7 ธ.ค. 2019 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
เมื่อ 600 ปีก่อน มนุษย์ผลิตหนังสือได้อย่างไร ?
ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ.1400 ในสมัยนั้นจะมีอาชีพที่เรียกว่า “นักคัดลอก” โดยคนที่ทำอาชีพนี้จะใช้ลายมือ “คัดลอกความรู้” ต่างๆจากปากผู้อื่นออกมาเป็นตัวหนังสือด้วยปากกา
โดยในเเต่ละวันนักคัดลอกจะสามารถเขียนออกมาได้ประมาณ 4-5 หน้า เพราะจำเป็นต้องเขียนด้วยลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด เเถมยังต้องคอยตรวจสอบว่าตัวหนังสือที่เขียนออกไปนั้นถูกต้องเเละคนอื่นอ่านออกหรือเปล่า
เเต่เเล้ววันหนึ่งก็มีนายช่างชาวเยอรมันที่ชื่อ โยฮันเนส กูเทนเบิร์ค ที่สามารถประดิษฐ์แท่นพิมพ์ที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำเป็นตัวขับเคลื่อนได้สำเร็จ ซึ่งการเข้ามาของเเท่นพิมพ์นี้ ทำให้ผู้คนสามารถพิมพ์ตัวหนังสือออกมาได้ถึงวันละ 3,600 หน้า
หลังจากเวลาผ่านไปประมาณ 200 ปี แท่นพิมพ์เครื่องจักรไอน้ำก็สามารถผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ออกมาจนทั่วยุโรปได้เป็นจำนวนมากถึง 150 ล้านแผ่น
ทำให้นักประวัติศาสตร์หลายท่าน รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังระดับโลกอย่างเซอร์ ฟรานซิส เบคอน ต่างมีความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า “การประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของกูเทนเบิร์ค เป็นการประดิษฐ์ที่เปลี่ยนแปลงโลกมากที่สุดในรอบ 1,000 ปีที่ผ่านมา”
เพราะตั้งเเต่ที่แท่นพิมพ์นี้ถูกนำมาใช้งานอย่างเป็นทางการ ผู้คนทั่วโลกก็สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความลับ และความรู้ต่างๆมากมายอย่างรวดเร็วขึ้นนับพันเท่า
จนก่อให้เกิดศาสตร์ใหม่ที่เรียกว่า “สื่อสารมวลชน” ขึ้นทั่วทวีปยุโรป ส่งผลให้มี “การปฏิวัติครั้งใหญ่ทางวิทยาศาตร์” และ “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” ตามมาในศตวรรษที่ 17 และ 18
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อาวุธอันทรงอานุภาพที่เรียกว่า “ความรู้” ก็ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในมือของคนเพียงหยิบมืออีกต่อไป
จนมาถึงในยุคที่เทคโนโลยีของแท่นพิมพ์นี้ได้ก้าวไปไกลจนคุณกูเทนเบิร์คเองก็คาดไม่ถึง
ใครจะคิดล่ะครับว่า วันหนึ่งแท่นพิมพ์ขนาดใหญ่โตมโหฬาร ที่เคยมีราคาเป็นล้านปอนด์ จะสามารถย่อขนาดอย่างกับใช้ไฟฉายย่อส่วนของโดเรมอนให้มาอยู่ตรงหน้าคุณได้ในราคาไม่ถึง 300 บาท
ใช่แล้วครับ “คีย์บอร์ด” ที่คุณใช้เขียนบทความอยู่นั่นแหละคือ “แท่นพิมพ์ของกูเทนเบิร์ค”
อยากรู้เรื่องอะไร อยากอ่านบทความเเบบไหน ส่งคำถามมาให้ "สมองไหล" ได้ง่ายๆ เพียง “กดลิ้ง” ข้างล่างนี้ได้เลย
โฆษณา