8 ธ.ค. 2019 เวลา 04:59 • สุขภาพ
โรคข้อเสื่อม
 
เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากกระบวนการ สึกหรอของข้อ ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ และมีปุ่มกระดูกงอก ทำให้เกิดอาการปวดขัด มีเสียงดังเมื่อขยับข้อ และข้อผิดรูปไป โดยทั่วๆไปอาการมักจะค่อยๆ เป็นมากขึ้น โดยมัเป็นที่ข้อเข่า ข้อสะโพก หลัง กระดูกคอ และข้อนิ้วมือ และมีอาการปวดเมื่อข้อนั้นๆถูกใช้งาน
โรคข้อเข่าเสื่อมอาจมีผลทำให้เดินไม่คล่อง ลุกจากที่นั่ง และเดินขึ้นที่สูงลำบาก เนื่องจากปวดเข่า และกล้ามเนื้อต้นขา ไม่ค่อยมีแรง บางคนเดินแล้วเกิดอาการเข่าอ่อนพับ และหกล้ม ถ้าไปตรวจพบแพทย์ แพทย์มักซักประวัติของอาการ ตรวจลักษณะข้อและกล้ามเนื้อ และอาจเอกซเรย์ ข้อที่เสื่อมนั้น โดยลักษณะผลเอกซเรย์ ของข้อที่ผิดปกติ จะมีกระดูกที่ข้อ งอกโตขึ้น และช่องว่างระหว่างผิวข้อแคบลง
การปฏิบัติตัว
เมื่อข้อเข่าเสื่อมแล้ว ไม่มีอาการ หรือ ไม่ส่งผลรบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน ก็อาจไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ควรป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น แต่ถ้าทำให้เกิดอาการปวด หรือมีผลรบกวนชีวิตประจำวัน ก็จำเป็นต้องไดรับการรักษาควบคู่ไปด้วย การปฏิบัติตัวเมื่อมีโรคข้อเสื่อม ได้แก่
การลดน้ำหนักตัว การที่มีน้ำหนักตัวเกิน จะทำให้ข้อเข่า และข้อสะโพกที่เสื่อมถูก กดทับมากขึ้น นอกจากนี้ยังไม่ควรถือของหนัก เป็นเวลานานๆ เนื่องจากมีผลการกดทับ ข้อที่เสื่อมมากขึ้นด้วย
หลีกเลี่ยงการนั่งบนพื้น ที่พับเพียบ คุกเข่า หรือนั่งขัดสมาธิ เนื่องทำให้ข้อมีการเสียดสีมาก และทำให้มีอาการมากขึ้น
หลีกเลียงกิจกรรมที่มีผลกับข้อเข่า เช่น การยืนนานๆ การเดินขึ้นบันได หรือทางลาด
ถ้ามาข้อเข่าเสื่อมควรออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อ โดยนั่งเก้าอี้ที่มีความสูงระดับเข่า แล้วยกขาขึ้นที่ละข้าง กระดกปลายเท้าขึ้นจนสุด และเกร็งค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นจึงเปลี่ยนข้าง ควรพยายามทำวันละ หลายๆครั้ง
อาจทยอยแบ่งทำทีละ 30 ครั้ง วันละ 3 เวลา ถ้ามีความเคยชินมากขึ้น อาจใช้ถุงทรายหนักประมาณ 1 กิโลกรัม พันรอบขาเหนือระดับตาตุ่ม แล้วยกขาขึ้น 10 วินาที/ครั้งเช่นเดิม
ถ้ามีอาการปวดข้อ อาจประคบเย็นด้วยถุงน้ำแข็ง ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ประคบครั้งละประมาณ 15-20 นาที หรืออาจประคบร้อน ด้วยถุงน้ำร้อน หรืออาบน้ำอุ่นประมาณ 10-20 นาที
ออกกำลังกายเสมำ่เสมอ โดยเลือกกิจกรรมที่ไม่มีผลเสียกับข้อ เช่นว่ายน้ำ ปั่นจักยานอยู่กับที่ หรือเดิน
ถ้าปวดมากอาจใช้ยาแก้ปวด โดยใช้ยาพาราเซตามอล ถ้าไม่ได้ผล อาจใช้ยาแก้อักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แต่ต้องระวังว่ายา อาจระคายเคือง กระเพราะอาหาร และอาจมีผลเสียต่อไต ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอยู่ อาจทำให้ความดันสูงขึ้นได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
สำหรับสารกลูโคซามิน และคอนดรอยติน แพทย์อาจพิจารณาใช้และ ดูการตอบสนองว่าดีขึ้นหรือไม่ ใน 2-3 เดือน ถ้าไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาหยุด
เสริมด้วย BN
ปกป้องด้วย D-Boone
โฆษณา