7 ธ.ค. 2019 เวลา 17:11 • ปรัชญา
"พระพุทธเจ้าคือ Startup Founder
ที่เก่งที่สุด" ตอนที่ 3
ความเดิมตอนที่แล้ว
หลังจากที่พระพุทธองค์ เมื่อทรงนั่งประทับแล้ว
จึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า หากไม่ได้ตรัสรู้
พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ต่อให้เลือดและเนื้อเหือดแห้งไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามที ก็จะไม่ยอมลุกจากบัลลังก์นี้เป็นอันขาด
1
( ซึ่งก็ไปตรงกับการตั้งเป้าหมายในยุคปัจจุบัน )
ด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นศาสดาเอกของโลก ซึ่งวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 6 ขณะที่มีพระชนมายุ 35 พรรษา
หลังจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้ว
ทรงเผยแผ่พระธรรมคำสอนอย่างไร
( ขอให้ตัดเรื่องอภินิหารออกไป )
มองเรื่องพระพุทธศาสนาของเรา
ในแบบ Realistic ( เหมือนจริง ) เท่านั้น
เราเห็นอะไร และเราเข้าใจเช่นไร
ก็คุยกันอย่างนั้น
สิ่งไหนมีประโยชน์ ก็น้อมนำมาประยุกต์ใช้
ในชีวิตของเราให้เกิดประโยชน์ที่สุด
หากต้องใช้ศัพท์ในยุคปัจจุบัน
ก็ต้องตั้งคำถามออกมาดังๆเลยว่า..
พระพุทธองค์ทรงขยาย user ได้ระดับพันล้านuser เมื่อหลายพันปี ล่วงมาแล้ว
โดยที่ตอนนั้นยังไม่มี Internet !
ได้อย่างไร ?
มาถึงตรงนี้ เขียนนอกกรอบ เอง
ก็แอบฉุกคิดเช่นเดียวกันว่า
ท่านทำได้อย่างไรครับ ?
แต่ลองวิเคราะห์จากสิ่งที่เราได้เรียนรู้กันมา แล้วนำมาเทียบเคียงกับเส้นทาง startup ของพวกเราในยุคปัจจุบัน
ก็ต้องนับถือว่า พระพุทธองค์
ทรงเป็น startup Founder
ที่เก่งและสุดยอดคนหนึ่งไปเลย
หลังจากที่ท่านตรัสรู้แล้ว หากนำมาเทียบเคียงกับเส้นทาง startup ในยุคปัจจุบัน
ก็คงเป็นภาพของการค้นหาแนวทางธุรกิจ
จนธุรกิจนั้นๆเริ่ม success เราก็จะหวนนึกถึงทีมงานเก่าๆของเราขึ้นมา พูดในเชิง startup
1
ท่านเองก็เช่นกัน
ท่านจึงกลับไปถ่ายทอด Solution
( การดับทุกข์ )
cr.dmc
ให้ Beta Tester กลุ่มเดิมใช้อีกครั้ง
จน Beta Tester เกิดความเข้าใจ (บรรลุธรรม)
และสมัครเข้า Startup ทันที
และใน Beta Tester คนแรก
ที่เริ่มเข้าใจใน Business นี้
(เทียบเคียงคือบรรลุธรรม )มีนามว่า...
อัญญาโกณฑัญญะ
ซึ่ง อัญญาโกณฑัญญะ ผู้นี้
ได้เคยทำนายไว้เป็นลักษณะเดียวว่า...
