5 ธ.ค. 2019 เวลา 00:25 • ไลฟ์สไตล์
ของขวัญธรรมดาที่เลอค่า
วันนี้เป็นวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมาจะเป็นวันที่สำคัญของชนชาวไทย จะพากันแต่งชุดเหลือง มีการจัดพานพุ่ม ตั้งรูปพระบรมฉายาลักษณ์ มีการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี
ปัจจุบันเป็นอะไรที่เงียบมาก เหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง ความรู้สึกนั้นมันยังคงอยู่ในหัว ความคิด และจิตใจ แม้จะผ่านไปนานแล้ว ตอนกลางคืนมีการจุดพุเฉลิมฉลอง
แต่ก็เข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านไปตามกาลเวลา เป็นไปตามวัฏจักร มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่มีอะไรคงที่จีรังยั่งยืน
ทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะเกิดดับเมื่อใด กล่าวคือ ทุกขํ มันเป็นทุกข์ ทนได้ยาก อนิจฺจํ ไม่จีรังยั่งยืน อนตฺตา ไม่มีตัวมีตน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ถือว่าตัวเราของเรา ควรปล่อยวาง
อากาศก็เหมือนกันวันเวลาเคลื่อนหมุนเวียนเปลี่ยนเป็นฤดูใหม่ ฤดูหนาวพัดเข้ามา อาการเริ่มหนาวเย็น ผู้คนทั้งหายต่างพากันสวมใส่เสื้อผ้าหนาๆ เพื่อให้เกิดความอบอุ่น
วันนี้เป็นวันที่อากาศหนาวอีกวัน ผมตื่นขึ้นมาไปออกกำลังกายยืดเส้นยืดสาย ให้ร่างกายอบอุ่น ยังไม่มีอะไรทำก็เลยคิดอยากจะเขียนบมความสั้นๆ นิดหน่อย ก่อนอาบน้ำแต่งตัว เดินทางไปเขื่อนอุบลรัตน์
เมื่อวานมีน้องที่น่ารักส่งของมาให้พร้อมกับถ่ายรูปส่งมาให้ดู เป็นของขวัญที่ไม่ได้ใหญ่โตอะไร แต่สำหรับผมชอบมากๆ แต่เพราะเป็นความชอบส่วนตัวที่เรามีอยู่แล้ว
มันเป็นไลท็อป ที่มีลักษณะคล้ายเห็ดหรือลูกอมก็ว่าได้ ถ้าหากเอาไปวางเดี่ยวสักสองสามต้นคงคิดว่าเป็นลูกอมแน่นอน มันมีลวดลายสวยงามมีสีต่างๆ แตกต่างกันไป
ผมเองยังไม่เคยคิดว่าจะมีต้นไม้แบบนี้แต่ก็ถือว่ามีความสวยงาม อีกอย่างคือของฟรีที่น้องส่งมาให้ เป็นอะไรที่วิเศษมากๆ คงจะอยากให้เราปลูกช่วงฤดูหนาว ให้เข้ากับฤดูแห่งดิกไม้นานาพันธุ์
1
ผมจึงลองค้นวีกีพีเดีย ได้คำตอบคือ ไลทอป (Lithops) เป็นพืชชนิดหนึ่งในกลุ่มของพืชอวบน้ำ ชื่อนี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ คำว่า "Lithos" ซึ่งแปลว่า "หิน" และ "-ops" ซึ่งแปลว่า "เหมือน"
ดังนั้นคำว่า "Lithops" จึงแปลได้ว่า "เหมือนหิน" ซึ่งตรงกับลักษณะของพืชชนิดนี้ เพราะพืชชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากพืชชนิดอื่นอย่างชัดเจน กล่าวคือทั้งรูปร่าง ลักษณะ สีสัน คล้ายคลึงกับ ก้อนหิน ก้อนกรวด
จนมีผู้เรียก Lithops ว่า "หินมีชีวิต" เป็นพืชขนาดเล็ก ขึ้นอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง และอากาศเย็นในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศนามิเบีย และประเทศแถบแอฟริกาใต้
Lithops โดยปกติจะมีใบอยู่เป็นคู่ มีลักษณะคล้ายกระเปาะ เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นลักษณะกลม และมีร่องตรงกลางคล้ายรอยผ่าเป็น 2 ซีก บริเวณร่องตรงกลางภายใน จะเป็นส่วนของเนื้อเยื่อ ที่สามารถเจริญเติบโตได้ ดอก หรือใบใหม่ ก็จะงอกออกมาจากร่องระหว่างใบทั้งสอง
