25 พ.ย. 2019 เวลา 05:01 • ครอบครัว & เด็ก
อยากเขียนอะไรสักอย่าง(4)♦
เรื่อง การคลอดเด็ก(ธรรมชาติ)
-เป็นเหตุการณ์ปกติที่เกิดขึ้นในแต่ละครอบครัว
-ผู้หญิงจะเป็นคนอุ้มท้องซึ่งมีตัวอ่อนที่ค่อยๆเติบโตในมดลูกของเธอ
-มีการเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกายและจิตใจที่ผู้หญิงคนหนึ่งต้องเผชิญ บางคนอยากจะวางแผนไว้ บางคนอยากจะไม่ได้วางแผน มีความรู้สึกหลากหลายเกิดขึ้น ดีใจ เสียใจ กังวล เครียด ขึ้นอยู่กับทัศนคติของแม่เองและคนข้างกาย ครอบครัวที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นที่ให้คุณแม่ได้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ♠
-การฝากครรภ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการคลอดอย่างมีคุณภาพ☺♥
-การมีส่วนรวมของครอบครัว คนใกล้ชิดเป็นส่วนหนึ่งของการคลอดอย่างมีคุณภาพ
-ระหว่างตั้งครรภ์ แม่ควรรับประทานอาหารตามความเหมาะสม และปฎิบัติตามคำแนะนำของหนังสือบันทึกสุขแม่และเด็ก(เล่มสีชมพู) ภาวะตั้งครรภ์อาจเป็นภาวะที่เสี่ยงแต่ชีวิตทั้งแม่และลูก
-เจ็บครรภ์เตือนและเจ็บครรภ์จริง เกิดจากการหดตัวของมดลูก เรียก ท้องแข็ง ถ้าเอามือคลำจะรู้สึกแข็งท้องไม่นุ่มเหมือนปกติ
-เจ็บครรภ์เตือนก็แค่เตือนค่ะ ยังไม่ถึงเวลาคลอดจริง เตือนให้รู้ว่า ใกล้จะคลอดแล้วนะ
-ส่วนเจ็บครรภ์จริง ก็คือใกล้จะคลอดแล้ว ขณะเดียวกันปากมดลูกก็จะค่อยๆเปิดจนถึง 10 เซนติเมตร
-ถุงน้ำคร่ำที่คอยดูแลเด็กทารกในครรภ์อาจแตกหรือรั่วได้ตลอดเวลา หรือที่เขาเรียกอาการนี้ว่า น้ำเดิน ลักษณะปกติเป็นของเหลวใส อั้นไว้ไม่ได้ ยิ่งไอยิ่งไหลออกมา มาโรงพยาบาลได้เลยค่ะ
-ระยะการคลอดที่ 1 คือตั้งแต่เจ็บครรภ์จริงจนถึงปากมดลูกเปิดถึง 10 เซนติเมตร คุณแม่จะต้องทนกับความเจ็บเรื่อยๆ ตามจังหวะของการหดตัวของมดลูก ครอบครัวสามารถอยู่เป็นกำลังใจ ระยะนี้ปกติไม่เกิน 24 ชั่วโมง
-ระยะการคลอดที่ 2 คือหลังจากปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร จนถึงการคลอดทารก แม่จะมีแรงเบ่งช่วยให้ทารกออกมา จะมีการเชียร์เบ่งตลอดในระยะนี้ ปกติใช้เวลาประมาณไม่เกิน 2 ชั่วโมงในท้องแรก ไม่เกิน 1 ชั่วโมงในท้องที่สองหรือเคยคลอดมาแล้ว
-ระยะการคลอดที่ 3 คือหลังจากการคลอดตัวทารก จนถึงการคลอดของรกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทารกทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหาร ออกซิเจนระหว่างมารดาและลูก ผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ ระยะนี้ปกติใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที ถ้าเกินกว่าเสี่ยงที่จะตกเลือดหลังคลอดซึ่งอันตรายถึงขึ้นเสียชีวิตได้
-ระยะการคลอดที่ 4 ระยะเฝ้าระวัง ระยะนี้ 2 ชั่วโมงหลังจากการคลอดรก ต้องให้ยาที่ช่วยในการบีบตัวของมดลูกและนวดมดลูกจนกว่าจะเป็นลูกกลมแข็งโป้ก สังเกตเลือดออกทางช่องคลอด ให้แม่ขับปัสสาวะด้วยตัวเอง และล้างทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์เพื่อป้องการการติดเชื้อ มีการนำลูกมาซบแนบเนื้อกับคุณแม่ ทารกบางคน สามารถนมทันทีได้เลยหลังคลอด
-สุดท้ายนี้ แค่อยากเขียนแบ่งปันความรู้ส่วนหนึ่งที่ได้มาจากการฝึกปฎิบัติที่ห้องคลอด ตาต้าสัมผัสได้ว่า แต่ละช่วงของการคลอดเป็นช่วงเวลาที่พิเศษที่ครอบครัวจะได้เจอหน้าสมาชิกใหม่ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า
ค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา