30 พ.ย. 2019 เวลา 03:18 • ศิลปะ & ออกแบบ
รู้ไหม ของเสียของเราไปไหน ?
เคยรู้ไหมครับว่า สิ่งที่เราปลดปล่อยออกมาในห้องแห่งความสุขนั้น มันไปอยู่ไหน ??
ทำไมบางบ้าน ไปแล้วไปลับ
บางบ้านกลับไม่ยอมไป แต่เอ่อล้นกลับมา
หรือบางบ้าน มาแบบไม่เห็นตัว มีแต่กลิ่นลอยมา
บรื้ยยยย...
*คำเตือน อย่าอ่านบทความนี้ตอนทานอาหาร มิฉะนั้น .. 555
บทนี้ไม่มี spoil มีแต่ smell นะครับ
(ไม่เชื่อ ก็ตามกลิ่นมาครับ😥😥)
การจัดการของเสียของอาคาร ถ้าเรียกให้เป็นทางการหน่อย เราจะเรียกว่า
ระบบบำบัดน้ำเสีย
ดูจากชื่อแล้วจะเห็นนะครับว่า เป็นการบำบัด ไม่ใช่กำจัด
เพราะเรื่องแบบนี้ ถึงแม้เราอยากจะกำจัดให้พ้นตัวเราแค่ไหน ก็คงไม่มีใครยอมรับกันง่ายๆ ถ้าเราไม่บำบัดให้มันเบาบางเสียก่อน
ระบบมันแยกเป็น 3 รูปแบบ จากง่ายไปยากตามนี้ครับ
๏ แบบบ่อเกรอะบ่อซึม
ถ้าบ้านใครที่อยู่ตามท้องทุ่ง น่าจะคุ้นเคยระบบนี้อยู่บ้าง เพราะระบบนี้ส่วนมากจะทำแบบ D.I.Y. จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่จัดการแก้ปัญหากันเอง
ส่วนมากจะใช้ท่อซีเมนต์มาทำเป็นบ่อเกรอะที่รับของเสียจากโถส้วมในห้องน้ำ โดยแนวคิดคือ เป็นบ่อรับกากของเสีย เมื่อเวลาผ่านไป กากที่หนักจะจมลง น้ำที่เอ่อขึ้นมาจะล้นไปตามท่อเข้าบ่อซีเมนต์ที่ 2 ที่เรียก "บ่อซึม" ซึ่งเป็นบ่อที่เจาะรูไว้จนพรุน ให้น้ำซึมลงดิน พืชผักแถวนั้นก็จะงามน่ากิน
บ้านไหน คนเยอะก็อาจจะมี 3 บ่อ คือ บ่อเกรอะ 2 บ่อซึม 1 ก็ได้
ระบบนี้เป็นระบบบ้านๆ ก็อาจมีปัญหาแบบบ้านๆ ตามมา เช่น
หน้าฝน ดินชุ่มน้ำ น้ำในบ่อแทนที่จะซึมลงดินกลับเป็นบ่อรับน้ำ พาน้ำย้อนกลับเข้ามา
ส้วมก็จะกดไม่ลง ต้องเรียกรถฉุกเฉินสีทองมาให้บริการดูดออก
หรือ ถ้าบ่อมีร่องมีรู งูเงี้ยวเขี้ยวขอก็จะมุดเล็ดลอดเข้ามาแล้วย้อนรอยมาจ๊ะเอ๋กับเราที่โถส้วมได้โดยง่าย
ดังนั้น เพื่อให้เป็นห้องแห่งความสุขจริงๆ เราจึงมีระบบที่พัฒนาขึ้นมาอีก คือ
1
๏ ระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
1
หรือที่เราบางคนเรียกว่า "ถังแซท" (จริงๆคำว่า"แซท" นั้นเป็นชื่อยี่ห้อนะครับ เหมือนที่เรามักจะเรียกผงซักฟอกว่า "แฟ้บ")
ถังแบบนี้ เป็นถังที่มีแบคทีเรียซึ่งจะคอยกินกากของเสียอยู่ภายใน เกือบจะเป็นระบบปิดที่กลิ่นแทบจะไม่เล็ดลอดออกมา เอ๊ะ! แล้วแบคทีเรียข้างในทำไมอยู่ได้ ก็เพราะเป็นแบคทีเรียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็ยังชีพอยู่ได้ (สิ่งมหัศจรรย์อยู่หลังโถส้วมเรานี่เอง)
