1 ธ.ค. 2019 เวลา 01:28 • การศึกษา
"8 นิสัย ที่ทำให้แต่ละชนชาติมีความแตกต่างกัน" ตอนที่ 1 ...
Masai, Kenya- New York, USA-Taj Mahal, India- Kyoto, Japan
การเดินทางของผม รวมถึงการงานส่วนตัวที่ทำให้ผมได้มีโอกาสได้ติดต่อพูดคุยกับคนต่างชาติต่างภาษา และต่างวัฒนธรรม...
นั่นก็ทำให้ผมสังเกตถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมของคนแต่ละชาติ และหลายครั้งความไม่เข้าใจถึงความแตกต่างนี้ก็อาจทำให้เราถึงกับเข้าใจผิดกันได้และก่อให้เกิดปัญหาเลยทีเดียว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราต้องไปทำงานที่ต้องติดต่อสื่อสาร หรือไปเที่ยวแบบคนเดียวด้วยตัวเอง...
ตัวอย่างเช่นเมื่อหลายปีก่อนผมได้คุยงานกับเพื่อนชาวอังกฤษ เพื่อนำเสนอความคิดเห็นของผมให้เขาเห็นด้วย...
Big Ben, UK
ผม "That is all my proposal, what do you think?"- "ทั้งหมดคือข้อเสนอของผม คุณคิดว่าไง"
ฝรั่งอังกฤษ "It is interesting!!"- ????
ผมนี่ดีใจใหญ่เลยครับ เพราะผมเข้าใจว่าเขาสนใจในแผนงานของผม... แต่หลายอาทิตย์ผ่านไปผมก็ได้ติดตามผลอีกรอบเพราะฝรั่งคนนั้นหายไปเลย...
ผม "Hi Nick, Could I follow up my proposal that you were also interested"
ฝรั่งอังกฤษ "Oh!! I am sorry.... I actually meant, I don't think the proposal is that good!!"
คือผมถามเขาว่า "ขอตามผมของข้อเสนอหน่อย ข้อเสนอที่คุณก็สนใจไง"...
ฝรั่งก็ตอบทันที "โอ ขอโทษ!! จริงๆแล้ว ฉันหมายถึงฉันไม่คิดว่านั่นเป็ขอเสนอที่ดี"😢😢😢
Bamberg, Germany
คือถ้าผมคุยกับคนเยอรมัน ผลลัพท์น่าจะเป็นดังนี้...
ผม " That is all my proposal, what do you think?" -"ทั้งหมดคือข้อเสนอของผม คุณคิดว่าไง"
ฝรั่งเยอรมัน "Oh No No!!... that is bullshit idea!!" - "โอ ไม่ ไม่เลย มันคือข้อเสนอที่ห่วยมากๆ"
นั่นก็เพราะสังคมคนอังกฤษจะค่อนข้างระวังในการตอบที่เป็นลบมากกว่า ซึ่งทำให้เขาใช้คำศัพท์ที่ไม่ตรงไปตรงมา เพราะไม่อยากทำร้ายความรู้สึกผู้ร่วมสนทนา
และบางคำศัพท์อาจมีความหมายตรงข้ามกับความของคำนั้น อย่างเช่น "It is interesting" ซึ่งปกติก็หมายถึง น่าสนใจ
แต่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง "น่าสนใจ" แต่กลับหมายถึง "น่าสงสัย".... ซึ่งจริงๆ แล้วคือไม่เห็นด้วย...
ในทางกลับกันคนเยอรมันเป็นคนค่อนข้างตรงไปตรงมาและรับได้กับการตอบเชิงลบ นั่นก็จะทำให้บางครั้ง..คำตอบก็บาดหูและความรู้สึกได้ครับ... และคนเยอรมันจะไม่ใช้คำกำกวมแบบคนอังกฤษ...
Karlstejn, Czech and Edoland, Japan
ครั้งหนึ่งเพื่อนชาวเช็ก (Czech) ของผม ได้โทรมาขอให้ผมช่วยคุยกับลูกค้าญี่ปุ่นของเขา เพราะเขาอยากทำความเข้าใจหน่อยว่า...
หลังการประชุมทุกอย่างเหมือนน่าจะเห็นด้วยกับข้อตกลง แต่สุดท้ายลูกค้าญี่ปุ่นกลับเขียนอีเมล์มาปฏิเสธในภายหลัง.. โดยเนื้อหามีดังนี้...
เพื่อนชาวเช็ก "Hope do you agree with our offer?" - "หวังว่าคุณจะเห็นด้วยกับข้อเสนอของเรา:
ลูกค้าชาวญี่ปุ่น "Hi!! Yes!! We are considering" -"ใช่ เรากำลังพิจราณา"
สรุปว่าคนเช็กเข้าใจไปเองว่าคนญี่ปุ่นเกือบจะตกลงแล้วเพราะตอบว่า "ใช่ กำลังพิจารณา" ซึ่งการตอบแบบนี้ในสังคมยุโรปตะวันออกก็มักจะมีแนวโน้มไปทางตกลงแล้ว แค่รอ Final Confirm...
แต่คนญี่ปุ่นถือว่าคำตอบนี้คือ "รับทราบ ผมรับทราบขอเสนอ" คือเป็นเพียงการรับทราบข้อเสนอเท่านั้นและยังไม่ได้ตัดสินใจใดๆ ทั้งสิ้น...
Dali, China and Quebec city, Canada
เพื่อนชาวจีนผมคนหนึ่งมาบ่นผมว่าหัวหน้าชาวแคนาดาของเขา ช่างไม่มีมารยาทและไม่มีน้ำใจเอาเสียเลย โดยเขาเล่าว่า
หัวหน้าชาวแคนาดาถามว่า "Are you free on this weekend? I need your help to do urgent job"- "คุณว่างหรือไม่?? วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ ผมมีงานด่วนให้คุณช่วย"
เพื่อนชาวจีนตอบว่า " Yes, it is ok... this weekend is my son birthday..but it is ok" - "ได้ ผมโอเค เออ..วันหยุดนี้วันเกิดลูกชายผม แต่ผมทำได้"
หัวหน้าชาวแคนาดาก็เลยตอบว่า "Good...Ok Thank you so... job is ..แล้วหัวหน้าก็สั่งงาน"
เพื่อนผมโกรธหัวหน้าเขามากเลย เพราะเขารู้สึกว่าหัวหน้าเขาไม่เเคร์ความรู้สึกเขาเลยว่าเป็นวันเกิดลูกชายของเขา และยังให้งานอีก...
1
นั่นก็เพราะคนแคนาดาเขาไม่เข้าใจว่า คนจีนพยายามจะสื่อว่าไม่ว่าง แต่ไม่ยากปฏิเสธตรงๆ...
หนังสือเรื่อง Culture Map ของ Erin Meyer
ทั้งสามตัวอย่างของผมก็กระจ่างขึ้น เมื่อผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเรื่อง Culture Map ของ Erin Meyer ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒรธรรมที่แตกต่าง (Cross-Cultural Management)
Erin ได้อธิบายได้กระจ่างและเข้าใจง่ายเลยทีเดียว โดย Erin ได้แบ่งนิสัยคนในวัฒนธรรมของชาติต่างๆเป็น 8 นิสัย และได้จัดอันดับของลักษณะนิสัยของชาติต่างๆ บน Scale ของแต่ละนิสัยนั้นๆ
นิสัยที่ 1 : การสื่อสาร (Communication)
Erin ได้อธิบายว่านิสัยการสื่อสารของแต่ละชนชาติแบ่งออกเป็น "High Context (บริบทสูง)" ซึ่งหมายถึงการสื่อสารที่มีความซับซ้อนรวมถึงมีรายละเอียดของเนื้อหาการสื่อสารที่มาก และการสื่อสารนั้นอาจจะออกมาจากความรู้สึก สีหน้า โดยที่ไม่ได้พูดออกมาด้วยซ้ำในหลายๆครั้ง
"นั่นก็คือไม่พูดออกมาตรงๆ"
นิสัยที่ 1 การสื่อสาร
ส่วนอีกด้านหนึ่งของ Scale ก็คือ Low Context (บริบทน้อย) ซึ่งก็คือการสื่อสารที่มีความตรงไปตรงมา คิดอย่างไรคิดอย่างงั้นไม่อ้อมค้อม
และถ้าดูจาก Scale ก็จะเห็นว่า ไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี นี่ก็จะมีวัฒนธรรมการสื่อสารแบบ High Context ส่วนพวกชาติอาหรับ อาฟริกา และยุโรปใต้ ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ จนประเทศอย่างอเมริกาหรือออสเตรเลียจะเป็น Low Context เลย
จากตัวอย่างด้านบนก็จะเห็นว่า ทั้งจีนและญี่ปุ่นนั้นจะมีการสื่อสารที่ซับซ้อนและไม่ค่อยพูดตรงๆ ซึ่งก็เลยทำให้ชาวแคนาดาและชาวเช็กไม่เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น และเกิดความล้มเหลวในการเจรจา..
ที่มาของความแตกต่างของ High และ Low Context ก็เกิดจากผลพวงทางประวัติศาสตร์และสังคม... ซึ่งผมอธิบายในตอนต่อๆไปครับ
นิสัยที่ 2 : การตอบความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Feedback)
นิสัยที่ 2
จากเรื่องเเรกก็จะเห็นว่าคนอังกฤษเมื่อต้องแสดงความคิดเห็นเชิงลบนั้น คนอังกฤษจะพูดอ้อมค้อมกว่าคนเยอรมันจาก scale นี้ เนื่องจากคนอังกฤษเองก็ไม่ชอบที่จะได้รับข้อเสนอเเนะที่บาดหู หรือข้อเสนอแนะเชิงลบแบบตรงเกินไป..
ส่วนคนไทยนั้น จากการศึกษาพบว่าเป็นชนชาติที่ไม่ชอบ "การเสียหน้า" มากที่สุดชาติหนึ่งของโลก
นั่นก็ทำให้คนไทยก็จะทั้งไม่แสดงความคิดเห็นเชิงลบแบบตรงไปตรงมา และก็ไม่ชอบรับความคิดเห็นเชิงลบแบบตรงไปตรงมาเช่นกัน...
ซึ่งดูจาก scale เราจะอยู่ฝั่ง "ความคิดเห็นเชิงลบแบบอ้อม (Indirect Negative Feedback)" แบบขวาสุดเลย😮😮.. คือชาติเราไม่ชอบเสียหน้าครับ
ฝรั่งหลายชาติที่มีโอกาสได้ทำงานกับคนไทย มักจะถามผมว่าทำไมคนไทยถ้าไม่เห็นด้วย...คนส่วนใหญ่ก็มักจะเงียบหรือยิ้มแปลกๆ....และฝรั่งก็ไม่เข้าใจว่าคนไทยจะเอาอะไร!!
สังขละบุรี, Thailand
นั่นก็เพราะคนไทยเป็นทั้ง High context Communication และ Indirect Negative Feedback ซึ่งทำให้คนต่างชาติที่มาจาก Low Context และ direct negative feedback อย่างเยอรมัน อเมริกา และเเคนาดา ก็มักจะพบว่ามีปัญหามาทำงานกับคนไทยเป็นอย่างมากครับ
ซับซ้อนมั๊ยครับ กับแค่สองนิสัย.....😁😁😁.
ฝากตอนต่อไปด้วยนะครับ
#wornstory
โฆษณา