9 ธ.ค. 2019 เวลา 13:34 • บันเทิง
นิทาน
เรื่อง อุสา-บารส
ภาคต่อ ท้าวสะดุ้นกุ้น
อ่านได้ที่ลิงค์นี้นะคะ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
มีเมืองใหญ่เมืองหนึ่งตั้งอยู่บริเวณภูพระบาท
ภูเขาขนาดย่อมลูกหนึ่งของเทือกเขาภูพาน
ชื่อเมืองว่า เมืองพาน โดยมีท้าวกงพานเป็นเจ้าเมือง
ในชาติปางก่อน “นางอุสา”เป็นเทพธิดาในเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และได้ทำผิดกฎสวรรค์
จึงมีบัญชาให้ลงมาเกิดชดใช้กรรมบนโลกมนุษย์ โดยเกิดเป็นมนุษย์ผู้หญิงบนดอกบัวกลางสระน้ำ
ในป่า “เมืองพาน” ใกล้กับอาศรมของฤๅษีจันทา
เมื่อฤๅษีไปพบนางเข้าจึงเก็บมาเลี้ยงดูอย่างดี
Cr. Dek-D.com
ต่อมาเจ้าเมืองพานและพระมเหสีทราบเรื่อง
จึงขึ้นไปดู ครั้นเมื่อท้าวกงพานเห็นนางอุสา
เกิดความอยากได้ไปเลี้ยงเป็นพระราชธิดา
จึงขอนางจากฤาษีจันทาเป็นบุตรบุญธรรม
ซึ่งฤาษีจันทาก็ยินดียกนางให้ แต่ทั้งนี้ฤาษีจันทา
ได้ทำนายและตักเตือนไว้ว่า หากนำนางไปเลี้ยง
และเมื่อนางเจริญวัยแล้วได้สามีเมื่อไหร่
ก็จะเป็นเหตุให้ท้าวกงพานสวรรคตได้
แต่ท้าวดงพานก็ไม่เปลี่ยนพระทัยแต่อย่างใด
Cr. Dek-D.com
เมื่อ เจ้าเมืองพาน และมเหสี ได้ “ นางอุสา” 
มาเป็นพระราชธิดา ก็รู้สึกหวงแหนมาก
กอปรทั้ง “ นางอุสา” มีรูปโฉมงดงาม หน้าตาสะสวย จะหาหญิงใดในแหล่งหล้ามาเปรียบมิได้
และทั้งยังมีกลิ่นกายหอมกรุ่น
เมื่อเติบโตเป็นสาวความงามของนางได้เรื่องลือไปไกล ซึ่งได้มีเจ้าชาย และเจ้าเมืองต่าง ๆ มาสู่ขอไปเป็นคู่ครองของตน แต่ท้าวกงพานนั้นหวงลูกสาวบุญธรรมคนนี้มาก จึงไม่ยอมยกให้ใครไปแต่อย่างใด
ท้าวกงพานและพระมเหสีก็จำและตระหนักได้
ถึงคำทำนายของพระฤาษีในกาลโน้นเมื่อครั้ง
ที่ไปขอนางอุสามาเลี้ยงอยู่เสมอ จึงได้หาอุบาย
เพื่อแก้เคราะห์กรรมนั้น โดยได้ไปสร้างหอให้
นางอุสาและพี่เลี้ยงอยู่กลางป่าเขา
เพื่อไม่ให้พบกับผู้ชายคนใดแม้แต่เด็กทารก
ผู้ชายก็ตาม และเพื่อไม่ให้มีเหตุที่ตนจะต้องตาย
เพราะว่านางอุสาจะไม่ได้มีสามีนั่นเอง
จึงได้ไปสร้างตำหนักบนภูเขา (เขาภูพาน
หรือภูพระบาทในปัจจุบัน) ให้นางอยู่อาศัย
หลับนอน (เรียก หอนางอุสา) และบอกว่า
เพื่อให้ร่ำเรียนวิชากับพระฤาษีจันทาซึ่งมี
อาศรมอยู่ไม่ไกลกันมากนัก
Cr. Dek-D.com
โดยที่ไม่ได้แจ้งแก่นางอุสาและพระพี่เลี้ยงซึ่ง
มีแต่หญิงสาวในอุบายจริงๆที่ว่า
ทำไม?ตนต้องมาอยู่ในป่าเฉพาะพวกผู้หญิง
ซึ่งลำบากและขัดสนตลอดจนห่างไกลผู้คน
และไม่มีผู้ชายกล้ามากล้ำกรายได้เลย
นางอุสาซึ่งอยู่ในช่วงเป็นสาวแรกรุ่น
นางฝันแปลกๆ และฝันว่ามีพระยางูตัวใหญ่
สีเหลืองทองมารัดนางทำให้นางตกใจกลัว
