24 พ.ย. 2019 เวลา 11:33 • การศึกษา
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! Café Amazon
หากพูดถึงร้านกาแฟ Cafe Amazon เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะเป็นแบรนด์กาแฟของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งแต่ก่อนเราจะเห็นเฉพาะในปั้มน้ำมันปตท.เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถเปิดร้านนอกปั้มน้ำมันได้แล้ว ปัจจุบันร้านกาแฟ Café Amazon (คาเฟ่ อเมซอน) ได้รับความนิยม และเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆ คน และในวันนี้ "คุณรู้หรือไม่" จะพาคุณไปพบกับ 10 เรื่องจริงของ Café Amazon (คาเฟ่ อเมซอน) ที่คุณอาจไม่เคยรู้
ทุกการ คอมเมนท์ กดไลค์ กดติดตาม อาจจะสร้างอนาคตไห้กับเด็กอย่างผมก็ได้ครับ
1. Café Amazon เกิด 2545
เข้าตลาดหุ้น 2562 ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอน ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2545 โดยผู้บริหาร ปตท. เห็นถึงโอกาสในการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จึงได้วางแนวคิดให้เป็นธุรกิจหนึ่งในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่สร้างรายได้ให้กับสถานีฯ และตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคและคนเดินทางได้มากขึ้น ปัจจุบันคาเฟ่อเมซอนดำเนินกิจการภายใต้ ‘บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)’ หรือ PTTOR โดยมี ปตท. ถือหุ้นใหญ่อยู่ และ PTTOR มีแผนจะเข้าตลาดหลักทรัพย์เร็วๆ นี้ คาดว่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้หรือต้นปี 2562
3
2. Café Amazon ได้แนวคิดมาจากบราซิล
1
การสร้างแบรนด์ Cafe Amazon เริ่มต้นจากแนวความคิดที่ว่า ประเทศบราซิลซึ่งเป็นต้นตำรับกาแฟ และดินแดนแห่งนี้มีป่า Amazon อันเป็นสุดยอดแห่งป่าดงดิบธรรมชาติของโลก ที่อุดมไปด้วยเสน่ห์ของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ทั้งพืชพรรณแมกไม้ สายน้ำ สัตว์ป่านานาชนิด และยังเป็นแหล่งผลิตอากาศอันบริสุทธิ์ แนวความคิดนี้จึงถูกนำมาเพื่อสร้างสรรค์เป็นร้านกาแฟที่มีบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบายด้วยร่มไม้และน้ำล้อมรอบ
3. Café Amazon มีจำนวนสาขามากที่สุดในอาเซียน
1
Café Amazon มีจำนวนมากกว่า 2,600 สาขา ทั้งที่ตั้งอยู่ทั้งในและนอกสถานีน้ำมัน ปตท. โดยมีร้านในประเทศ 2,405 สาขา และต่างประเทศมากกว่า 200 สาขา ได้แก่ ประเทศกัมพูชา 150 สาขา ประเทศลาว 51 สาขา ประเทศพม่า 4 สาขา ประเทศฟิลิปปินส์ 8 สาขา ประเทศญี่ปุ่น 2 สาขา และประเทศโอมาน 1 สาขาโดยร้านที่เป็นของ ปตท. ประมาณร้อยละ 10 ที่เหลือเป็นการบริหารแบบแฟรนไชส์ ซึ่งนับเป็นแบรนด์ร้านกาแฟสด ที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. Café Amazon เริ่มแรกขายได้ไม่ถึง 20 แก้วต่อสาขา
Amazon เริ่มต้นแรกๆ ยอดขายไม่ถึง 20 แก้วต่อสาขา โดยเจ้าของปั๊มน้ำมันต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง แต่ถ้าเป็นนอกปั๊มบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถซื้อแฟรนไชส์ได้เลย
5. Café Amazon ในกัมพูชาขายดีจนโดนก็อป
ในช่วงปี 2560 ได้มีร้านกาแฟแห่งหนึ่งในประเทศกัมพูชา ได้ลอกเลียนแบบร้านกาแฟ Café Amazon ของกลุ่มปตท.โดยลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า Café Amazon ร้านกาแฟ เครื่องแต่งกาย และแม้แต่เมนู จึงขอให้ดำเนินการปรับเปลี่ยน ซึ่งร้านกาแฟดังกล่าวก็ยอมรับผิด โดยปรับเปลี่ยนโลโก้จาก Café Amazing มาเป็น Amazing Café ซึ่งก็ยังคล้ายคลึงกับโลโก้ Café Amazon อยู่ดี ดังนั้นจึงให้ทางสำนักงานกฎหมายไปดำเนินการต่อไป ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนดำเนินการอยู่
4
6. Café Amazon ขายได้มากที่สุดในกัมพูชา
ร้านกาแฟ Café Amazon ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในกัมพูชาเป็นอย่างมาก จนมีสาขากว่า 150 แห่ง อีกทั้งยังมีสาขาที่สามารถทำยอดขายเฉลี่ยสูงสุดต่อวันถึง 1.3-1.4 พันแก้ว สูงกว่ายอดขายในประเทศไทย
7. Café Amazon ซื้อเมล็ดกาแฟจากโครงการหลวงและเกษตรกรไทย
