2 ธ.ค. 2019 เวลา 12:07 • สุขภาพ
จอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration AMD)
จอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคของตาที่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาด้าน การมองเห็นในผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป แต่โดยทั่วไป มักเกิดในผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมของจอประสาทตา บริเวณที่สำคัญ ใกล้ศูนย์กลางจอประสาทตา เรียกว่า จุดกลางรับภาพ จอประสาทตา (macula) ซึ่งเป็ฯตำแหน่งที่สำคัญสำหรับการมองเห็นภาพให้ชัด และบริเวณตรงส่วนกลางของภาพ ปกติจอประสาทตาจะอยู่ด้านหลังของลูกตา
มีเซลจำนวนเป็นล้านๆ ทำหน้าที่ในการรับแสง แล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งไปตามเส้นประสาทตา เพื่อไปประมวลการมองเห็นโดยสมอง ส่วนของจุดกลางรับภาพ
จอประสาทตาจะเป็นส่วนที่ไวที่สุดจองจอประสาทตา ถ้าจุดรับภาพนี้เสีย จะทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด เห็นเหมือนมีจุดดำบังตรงกลางภาพเห็นภาพสีไม่สดใสหรือภาพบิดเบี้ยว
การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดจอประสาทตาเสื่อมถึง 2 เท่า ผู้ป่วยบางคนเกิดขึ้นช้า แต่บางรายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีปัญหาในการมองเห็น ของตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง โดยจอประสาทตาเสื่อม จะทำให้ศูนย์การมองเห็น บริเวณกลางภาพเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด
ระยะแรกของจอประสาทตาเสื่อม อาจจะไม่มีอาการ การวินิจฉัยทำได้ในกาณีที่มีการตรวจตาประจำปี จึงควรตรวจตาเป็นประจำ โดยบุคคลทั่วไป อายุระหว่าง 40-64 ปี ที่ไม่มีอาการผิดปกติในการมองเห็น ควรไดรับการตรวจสุขภาพตา ทุกๆ 2-4 ปี สำหรับคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจทุกๆ 1-2 ปี
การตรวจตาเพื่อวินิจฉัยโรคนี้ ในขั้นแรกจักษุแพทย์จะตรวจวัดการมองเห็น โดยขยายม่านตาเพื่อส่องดูจอประสาทตา จักษุแพทย์จะตรวจหาความผิดปกติของจอประสาทตา เพื่อดูขอบเขตความผิดปกติที่เกิดขึ้นเพื่อวางแผนการรักษา
การป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม ออกกำลังกายเป็นประจำ กินผักใบเขียวและปลา หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ควบคุมระดับความดันและไขมันในเลือด ตรวจสายตาเป็นระยะตามความเหมาะสม
ในระยะแรกไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผล สิ่งที่ควรกระทำ คือ ป้องกันการดำเนินโรคด้วยวิธีการปรับพฤติกรรมข้างต้นและตรวจตาเป็นระยะในระยะกลางและระยะที่เป็นรุนแรง มีการศึกษาว่าการใช้วิตามินและเกลือแร่บางชนิด จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคที่รุนแรงได้แต่ต้องในขนาดที่พอเหมาะ
การรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ มี 2 ชนิดคือเลเซอร์เย็นและเลเซอร์ร้อน นอกจากนั้นยังมีการรักษาด้วยการผ่าตัดแม้ว่าผลการผ่าตัดจะดี แต่คนไข้ก็จะมีการมองเห็นลดลงหลังการรักษา
ขอบคุณ
รศ.นพ วีรศักดิ์ เมืองไพศาล
โฆษณา