และสะดุ้งตื่นในตอนกลางคืน แต่นางก็ไม่ได้
เล่สความฝันนี้ให้ใครฟัง
วันหนึ่งนางอุสา และพระพี่เลี้ยงบริวารทั้งหลาย
ได้ไปเล่นน้ำที่ลำธารใกล้ๆกับตำหนัก
นางได้เก็บดอกไม้มาร้อยเป็นมาลัยรูปหงส์
แล้วส่งลอยลงแม่น้ำไป พลางอธิษฐานจิตว่า
"ผู้ใดเป็นเนื้อคู่ของนางขอให้ได้พบมาลัยนี้ด้วยเถิด"ซึ่งพวงมาลัยรูปหงส์นี้ได้ลอยไปลงสู่
แม่น้ำโขงถึงหน้า “เมืองปะโค”
Cr. http://www.finearts.go.th/phuphrabathistoricalpark/parameters/km/item/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA.html
โดย "ท้าวบารส"ซึ่งเป็นโอรสเจ้าเมืองปะโคนั้น
เป็นเจ้าชายหนุ่มรูปงามและมีบุญญาธิการมาก
โดยเมื่อตอนประสูตินั้นปรากฏเหตุการณ์อัศจรรย์
ว่าดอกไม้บานทั้งเมือง จึงได้ชื่อว่า “บารส” แปลว่า “ผู้มีกลิ่นหอม”นั่นเอง
ในคืนก่อนที่มาลัยรูปหงส์จะมาถึงเมืองปะโค
ท้าวบารสนอนฝันไปว่า ได้ไปเล่นน้ำในสระน้ำ
แห่งหนึ่งที่มีดอกบัวมากมายและบานสล้าง
ในดอกบัวดอกหนึ่งมีดวงแก้วสุกใส และงดงามมาก
ท้าวบารสรีบว่ายน้ำเข้าไปเอาดวงแก้วนั้น
พอจับดวงแก้วขึ้นมา ดวงแก้วก็แตกสลายออก
เป็นเสี่ยงๆ ท้าวบารสเสียใจมากจนร้องไห้ออกมา
และตกใจสะดุ้งตื่นขึ้นมาทันที
จึงรู้ว่านั่นเป็นเพียงความฝัน แต่ก็รู้สึกเสียดาย
ดวงแก้วนั้นมาก เกิดความกลัดกลุ้มใจด้วย
ความเสียดายยิ่งนัก จึงชวนบริวารทั้งหลายไป
เล่นน้ำที่แม่น้ำโขงบริเวณหน้าเมือง
ขณะที่ว่ายน้ำอยู่นั้น ท้าวบารสเหลือบเห็น
มาลัยรูปหงส์ลอยทวนน้ำมา ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจ
มากเพราะไม่เคยเห็นสิ่งใดลอยทวนกระแสน้ำ
มาก่อน
Cr. http://www.finearts.go.th/phuphrabathistoricalpark/parameters/km/item/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA.html
ท้าวบารสก็รีบว่ายเข้าไปหาและเก็บมาดู
เห็นเป็นมาลัยดอกไม้รูปหงส์ที่สวยงามและ
มีกลิ่นหอมอบอวลมาก ท้าวบารสจึงให้คน
สืบหาเจ้าของมาลัยแต่ก็ไม่มีผู้ใดรู้
เลยตัดสินใจออกสืบค้นหาด้วยตนเอง
ท้าวบารสเดินทางตามหาเจ้าของมาลัยไปใน
ที่ต่าง ๆ จนมาถึงเขาภูพาน ซึ่งท้าวบารสและ
บริวารได้ขี่ม้าขึ้นไปบนภูเขา
เมื่อไปถึงเพิงหินก้อนหนึ่งม้าของท้าวบารส
ก็ไม่ยอมเดินทางต่อไป ท้าวบารสจึงพักม้าท
ี่เพิงหินก้อนนั้น (เรียก คอกม้าบารส) และบริวาร
ก็แยกไปผูกม้าที่ก้อนหินอีกก้อน (เรียก คอกม้าน้อย)
Cr. http://www.finearts.go.th/phuphrabathistoricalpark/parameters/km/item/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA.html
ท้าวบารสผูกม้าเสร็จแล้วก็ออกสำรวจตรวจ
ภูมิประเทศบริเวณนั้น และแล้วก็ได้พบกับ
นางอุสาที่กำลังเล่นน้ำอยู่ที่ลำธารกับพระพี่เลี้ยง
และก็รู้ว่านางเป็นเจ้าของมาลัยหงส์อันนั้น
ทั้งคู่ต่างตกตะลึงและเกิดความหวั่นไหว
ในหัวใจอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ด้วยบุพเพสันนิวาส บุญกรรมเมื่อครั้งเก่าก่อน
และความใกล้ชิดกันของทั้งสอง จึงเกิดเป็น
ความรักและความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้น
ลึกซึ้งเกินหักห้ามใจ จนได้เสียและเป็น
สามีภรรยากันในที่สุด โดยทั้งสองกับบรรดา
พระพี่เลี้ยงบริวารต่างช่วยกันปกปิดไม่ให้
ท้าวกงพานรู้แต่อย่างใด
Cr. Dek-D.com
แต่ต่อมาความลับแตกและรู้ไปถึงท้าวกงพาน
ซึ่งกริ้วจัด สั่งให้ทหารมาจับกุมท้าวบารส
ไปประหาร แต่เสนาอำมาตย์ทั้งหลายต่าง
ก็ห้ามไว้ ด้วยกลัวว่าจะเกิดสงครามระหว่าง
“เมืองปะ” กับ “เมืองพาน” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อ
เมืองพานแน่เพราะเมืองปะโคเป็นเมืองใหญ่
มีความอุดมสมบูรณ์และเข้มแข็งทางด้าน
การเมืองและการสงครามมากนั้นเอง
แต่ท้าวกงพานก็พยายามที่จะหาหนทางกำจัด
ท้าวบารสให้ได้ จึงทำอุบาย ท้าพนันแข่งขัน
กันสร้างวัดในหนึ่งวันให้แล้วเสร็จ โดยนับ
ตั้งแต่เช้าไปจนดาวประกายพรึกหรือ
ดาวประจำเมือง(ดาวศุกร์)ขึ้น จึงให้ทำการ
หยุดสร้าง ผู้ใดสร้างไม่เสร็จจะต้องเสียหัว
(ถูกฆ่าตัดหัว)แก่อีกฝ่าย
ซึ่งท้าวบารสเลือดกษัตริย์ขัตติยาก็รับท้าพนันนั้น
สร้างความหวั่นวิตกให้กับนางอุสา และพระพี่เลี้ยง
ของนางตลอดจนบริวารที่ติดตามท้าวบารสมา
เป็นอย่างยิ่ง
ฝ่ายท้าวกงพานนั้นกลับกระหยิ่มในใจว่า
ตนเองจะเป็นฝ่ายชนะและจะได้ตัดหัวท้าวบารส
แน่ๆ ก็เกณฑ์ไพร่พลมากมายให้มาสร้างวัด
(เรียก วัดพ่อตา) ส่วนท้าวบารสไม่มีไพร่พล
มาช่วยสร้างเลย นอกจากตัวท้าวบารสเอง
นางอุสาเมียรัก พระพี่เลี้ยงนางอุสาและมีบริวาร
อีกไม่กี่คนที่มาด้วยกับท้าวบารสจากเมืองปะโคเท่านั้น
ซึ่งจะต้องสร้างไม่ทันตามกำหนดแน่ๆ แต่มี
พระพี่เลี้ยงของนางอุสาที่เป็นคนเฉลียวฉลาด
คนหนึ่ง ได้ออกอุบายให้ท้าวบารสยกโคม(ขี้ใต้)
ขึ้นไปแขวนไว้บนยอดไม้ใหญ่ในเวลาจวนดึก
เพื่อแสดงให้เห็นว่าดาวประกายพรึกหรือ
ดาวประจำเมืองขึ้นแล้ว
Cr. วาไรตี้ - Thaiza
เมื่อพวกท้าวกงพานมองขึ้นมาเห็นโคมก็คิดว่า
เป็นดาวประกายพรึก จึงพากันหยุดสร้างวัด
ส่วนท้าวบารสก็จะได้รีบเร่งสร้างต่อไปจนถึงเช้า
รุ่งเช้าท้าวกงพานมาตรวจการก่อสร้าง
ก็ปรากฏว่าท้าวบารสสร้างวัด(เรียก วัดลูกเขย)
ได้สำเร็จ และเสร็จตามสัญญาจริงๆ
แต่ท้าวกงพานนั้นสร้างยังไม่เสร็จ ด้วยขัตติยะมานะของกษัตริย์ตรัสแล้วย่อมไม่คืนคำ
จึงต้องถูกตัดหัวตามสัญญาในที่สุด
การสวรรคตของท้าวกงพานก็ไม่ผิดเพี้ยน