Café Amazon คัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพจากโครงการหลวง จึงเป็นที่มาของวัตถุดิบ-กำลังโรงคั่วกาแฟนั้น คาเฟ่ อเมซอนเป็นธุรกิจครบวงจรต้นน้ำไปเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมการปลูกกาแฟ โดยร่วมกับโครงการหลวงส่งเสริมเกษตรกร รวมไปถึงมีคาเฟ่ อเมซอนมีโรงคั่วกาแฟอยู่ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เน้นคุณภาพ และมาตรฐาน โดยใช้เทคโนโลยีจากเยอรมนีและกำลังเพิ่มเติมทำศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจกาแฟ Amazon Inspiring Campus: AICA โดยเริ่มจาก ปตท. รับซื้อเมล็ดกาแฟคุณภาพจาก “โครงการซื้อขายเมล็ดกาแฟดิบ” ของมูลนิธิโครงการหลวงและปตท. รวมกว่า 630 ตัน นำมาผลิตเป็นกาแฟคั่วบดคุณภาพสูงเพื่อใช้ในร้าน Café Amazon ทั้งในและต่างประเทศกว่า 2,600 สาขา และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเป็นเจ้าของร้าน ฝึกอาชีพbarista จนวันนี้เราสร้าง Barista ไปแล้วกว่า 10,000 ราย
2
8. เปิดร้านกาแฟ Café Amazon ใช้งบไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท
หากใครจะเปิดร้านคาเฟ่อเมซอนได้นั้น ต้องใช้เงินเริ่มต้นจำนวนเท่าไหร่กัน จากข้อมูลของคาเฟ่อเมซอน บอกว่า ร้านนั้นจะมี 2 รูปแบบ คือ ในอาคาร (Shop) และนอกอาคาร (Stand Alone) โดยเงินลงทุนที่ใช้ในการเปิดร้านคาเฟ่อเมซอนทั้ง 2 รูปแบบ แตกต่างกันมาก หากเป็นในอาคารที่มีขนาด (ร้าน) 40 ตารางเมตรขึ้นไป มีการคำนวณค่าใช้จ่ายออกมา จะต้องใช้เงินระหว่าง 2,389,000 – 3,729,000 บาท ส่วนหากเป็นนอกอาคาร ค่าใช้จ่ายจะอยู่ระหว่าง 2,689,000 – 4,229,000 บาท เงินที่ต้องจ่ายของสาขาทั้ง 2 รูปแบบนี้ ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง งานตกแต่ง งานระบบ ค่าออกแบบ อุปกรณ์ภายในร้าน และยังมีค่าประกันแบรนด์ ค่า Franchise Fee หลังการเปิดร้านแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายทางด้าน ค่า Royalty Fee + ค่า Marketing Fee 3% + 3% ของยอดขายต่อเดือน ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (Pos) 24,000 บาทต่อปี มีอายุสัญญา 6 ปี Renovate ร้านทุก 3 ปี
9. คนสมัครซื้อแฟรนไชส์ Cafe Amazon กว่า 400 ใบสมัครต่อเดือน
1
ต้องยอมรับว่าร้านกาแฟ Cafe Amazon ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้คนสนใจซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Cafe Amazon จำนนมาก ใครสนใจจริงๆ ต้องรีบหน่อย เพราะปัจจุบันมีผู้สนใจจำนวนมาก โดยมีผู้สมัครเข้าไปกว่า 400 ใบสมัครต่อเดือน จึงทำให้บางครั้งอาจจะต้องรอคิวนานหน่อย เพราะแบรนด์เป็นที่นิยมในตลาด
3
10. ปี 61 Cafe Amazon มีรายได้ 12,820 ล้านบาท จากกาแฟ 180 ล้านแก้ว
รายได้คาเฟ่อเมซอน พบว่า ในปี 2557 มีรายได้รวม 3,500 ล้านบาท, ปี 2558 รายได้เพิ่มเป็น 5,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.28%,ปี 2559 รายได้ 8,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.14%, ปี 2560 รายได้ขึ้นมาเป็น 10,256 ล้านบาท หรือคิดเป็น 28% ปี 2561 คาดว่ารายได้จะเติบโตขึ้นอีก 25% คิดเป็นรายได้ 12,820 ล้านบาท จากยอดขายกว่า 180 ล้านแก้ว และในปี 2565 ปตท.ตั้งเป้าหมายมีร้านกาแฟทั้งหมดกว่า 4,000 แห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1
ทั้งหมดเป็นเรื่องราวของร้านกาแฟ Café Amazon ที่หลายๆ คนอาจไม่รู้มาก่อน ขณะเดียวกันในปัจจุบันร้าน Café Amazon เปิดบริการให้ลูกค้าฝากเงินสดในร้านกาแฟแล้ว โดยบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือพีทีทีโออาร์ เปิดเผยว่า พีทีทีโออาร์ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย เปิดให้บริการรับฝากเงิน “เคแบงก์ เซอร์วิส” (KBank Service) ที่ร้านคาเฟ่ อเมซอน ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนธนาคารรับฝากเงินเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย นับเป็นการให้บริการฝากเงินในร้านกาแฟเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่สาขาพีทีที สเตชั่น (เอกมัย-รามอินทรา) ฝากเงินสดสูงสุด 5,000 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 40,000 บาทต่อวัน มีค่าธรรมเนียม 20 บาทต่อรายการ
โฆษณา