ในช่วงฤดูหนาวจะเป็นช่วงเวลาที่ Lithops เริ่มสร้างใบคู่ใหม่ อยู่ภายในร่องดังกล่าว ซึ่งจะมีเพียง 1 คู่เท่านั้น แต่อาจมีกรณีที่ Lithops แตกหน่อ ที่ทำให้คล้ายกับว่ามีใบหลายคู่
แต่ที่จริงน่าจะเรียกว่ามีต้นเล็ก 2 ต้นอยู่ภายในร่องมากกว่า ใบใหม่จะค่อยๆ เจริญออกมาให้เห็นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบใหม่ที่งอกออกมาจะมีลักษณะเป็นคู่เหมือนใบเก่า และใบเก่าที่มีอยู่จะค่อยๆเหี่ยวไป
ซึ่งในช่วงเวลานี้ควรงดให้น้ำแก่ Lithops เพราะใบเก่าที่กำลังเสื่อมสภาพลงจะง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา จนทำให้เกิดการเน่าของ Lithops ได้ง่าย
Lithops ส่วนใหญ่มักฝังตัวเองอยู่ในพื้นหรือวัสดุที่ใช้ปลูก และเหลือเพียงส่วนบนของใบที่โผล่ขึ้นมาเท่านั้น สำหรับบริเวณส่วนบนของใบทั้ง 2 จะมีส่วนที่ค่อนข้างโปร่งแสง เรียกกันว่า "หน้าต่าง"(window) เพื่อให้แสงสามารถส่องเข้าไปในเนื้อเยื่อภายใน ซึ่งเป็นบริเวณที่สังเคราะห์แสง
จุดที่เป็นจุดดึงดูดความสนใจ ของผู้ที่นิยมเพาะเลี้ยง Lithops ก็คือสีสันของใบ ที่ไม่ได้มีแค่สีเขียวเหมือนพืชอวบน้ำทั่วไป
แต่กลับมีสีสันแตกต่างหลายหลาก เช่น สีน้ำตาล, เทา, ครีม, ม่วง และอื่นๆอีกมากมาย รวมทั้งรูปแบบและสีสันของลวดลายของสิ่งที่เรียกว่า "หน้าต่าง" ไม่ว่าจะเป็น ลายเส้น, ลายจุด, ลายกลม ฯลฯ
ดอกของ Lithops ส่วนใหญ่มีสีเหลืองหรือสีขาว มีเพียงบางพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูหรือบานเย็น Lithops ดอกมักออกในช่วงปลายปี
ประมาณช่วงฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาว ตำแหน่งดอกของ Lithops จะงอกแทรกออกมาตรงกลางระหว่างใบทั้ง 2 ของมัน ช่วงเวลาที่ดอกบานมักจะเป็นเวลาหลังเที่ยงและหุบลงในเวลาเย็น Lithops เป็นพืชที่ต้องการการผสมเกสรข้ามต้นจึงจะติดเมล็ด
ฝักหรือผลของ Lithops เป็นส่วนของฐานดอกที่หลังจากกลีบดอกโรยไปแล้ว และฝักหรือผลของ Lithops ไม่ได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นผลให้เห็นชัดเจนเหมือนไม้อวบน้ำสายพันธุ์อื่น
แต่มีลักษณะเป็นกระเปาะฐานดอกที่มีปลายแห้งๆ และในธรรมชาติกระเปาะดังกล่าวจะเปิดออกเมื่อโดนน้ำ พร้อมกับการดีดเมล็ดที่มีขนาดเล็กมากขนาดเท่าเม็ดทรายออกมาเพื่อขยายพันธุ์
ในเมื่อน้องเขาส่งมาให้แล้วก็คงจะต้องลองเลี้ยงดู ซึ่งผมเองก็ไม่มีความรู้เกี่ยวกับต้นไลทอปสักเท่าไหร่ เพราะนี่คงเป็นครั้งแรก และคงต้องศึกษาค้นคว้า ถามผู้รู้ ค้นตามอินเตอร์เน็ต กูเกิ้ล ว่ามีวิธีปลูกอย่างไร
ก็คงจะต้องปลูกอย่างดีว่าจะออกมาอย่างไร คงต้องใช้เวลา สักหน่อย เพื่อการเรียนรู้ ก็คงคิดว่าจะปลูกได้ ถ้าเรามีความตั้งใจ
ขอบคุณน้องที่น่ารักผู้ส่งมาให้ และหวังว่าผู้อ่านจะเป็นกำลังใจให้นะครับ สำหรับการปลูกไลทอป
การเดินทางไปเขื่อนอุบลรัตน์ครั้งนี้หวังว่าจะมีอะไรดี มาเล่าสู่กันฟังนะครับ ด้วยรักและปรารถนาดี
โฆษณา