1
ถังแบบนี้จะเป็นถังใบเดียว มีส่วนแยกกากกันไว้ให้แบคทีเรียหม่ำ ส่วนน้ำที่ผ่านกระบวนการจนสะอาดขึ้น จะออกจากบ่อไหลไปตามท่อ เข้าบ่อระบายน้ำทิ้งไปลงบ่อสาธารณะหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ได้โดยไม่มีใครเคือง
ระบบนี้มาแก้ปัญหา ระบบบ่อเกรอะบ่อซึมข้างต้นครับ
ยังครับ ยังมีอีกระบบ
ถ้าเป็นอาคารขนาดใหญ่ขึ้น เช่น บ้านหลังใหญ่มว๊าก หรือเป็น หอพัก เป็นอพาร์เม้นท์
แบคทีเรียที่แนะนำตัวไปเมื่อกี้ สู้ไม่ไหว จะต้องขอเปลี่ยนตัวเป็นระบบที่ 3 คือ
1
๏ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ
ระบบนี้หลักการก็เหมือนระบบที่สอง
แต่ถังใหญ่ขึ้นและขอเปลี่ยนตัวแบคทีเรียเป็นชนิดที่ใช้อากาศตามชื่อเลยครับ
ดังนั้นสิ่งที่จะตามมาคือ ระบบเติมอากาศ พูดให้ง่ายๆ ก็เหมือนระบบเติมออกซิเจนให้ตู้ปลานั่นแหละ เราต้องเตรียมงานไฟฟ้ามาเพิ่มเพื่อใช้กับเครื่องเติมอากาศ
เป็นระบบที่เหมาะกับอาคารขนาดใหญ่เพื่อรองรับของเสียได้มากขึ้น
1
ถังสำเร็จรูปทั้งสองระบบมีหลายขนาดให้เลือก โดยดูจากปริมาณน้ำใช้ครับ
คราวที่แล้ว เราบอกกันว่า น้ำประปา เราจะคิดที่ 200 ลิตร/วัน/คน
น้ำเสีย เราจะคิดที่ 80% ของน้ำดีครับ
ยังครับ การบำบัดน้ำเสียยังไม่จบแค่นี้
ยังมีอีกเรื่องซึ่งสำคัญมากๆคือ เรื่อง
"กลิ่น"
เคยสังเกตไหมครับว่า บางครั้งบางสถานที่ เมื่อเรากดน้ำที่ชักโครก จะมีเสียงน้ำจากห้องน้ำอื่นตามมา และบางทีก็มีกลิ่นตามมาด้วย
นั่นเกิดจากอากาศที่สะสมอยู่ในท่อ เมื่อเรากดชักโครก น้ำจะลงไปไล่อากาศในท่อที่จะพยายามหาทางออกให้ได้
สุดท้ายก็จะไปออกที่สุขถัณฑ์ตัวอื่น ที่ท่อต่อเชื่อมกัน เกิดเป็นเรื่องน่าขนลุกขนพอง เพราะมาทั้งเสียงและกลิ่น โดยที่มองไม่เห็นตัว
วิธีแก้ก็คือ ขณะเดินท่อ ต้องอย่าลืมต่อท่ออากาศให้กับระบบท่อของเสียด้วย
ท่ออากาศนี้จะเป็นทางหนีให้กับอากาศที่ติดค้างอยู่ท่อ ยามเมื่อโดนน้ำไล่มา
ปลายของท่ออากาศ เราก็จะควรต่อไปปล่อยในจุดใต้ลมและที่ไม่ใกล้หน้าต่าง
และถ้าให้ดี ก็เอาตาข่ายกันแมลงปิดปลายไว้ ป้องกันแมลงหรือสัตว์ไม่พึงประสงค์ต่างๆ เดินทางย้อนท่อมาหาเราในบ้าน
เรื่องท่ออากาศนี้เป็นเรื่องสำคัญนะครับและเป็นเรื่องที่ผู้รับเหมาต่างๆมักจะละเลย
แค่นี้ก็ครบถ้วนกระบวนความ
เอาล่ะ เชิญทานอาหารต่อไปได้แล้วครับ 😅😅
*ยังมีเรื่องราวของบ้านอีกมากมายที่น่าสนใจ
ลองกดติดตามดูนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา