting หรือ exercise G-to-K และขวา Resting K-to-G (1)
🍀ช่วงขาดอาหารหรือออกกำลัง : เสมือนช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง
ร่างกายสะสมแป้ง glycogen ในตับประมาณ 700 Kcal ซึ่งนำออกมาใช้เป็น glucose ได้ประมาณ 12 ชั่วโมง หากมีการวิ่งอาจใช้ได้เพียง 4 ชั่วโมง เมื่อ glucose หมด ก็ต้องหันมาใช้ไขมันในรูป ketone..เราเรียกช่วงนี้ว่า G-to-K
Gherlin เป็นผู้สื่อข่าวที่บอกสมองว่าร่างกายเริ่มต้องเตรียมรับภาวะขาดแคลนด้วย'ความรู้สึกหิว'
นอกจากนี้ การเดินหาออกหาอาหาร ทำให้กล้ามเนื้อหลั่งสารออกมาหลายชนิด (Myokines) ช่วยเสริมสัญญานจาก Gherlin
สมองจึงสั่งการต่อด้วย BDNF ชื่อเต็มว่า Brain Derived Neurotrophic Factor..เป็นผู้จัดการ จัดสรรทรัพยากรเพื่อ
แก้ไขโครงสร้างพื้นฐานสมองแบบใหม่ให้รับกับปัญหาในอนาคต (Neuroplasticity)
ลดการทำงานของ mTOR เพื่องดโครงการก่อสร้างที่ไม่จำเป็น
เซลล์ใดมีปัญหาภายในเช่น DNA แตกหัก mitochondria เสื่อม ก็จะถูกเข้าแผนฟื้นฟู (Autophagy)...ถ้ายังไม่ไหวเซลล์นั้นก็จะถูกกำจัด
🍀ช่วงกินอิ่มนอนหลับ : ช่วงฟื้นฟู
เมื่อได้รับอาหารมี glucose อีกครั้ง ร่างกายจะหยุดนำคีโตนมาใช้ เรียกว่าช่วง K-to-G
1
Gherlin หยุดส่งสัญญานวิกฤต..mTOR เดินหน้าก่อสร้างเต็มที่ รวมถึงเซลล์สมองที่ถูกวางโครงสร้างไว้มีการเจริญต่อเนื่อง
จะเห็นได้ว่า ไม่มีวิกฤติก็ไม่มีการเรียนรู้ปรับปรุง สะสมปัญหาเรื้อรังจนก่อโรคความเสื่อมทีหลัง
แต่ถ้าวิกฤติลากยาวไม่มีพักฟื้นเลย ร่างกายก็จะทนไม่ได้..
การมีวัฎจักรขึ้นลงจึงเป็นวิถีสร้างความสมดุลของธรรมชาติ
..ข้าพเจ้านึกไปถึงสี่แยกรินคำที่ตั้งห้างเมญ่าและทิงค์พาร์คในปัจจุบัน คือพื้นที่บ้านจัดสรรถูกทิ้งร้างและป่าไมยราพหลังช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งค่ะ😎
🌻เราจะเพิ่ม BDNF ได้อย่างไร
ปัจจุบันมีการสังเคราะห์ BDNF เป็นอาหารเสริม แม้คงไม่มีพิษภัยเพราะผ่าน อย. .. แต่ก็น่าสงสัยในประสิทธิภาพเพราะการทำงานของสมองต้องการความ "ถูกที่-ถูกเวลา" ในการเพิ่มขึ้นลดลงของ BDNF เหมือนวงออแคสตร้า ที่ความไพเราะของเสียงบรรเลง.. ไม่ได้ขึ้นกับเพียงจำนวนไวโอลิน..แต่ขึ้นกับจังหวะไหนจึงเล่น และเมื่อถึงจังหวะที่ตัวเองเล่นก็ต้องเล่นให้ดีที่สุด
⭐สิ่งที่น่าจะช่วยเพิ่ม BDNF อย่างมีความหมายต่อการทำงานของสมอง จึงน่าจะเป็นการสนับสนุนการสร้างของร่างกายเอง โดย..
1. การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (exercise)
2.การอดอาหารบางช่วง (intermittent fasting)
และ
3. การเจริญสติ (mindfulness ) ?
3
ข้อ 1 และ 2 เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ และสามารถอธิบายได้ด้วยกลไก "วิกฤตสร้างโอกาส"
จากการเปลี่ยนแปลงโหมดพลังงานระหว่างกลูโคสและตีโตน ดังที่เล่าไปแล้ว
ผู้ฝึกสมาธิมีโครงสร้างการเชื่อมโยงสมองต่างไปจากเดิม คือเพิ่มในส่วน Salience network ที่เกี่ยวกับความรู้ตัวทั่วพร้อมและ cognitive flexibility (3)
แต่สำหรับ 3 ผลของการเจริญสติต่อ BDNF นั้น
มาจากการพบว่าผู้ที่ฝึกสมาธิมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมอง คือมี neuroplasticity แน่นอน แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่า mindfulness เพิ่ม BDNF หรือไม่ โดยกลไกใด
มีสมมติฐานว่า mindfulness ช่วยลดการยับยั้ง/ทำลาย BDNF จาก inflamation ตามทฤษฎี polyvagal theory (4)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา