3 ธ.ค. 2019 เวลา 11:53
แบงค์ชาติลดดอกเบี้ยได้อีกเท่าไหร่..??
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่า และเศรษฐกิจที่ชะลอของประเทศไทย คือเหตุผลที่ กนง.ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ย
ขณะที่ปัจจุบันดอกเบี้นนโยบาย 1.25% คืออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์และต่ำสุดในรอบ 10 ปีแล้ว
prachachat.net
คำถามก็คือ ถ้าเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยเพิ่มอีกไหม..??
ดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยสามารถติดลบได้หรือไม่..??
วันนี้เรามาวิเคราะห์กันครับ..!!
เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า : K-Research
GDP ไทยไตรมาส 3 ยังขยายตัวต่ำ : Tradingeconomics
ปกติแล้วธนาคารกลางของแต่ละประเทศมักจะใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นตัวชี้วัด ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยหรือลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อไปถึงกรอบเป้าหมายที่ตัวเองได้วางไว้
2
ซึ่งปี 2020 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของประเทศไทย ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้จะอยู่ในระดับต่ำต่อไปที่ 0.8% ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปัจจุบันอยู่ที่ 1.25 - 0.80 = 0.45%
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงคืออะไร..??
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ (Nominal Interest Rate) หักด้วยอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate)
เช่นฝากเงินไว้กับธนาคารได้ดอกเบี้ย 2% ต่อปี หากอัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 3% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเท่ากับ 2% - 3% = -1%
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ 1% สะท้อนกำลังซื้อจะลดลง ยกตัวอย่างเช่น ต้องการซื้อสินค้าราคา 10,000 บาทตอนต้นปี ถ้านำเงิน 10,000 นั้นมาฝากธนาคารไว้ก่อน ได้รับดอกเบี้ย 2% พอถึงสิ้นปีเงินฝากนี้ก็จะเพิ่มเป็น 10,200 บาท
1
แต่ถ้าหากราคาสินค้าเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อที่ 3% เป็น 10,300 บาท เงินออมที่มีก็จะไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าชิ้นนี้
Bloomberg
จากเหตุผลนี้เอง จึงทำให้โอกาสที่แบงค์ชาติ จะสามารถลดดอกเบี้ยลงไปได้อีก เต็มที่ก็ไม่น่าจะเกิน 0.50% หรืออีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่เป็นไปได้ในปี 2020 จะอยู่ระหว่าง 0.75 - 1.00%
ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงอยู่ในแดนบวกอยู่ (ในที่นี้ผมใช้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี แทนดอกเบี้ยนโยบาย แล้วลบด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ 0.80%)
เพราะถ้าหากแบงค์ชาติลดดอกเบี้ยลงไปมากกว่านี้ จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำกว่าศูนย์ ซึ่งเป็นระดับที่ผลตอบแทนของเงินฝากธนาคารไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้อีกต่อไป
ผมคิดว่ากรณีนี้คงจะไม่เกิดขึ้น และคงไม่ถึงขั้นดอกเบี้ยนโยบายติดลบเหมือนกับประเทศญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป
Bloomberg
และถ้าเรามาดูในช่วงที่ประเทศอินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ (กลุ่ม TIP) ขึ้นดอกเบี้ยในปี 2018 จะเห็นได้ชัดเลยว่า ตอนที่ประเทศอื่นทั่วโลกขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐฯในอัตราเร่ง ประเทศไทยขึ้นดอกเบี้ยไปแค่เพียงครั้งเดียว 0.25% ในเดือน ธ.ค.2018
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แบงค์ชาติเหลือพื้นที่ในการดำเนินนโยบายน้อยกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน
รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ของไทย ก็ยังอยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค
ThaiBMA
และนี่ก็คือความน่าจะเป็นในการลดดอกเบี้ยของแบงค์ชาติปี 2020 หวังว่าจะเป็นไอเดียให้กับเพื่อนๆได้เตรียมตัวกับยุคที่ดอกเบี้ยต่ำติดดินแบบนี้นะครับ
ถ้าชอบ กด like & share  และอย่าลืม กดติดตาม เป็นกำลังใจให้ผมเขียนบทความต่อๆไปด้วยนะครับ : )
โฆษณา