cr. shantideva.net
พระองค์จักเสด็จออกทรงผนวช และจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลกแน่แท้
( คือมีความมั่นใจศรัทธาเป็นทุนเดิม )
เรียกได้ว่าจาก Beta Tester ผันตัวมาเป็น Early employee เลยครับ
ดำเนินเรื่องไปเรื่อยๆในแบบ มนุษย์คนหนึ่ง
ท่านเริ่มเดินทางเทศนาชี้ให้เห็นวิธีการ
Solution ( การดับทุกข์ )
ในทางโลก เส้นทาง startup
ก็มักไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนในบริษัท
ในองค์กร จะเข้าใจทุกๆ project
ของบริษัททันที
cr.pixabay.com
บางคนอาจอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารฟังปุ๊บ
ก็เข้าใจทันที
บางคนอาจอยู่ในตำแหน่งที่รองลงมา
รับฟังวันนี้ต้องเอาไปคิด พรุ่งนี้ถึงเข้าใจ
บางคนอาจอยู่ในตำแหน่งที่ไม่มีบทบาทมากนัก แต่ถ้ามีผู้นำคอยชี้แนะก็จะเข้าใจในที่สุด
(ช้าหน่อยแต่เข้าใจ )
และสุดท้าย ตำแหน่งที่ ไม่พร้อมรับฟังเลย
อธิบายไปก็ไม่อาจเข้าใจ ทุกครั้งที่มีการประชุมหารืออะไร จึงไม่ได้เข้าประชุมใดๆ
#ในทางธรรม
ตามที่ปรากฏในโพธิราชกุมารสูตร ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีและคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี
ว่าเมื่อแรกตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ทรงพิจารณาว่าพระธรรมที่ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพ ( สุขุมลึกซึ้ง )
ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ แต่ต่อมาได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้
เปรียบเสมือนบัว 3 เหล่า
(ตามนัยโพธิราชกุมารสูตรในพระไตรปิฎกภาษาบาลี )
#หรือบัว 4 เหล่า ตามนัยสุมังคลวิลาสินี
ตรงนี้เขียนนอกกรอบ ขอไม่ลงลึกมาก
เอาที่เราๆเคยได้ยิน คือ บัว 4 เหล่า
นั่นเองครับ
cr. o.k nation
และตรงจุดนี้หากเทียบเคียงเส้นทาง startup
ก็ทำให้ project ที่ท่านคิดออกมานั้น
ถูกนำเสนอให้ถูกจริตกับทุกคน
พูดง่ายๆคือ ท่านทำการบ้าน Present
ออกมาให้ผู้คนทุกระดับชั้น
เข้าใจได้ในระดับภูมิปัญญาของของตนเอง
ในทางธุรกิจก็เหมือนการ เสนอแพ็กเกจ
ออกมาให้ลูกค้าได้เลือกให้เหมาะสมกับตนเอง
จึงทำให้เกิด User มากมาย
และเท่านั้นยังไม่พอครับ ยังได้คนเข้าร่วมเป็น Moderator อีกเพียบเลย
จุดหนึ่งที่ท่านทำได้ดีมากๆ คือเรื่องของ UI
การนุ่งหุ่มจีวรสีเฉพาะ ถ้าเห็นแต่ไกลนี่คือ Moderator พระพุทธองค์แน่นอน
เห็นปุ๊บรู้ได้ทันที
cr.pixabay.com
แม้เราจะรู้จักเครื่องหมายของชาวพุทธในรูปแบบของสัญลักษณ์ คือ ตราธรรมจักร ก็ตาม
แต่ถ้ามองจริงๆด้วยใจของเรา
ใบหน้าพระพุทธองค์เรานี่แหละครับ คือ โลโก้แบรนด์ที่ติดตาของจริง
(อันนี้ให้มองในเรื่องของ startup นะครับ )
ถ้าในยุคนี้พูดให้เห็นภาพไปเลย
ก็ขออนุญาตกล่าวถึง คุณตัน อิชิตัน
แม้บริษัทของคุณตันจะมีโลโก้แบรนด์
แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราจดจำได้ง่าย
คือ ภาพของคุณตันนั่นเอง เห็นคุณตัน
เท่ากับ เห็นชาเขียว
ก็คงประมาณนั้นเลย
cr. komchadluek.net
ในด้าน Business Model ท่านเลือกใช้วิธี donate เหมือน Wikipedia อันที่จริง Wikipedia ต่างหาก
ที่ใช้ตามท่าน
ทุก User ได้ทำบุญได้กุศล ได้รู้จักการให้
ได้มีโอกาสทำทานและเสียสละ
ก็ได้ความสบายใจกลับไป
ส่วนท่านและ Moderator
ได้อาหารเป็นคุณค่าคืนมาเป็นการเสริมพลังให้อยู่เผยแผ่พระธรรมคำสอนต่อไป
แต่การได้อาหาร (ภัตตาหาร) ของท่าน
เท่าไหร่เท่านั้น คือท่านไม่เรียกร้อง
มีก็ฉัน ไม่มีก็ไม่ฉัน พูดภาษาบ้านๆ
มีให้กินท่านก็กิน แม้ไม่มีเลยท่านก็ไม่เรียกร้องใดๆ (เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร)
แต่ถ่ายทอด Solution ให้ทุก User ฟรีๆ
แม้จะเป็นการเริ่มต้น เผยแผ่พระธรรมคำสอน
ในช่วงแรกๆ หลังพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้
ก็มีเรื่องราวพระธรรมคำสอนมาให้เราได้เรียนรู้เทียบเคียงกับเรื่อง startup มากมายเลยครับ
ส่วนตอนต่อไป จะเชื่อมโยงเทียบเคียง
ui ในทางโลก & ทางธรรม อย่างไร
โปรดติดตามตอนต่อไปครับ
หากมีอะไรผิดพลาด เขียนนอกกรอบ
กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ🙏
เขียนนอกกรอบ เรียบเรียง
photo cr. & source:
pippo pramewith sreechatthiwong
หากมีประโยชน์ฝากกดไลค์ กดแชร์
คอมเม้นท์ทักทายกันได้นะครับ
#เขียนนอก กรอบ
ขอขอบพระคุณครับ🙏
โฆษณา