3 ธ.ค. 2019 เวลา 05:48 • การศึกษา
มีใครเคยได้ยิน กฎของ พาร์กินสัน บ้างรึเปล่าครับ
คิดว่าน่าจะมีน้อยคนที่รู้จัก
แต่เชื่อสิถ้าผมอธิบายไปทุกคนต้องอ๋อแน่ ๆ
วันนี้เรามาเปิดความรู้ใหม่กันครับ
Parkinson’s Law
เกิดมาจากนักประวัติศาสตร์และนักเขียนชาวอังกฤษชื่อ Cyril Northcote Parkinson ซึ่งเขียนไว้ใน The Economist ปี 1955
นิยามไว้ว่า “work expands so as to fill the time available for its completion.”
แปลเป็นไทยว่า "งานจะถูกขยายไปตามเวลาที่ยังมีอยู่"
อาจจะอ่านและยัง งง ๆ
ผมจะยกตัวอย่างให้ครับ
เช่น อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาไปทำให้เวลา 1 เดือน ทั้ง ๆ ที่การทำงานจริง 1-2 สัปดาห์ก็เสร็จ และผลสุดท้าย นักศึกษาก็ทำเสร็จช่วงท้ายๆ นั่น แหละ
หรือคนที่จะลดน้ำหนักเพื่อแต่งงาน ทั้ง ๆ ที่แพลนมาเป็นปี สุดท้ายก็มาลดตอนใกล้ ๆ นั่นหละ
นี่แหละครับคือสิ่งที่ Parkinson พูดถึง
เพราะช่วงที่เขาทำงานอยู่ เขาสังเกตเห็นได้ว่า การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพลดลง
เขาเลยทดลองมอบงานแบบเดิมและกำหนดเวลาให้สั้นลง สุดท้าย พนักงานก็ทำงานเสร็จในเวลาที่กำหนดอยู่ดี
กฎนี้สะท้อนให้เห็นอะไรหลาย ๆ อย่าง
เช่นแท้จริงแล้ว คนเรามักใช้เวลาทำงานจริงๆ แทบจะไม่ถึงครึ่งของกำหนดที่ได้มา
(ไม่ใช่ทุกงานนะครับ)
เพียงแต่ว่า เรามักเอาเวลาที่เหลือ ไปทำอย่างอื่นซะมากกว่า
เราคงสามารถนำกฎนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ในหลาย ๆ สถานการณ์ ทั้งในบทบาทหน้าที่ตัวเอง เจ้านาย หรือลูกน้อง
แล้วผู้อ่านมีความคิดเห็นไงยังกันบ้างครับ?
แลกเปลี่ยนกันได้ในคอมเมนท์นะครับ
อีกหนึ่งเรื่องที่ผู้เขียนเองประสบ กับ กฎนี้คือ เมื่อคืนผมป่วยครับ กลับบ้านปุ๊ปนอนปั๊ปและประจวบกับที่ไม่มีบทความ stock ไว้พอดี แต่ต้องลงนี่สิ
15 นาทีที่แล้วทำให้เกิดขึ้นมาครับกับบทความนี้
ไม่จวนก็ไม่เขียน แบบนี้ก็ไม่ดีนะครับ อย่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง อิอิ
ที่มา
โฆษณา