30 พ.ย. 2019 เวลา 06:52 • ปรัชญา
จานใหญ่อิ่มช้า จานเล็กอิ่มไว
เราทุกคนต่างใช้จานในขนาดที่ไม่เท่ากัน บางครั้งเราก็ใช้จานเล็ก แต่บางทีเราก็ใช้จานใหญ่
แรกๆตัวผมเองก็รู้สึกแบบเดียวกับคนทะวฟไปว่า "ก็ไม่เห็นจะมีอะไรนี่ กินได้เหมือนกันแถมจานใหญ่ทำให้ตักอาหารได้เยอะด้วย"
จนมีอยู่วันหนึ่ง ผมได้อ่านหนังสือเรื่อง"กฎการทำงานของ Google"ของ Laszlo Bock ที่เคยดำรงตำแหน่งรองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการบุคลากรที่ Google จนได้เจอบทความหนึ่งที่น่าในใจและอยากจะนำมาแบ่งปันให้ผู้อ่านทุกคนครับ
Laszlo Bock
มีอยู่วันหนึ่ง บริษัท Google ได้เล็งเห็นสุขภาพและพฤติกรรมการเกินของเหล่ากูเกอร์(พนักงาน) จึงได้มีการใช้กลยุทธ"สะกิด"พนักงานให้บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป(ที่Googleมีสวัสดิการอาหารฟรี)
Laszlo Bock จึงได้ศึกษาวิธีการต่างๆที่จะทำให้เหล่ากูเกอร์บริโภคอาหารได้น้อยลงและเขาก็ได้พบว่า ขนาดจานมีผลต่อพฤติกรรมการกินของมนุษย์
Laszo Bock ได้ทำการทดลองโดยเอาคนที่มีBMRและBMIที่ใกล้เคียงกันมากที่สุดมาทดลองโดยกินอาหารชนิดเดียวกันและขนาดเท่ากัน(แต่จานไม่เท่ากัน)
ปรากฎว่า คนที่ใช้ชามขนาดใหญ่กลับรู้สึกว่าตัวเองกินน้อยและอยากไปตักอาหารเพิ่ม แต่คนที่ใช้ชามเล็กกลับรู้สึกว่าอาหารในจายมีเยอะและกินไปได้ซักพักก็รู้สึกอิ่ม หลังจากนั้นกูเกอร์ก็เริ่มกินอาหารน้อยลงในขนาดจานที่เหมาะสม
อาหารขนาดเท่าเดิม(สีดำ)และขนาดของจาน(วงกลม)
ส่วนตัวของผมเองเป็นคนชอบกินและกินจุพอสมควร เห็นอะไรก็กินอร่อยหมด555(ลิ้นจระเข้ว่างั้นเหอะ)
ผมจึงได้ลองไปกินร้านอาหารในมหาวิทยาลัยที่luxury พอสมควร พออาหารมาเสิร์ฟปุ๊บผมก็รู้สคกทันทีเลยว่า "กุจะอิ่มไหมวะเนี่ยจานใหญ่เท่าหม้อแกงแต่อาหารอยู่ตรงกลางหย่อมเดียว😑"
ปรากฎว่า ไม่อิ่มเลยครับผม😔
วันตาอมาผมจึงได้ไปกินอาหารที่โรงอาหารปกติซึ่งให้อาหารมาในระดับที่คล้ายคลึงกับอาหารที่ผมได้กินเมื่อวาน ความรู้สึกแรกที่เข้ามาในหัวของผมก็คือ "มันมีปริมาณที่เยอะดีนะ ดูซิ เต็มจานเชียว😃"
ปรากฎว่า ผมกินอิ่มอยู่ได้ถึงเย็นโดยไม่ต้องกินขนมให้หายหิว แถมได้ประหยัดเงินด้วย😊
สรุปก็คือว่าขนาดจานมีผลต่อความคิดและความรู้สึกในสมองของเราและมันจะเป็นความจริงเมื่อเรารู้สึกแบบนั้นนั่นเองหรือเรียกสั้นๆว่า "จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" นั่นเองครับ
เพราะฉะนั้นเราก็ลองมาใล้จานที่มีขนาดเล็กและเหมาะสมเพื่อไม่ให้เเคลอรี่เกินโดยไม่รู้ตัวกันนะครับ😋😋
โฆษณา