ไปจากคำทำนายของฤๅษีจันทาเลยแม้แต่น้อย
(ซึ่งบริเวณแห่งนั้นมีสีแดงกระจายไปตาม
โขดหิน ให้ผู้คนทั้งหลายเข้าใจว่า เมื่อ
ท้าวกงพานที่ถูกท้าวบารสตัดหัว เลือดก็พุ่ง
เป็นไฟพะเนียงกระจายเต็มไปทั่วบริเวณแห่งนั้น
เลือดสีแดงกระเด็นติดผนังหินและปรากฏ
ให้เห็นอยู่มาจนถึงทุกวันนี้) นางอุสาเองก็รู้สึก
เสียใจที่สวามีฆ่าพระบิดาของนางแต่ก็พูดอะไร
ไม่ได้
หลังจากนั้นท้าวบารสจึงได้พานางอุสากลับ
เมืองปะโค ซึ่งทำให้บรรดาชายาและสนมทั้งหลาย
ของท้าวบารสนั้นต่างก็ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง
ต่างโกรธและเกลียดนางอุสามาก
เพราะท้าวบารสก็ยกให้นางเป็นใหญ่กว่าพวกตน
และนางยังมีรูปร่างหน้าตาที่สวยงามกว่าพวกตนอีก จึงออกอุบายหาทางทำร้ายและกำจัดนาง
ต่าง ๆ นานา โดยคบคิดกับ “โหรหลวง” ให้ตั้ง
พิธีสะเดาะเคราะห์กรรมของท้าวบารส
และโหรก็ทำนายว่าท้าวบารสมีเคราะห์ร้ายมาก
ชะตาขาดถึงแก่ชีวิต ต้องออกเดินป่าแต่เพียง
ผู้เดียวให้ครบหนึ่งปีก่อน จึงจะเข้าเมืองได้และจึงจะพ้นเคราะห์กรรมนั้น
ด้วยคำทำนายนั้นทำให้ท้าวบารสจำต้องออก
เดินป่าไปโดยทิ้งนางอุสาไว้ที่เมืองปะโค
นางถูกบรรดาชายาและสนมของท้าวบารส
รุมทำร้ายต่าง ๆ นานา
และท้าวปะโคพระบิดาและแม่เมืองพระมารดา
ของท้าวบารสก็ไม่ได้ช่วยเหลือนางได้เลย
นางอุสาโศกเศร้าเสียใจหนัก เจ็บทั้งกายเจ็บทั้งใจ
และทุกข์ทรมานมากจนทนไม่ไหว
นางจึงตัดสินใจพาพระพี่เลี้ยงกลับเมืองพาน
ไปอยู่ที่หอนางอุสาดังเดิม และจากนั้นนางก็ได้
ล้มป่วยด้วยตรอมใจและทุกข์ทรมานจาก
ความรักและคิดถึงท้าวบารสสวามีสุดที่รัก
ของนาง
ส่วนท้าวบารสเมื่อกลับจากเดินป่าเป็นเวลา
ครบหนึ่งปีแล้ว ก็ได้รู้ว่านางอุสาหนีกลับไป
เมืองพานไปเสียแล้วก็เสียใจมาก
เมื่อสืบทราบความจริงต่าง ๆ และด้วยความรัก
ความห่วงหาอาลัยเพราะคิดถึงนาง ท้าวบารส
จึงรีบรุดตามนางไปที่เมืองพานทันที และก็ได้
พบกับนางในสภาพที่น่าสงสารมาก
นางผอมแห้ง หมองคล้ำ ไม่สวยงาม และมีสง่าราศี
เหมือนแต่ก่อนเลย เพราะกินไม่ได้นอนไม่หลับ
เฝ้าแต่คำนึงคิดถึงแต่สวามีมาเป็นเวลานานนับ
ตั้งแต่สามีออกเดินป่า นางอุสาในยามนี้ป่วยหนัก
มาก โดยที่ท้าวบารส ช่วยอะไรไม่ได้
แล้วไม่นานนางอุสาก็สิ้นใจตายในอ้อมกอด
ของท้าวบารสอย่างสงบ ท้าวบารสจึงได้ฝังนาง
ไว้ที่บนภูพาน (หินก้อนหนึ่งใกล้ ๆ หอนาง
เรียกว่า หีบศพนางอุสา) และต่อมาด้วยความ
เศร้าโศกเสียใจกับการจากไปของนางอุสา
ท้าวบารสก็ตรอมใจตายตามนางไปในที่สุด
ศพของบารสถูกฝังเคียงข้างนาง (หินก้อนนั้น
ชื่อหีบศพท้าวบารส)
ดวงวิญญาณของทั้งคู่ก็ได้กลับไปอยู่บนสวรรค์
เมื่อหมดเวรกรรมในโลกมนุษย์ในชาตินั้น..
และก็ได้ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
อีกต่อไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า..จนกว่าจะบรรลุพระนิพพานในที่สุดนั้นเอง
จบ....
Cr. Pixabay
เรียบเรียง
~มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เข้าใจยาก~
Talk
นิทานพื้นบ้านเรื่อง อุสา – บารส เป็นวรรณกรรม
ที่คนในท้องถิ่นเล่าขานสืบทอดกันมาเป็นเวลา
ช้านาน เหตุการณ์และชื่อตัวละครได้ถูกผูกโยง
เข้ากับสถานที่บนภูพระบาท ซึ่งโบราณสถาน
หลายแห่งในปัจจุบัน ยังคงใช้ชื่อที่เกี่ยวโยงกับนิทานพื้นบ้านเรื่องนี้ อุสา – บารส มีหลายสำนวน แต่ละฉบับมีเนื้อหาแตกต่างกันบ้าง แต่โดยแก่น
ของเรื่องนั้นไม่ได้ต่างกันค่ะ
Cr. book-ddshop.com,petchkarats.com ·
ในอินเทอร์เน็ตก็มีให้เห็นเยอะอยู่
แต่ก็มีบางจุดที่ต่างกันบ้าง มีทั้งเป็นแบบเรื่องย่อ
และเรื่องยาว ในวิกิพีเดียก็มีนะคะ ถ้าอยากอ่าน
เสิร์ทหาว่า อุสาบารส ก็ขึ้นแล้วค่ะ
ส่วนในบทความนี้ แอดเรียบเรียงที่เคยได้ยิน
ได้ฟังมาและจากหนังสือที่เคยอ่าน(หนังสือ
เล่มนั้นเป็นเล่มเดียวกับภาพประกอบในบทความ
ซึ่งตอนนี้สภาพจับแรงไม่ได้ค่ะ บอบบางจะ
หลุดขาดจากกัน>_< เพราะมันนานมากแล้ว)
ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะคะ
เรื่องอุสาบารส
ถือเป็นโศกนาฏกรรมความรักเลยก็ว่าได้
ถ้าอ่านแต่เรื่องอุสาบารสก็จะสงสารท้าวกงพาน
ที่โดนตัดหัว สงสารนางอุสาที่โดนกระทำ
(แอดคิดว่าถึงจะรักกันแค่ไหนนางอุสาก็มาทีหลัง
ก็ยังถือว่าผิดต่อศีลธรรม พูดภาษาชาวบ้าน ๆ
ก็ผิดผัวผิดเมียเขา แม้ในสมัยก่อนจะมีค่านิยม
แบบไหนชายมีเมียได้เยอะก็เถอะถ้าบรรดา
ชายานางสนมของท้าวบารสไม่ยินยอมก็ถือ
ว่าผิดอยู่ดี )แต่ถ้าอ่านเรื่องท้าวสะดุ้นกุ้น
ด้วยจะรู้ถึงที่มาที่ไป ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
เพราะความผูกเวร ผูกกรรมกันนั่นแหละ
แต่ไม่ว่าจะสงสารใคร ทุกอย่างที่ได้รับเกิดจาก
การกระทำทั้งนั้น สิ่งที่ได้รับล้วนสาเหตุสมผลแล้ว เมื่อยังมัวเมาอยู่ในกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง
ไม่ได้รู้สึกถึงความถูกผิดสำนึกถึงสิ่งที่ทำ
ไม่ว่าใครก็ต้องรับผลของการมัวเมานั้น
บทความต่อไปแอดจะพาไปเที่ยวแถวบ้านนะคะ
ไปเที่ยวสถานที่ในนิทานนี่แหละค่ะ
ขอบคุณทุกการติดตาม และกำลังใจ
ขอให้อ่านนิทานก่อนนอน อย่างมีความสุขนะคะ
อย่าเศร้าเด้อ ยิ้มๆ 😊ฝันดีราตรีสวัสดิ์ค่ะ😴😴

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา