5 ธ.ค. 2019 เวลา 05:44 • ประวัติศาสตร์
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพและความสามารถ พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจ ตลอด 70 ปี ที่ทรงครองราชสมบัติ ซึ่งพระราชกรณียกิจที่โดดเด่นของพระองค์ และประชาชนอย่างเรารู้จักกันดี เช่น โครงการแกล้งดิน, แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง, กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นต้น
วันนี้เป็นวันพ่อแห่งชาติ ผมจึงอย่างเขียนเกี่ยวกับโครงการใน พระราชกรณียกิจ ของท่าน โดยท่านทรงคิดริเริ่มโครงการที่มีประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยมากมายดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่วันนี้ผมจะมาเล่าถึง “โครงการฝนหลวง” ครับ
“ถ้าไม่มีฝนหลวงคงไม่ได้กิน ได้กินแต่ก็น้อย ท่านได้หลั่งน้ำใจให้ประชาชน หมดเท่าที่จะมีให้ ผมปราบปลื้มน้ำใจพ่อหลวง ที่ท่านมีเมตตากับประชาชน” นาย สุชาติ ชาวไร่อ้อยคนหนึ่งจังหวัดกาญจนบุรี ที่เคยประสบปัญหาภัยแล้ง กล่าว
หากฝนไม่ตกภายใน 2-3 วัน อ้อยของนายสุชาติ จะขาดน้ำและอาจยืนต้นตายในที่สุด ถ้าเป็นเช่นนั้นครอบครัวของนายสุชาติ คงเดือดร้อน และมีชีวิตอยู่อย่างอดอยาก เพราะเงินที่เก็บไว้ ได้นำไปลงทุนปลูกไร่อ้อย เพื่อหวังผลผลิตในอนาคตไปแล้ว
ความสิ้นหวังนี้ ได้หมดไป เพราะมี หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จากโครงในพระราชดำหริของ ร.9
ทันทีที่สภาพอากาศเป็นใจหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ก็เริ่มขึ้น เมื่อถึงพื้นที่เป้าหมายเจ้าหน้าที่จึงเริ่มขั้นตอนทำฝนหลวงดังนี้
ขั้นตอนที่หนึ่ง : ก่อกวน
ทำการก่อกวนด้วยเกลือแกง เพื่อทำให้ไอน้ำรวมตัวกันเป็นเมฆ
ขั้นตอนที่สอง : เลี้ยงให้อ้วน
เลี้ยงเมฆให้อ้วนด้วย สูตรร้อน ด้วยสาร แคลเซียม อ๊อกไซด์ (CaO) หรือ แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl)
ขั้นตอนที่สาม : โจมตี
สุดท้ายโจมตีให้เป็นฝนด้วย สูตรเย็น ด้วยสาร ยูเรีย (Urea) และ น้ำแข็งแห้ง (Dry Ice) เพื่อเพิ่มปริมาณฝนไปยังพื้นที่เป้าหมาย
ฝนหลวงที่ตกลงมาทำให้เกษตรกร และชาวบ้าน ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง จังหวัดกาญจนบุรี พอมีน้ำกักเก็บไว้ใช้ และหล่อเลี้ยงชีวิตต่อไปในฤดูแล้งที่จะถึงนี้
เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว ฝนหลวงจึงเปรียบเสมือน หยดน้ำที่ชุบชีวิตชาวประชา ให้อยู่อย่างร่มเย็นใต้ร่มพระปารมีมหาราช ปราชญ์แห่งน้ำ ดังพระราชดำหริ ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2548
นอกจากโครงการฝนหลวงช่วยแก้ ปัญหาพื้นดินแห้งแล้ง เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของประชาชนในประเทศนี้แล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาอื่นๆอีกมากมาย เช่น
ด้านการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ : เนื่องจากใต้พื้นดินของภาคอีสานมีแหล่งหินเกลือเป็นจำนวนมากและครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง หากยามใดอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางเกิดมีปริมาณน้ำเหลือน้อย ย่อมส่งผลให้น้ำเกิดน้ำกร่อยหรือเค็มได้ ดังนั้น การทำฝนหลวงมีความจำเป็นมากในการช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าว
ด้านการเสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ : เมื่อปริมาณน้ำในแม่น้ำลดต่ำลง จนไม่สามารถสัญจรไปมาทางเรือได้ จึงต้องมีการทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบริเวณดังกล่าว เพราะการขนส่งสินค้าทางน้ำเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางอื่น และการจราจรทางน้ำยังเป็นอีกช่องทางหนึ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรทางบก ที่เราประสบปัญหารถติดทุกวัน (จนไม่อยากใช้การเดินทาง ทางบกแล้วจริงๆ)
ด้านการป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม : หากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลงเมื่อใด น้ำเค็มจากทะเลอ่าวไทยก็จะไหลหนุนเนื่องเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดน้ำกร่อย และสร้างความเสียหายแก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการทำฝนหลวง จึงช่วยบรรเทาภาวะดังกล่าว อีกทั้งการทำฝนหลวงยังช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษอันเกิดจากการระบายน้ำเสียทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะช่วยผลักสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษให้ออกสู่ท้องทะเล ทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง
ด้านการเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า : เนื่องจากบ้านเมืองเราเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่สูงมาก ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ โดยระดับน้ำเหนือเขื่อนมีระดับต่ำมากจนไม่เพียงพอต่อการใช้พลังงานน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า การทำฝนหลวงจึงมีความสำคัญในด้านดังกล่าวด้วยเช่นกัน เป็นต้น
Cr.: naewna
จบแล้วครับ สุขสันต์วันพ่อนะครับ ถึงผมจะเสียพ่อไปนานแล้ว แต่ผมก็ยังระลึกถึงท่านอยู่เสมอ😂 เคยเล่นเกมส์ ดูหนัง เที่ยวด้วยกันตอนเด็กๆ ถ้าใครยังมีพ่ออยู่ขอให้รักพ่อให้มากๆนะครับ😊
โฆษณา