9 ธ.ค. 2019 เวลา 02:00 • ความคิดเห็น
ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงไม่อยากรับราชการ
เป็นคำถามที่น่าคิดจากคุณ Tanya89 ที่ส่งเข้ามาใน Line inbox ของเพจสมองไหล เพราะในอดีตที่ผ่านมา ความฝันของพ่อเเม่ส่วนใหญ่ คือการที่ได้เห็นลูกของตัวเองรับราชการ เพราะมีความเชื่อมั่นว่ามันเป็นงานที่มั่นคงเเละอนาคตก็จะไม่มีวันลำบาก
เเต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ก็มีคนรุ่นใหม่จำนวนมากที่ออกมาประกาศว่า “อาชีพข้าราชการไม่ใช่อาชีพในฝันของพวกเขา”
สมองไหลจึงได้ ทำการศึกษาหาข้อมูลจากเเหล่งต่างๆ ทั้งจากการสัมภาษณ์ จากความคิดเห็นบนเว็บไซด์ Pantip เเละอื่นๆ มารวบรวมไว้ในบทความนี้
เเละนี่คือ บทสรุป 5 ข้อ ที่จะมาตอบว่า “ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงไม่อยากทำอาชีพข้าราชการ”
1) ค่าตอบเเทน
1
คนรุ่นใหม่มองว่าค่าตอบเเทนของข้าราชการนั้นน้อยกว่าบริษัทเอกชน
ยกตัวอย่าง ค่าตอบเเทนของ วุฒิ ป.ตรี
บริษัทเอกชน เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท ทำงาน 5 ปี หลายคนได้ขึ้นเงินเดือนไปจนถึง 30,000+ บาท พร้อมโบนัสปลายปีอีก 2-6 เดือน
3
ส่วนข้าราชการส่วนใหญ่เงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาทเช่นกัน เเต่เงินเดือนจะขึ้นปีละ 1,000 บาท ทำงาน 5 ปี ได้ขึ้นเงินเดือนเป็น 20,000 บาท เท่านั้น
เเต่ถ้ามองในมุมของพื้นที่ต่างจังหวัด คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ก็ยังมองว่า อาชีพข้าราชการอาจจะดีกว่า เพราะบริษัทในต่างจังหวัดส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใหญ่มาก เงินเดือนของบริษัทเอกชนในต่างจังหวัดส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 7,500 - 9,000 บาท บาท
อีกทั้งบริษัทเอกชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจครอบครัวความก้าวหน้าหรือการเลื่อนขั้นจึงมีไม่มาก
1
เเต่อาชีพข้าราชการในพื้นที่ต่างจังหวัด เงินเดือนเริ่มต้นก็ยัง 15,000 บาท เหมือนเดิม อีกทั้งสวัสดิการเองก็ไม่ได้ต่างอะไรกับข้าราชการในกรุงเทพฯเลย
2) โอกาสการเติบโตในหน้าที่การงาน
การเลื่อนขั้นของระบบข้าราชการกับเอกชนนั้นเเตกต่างกันมาก คือ น้อยมากในระบบข้าราชการที่เราจะเห็นคนที่ “อายุน้อย” มีตำเเหน่งเเละเงินเดือนสูงกว่าคน “อายุมาก”
1
เพราะระบบข้าราชการจะเลื่อนขั้นตามอาวุโสมากกว่า คือ ถ้าคนมาก่อนยังไม่ได้เลื่อนขั้น ก็ยากที่เด็กมาหลังจะได้เลื่อน ถึงเเม้ว่าจะมีความสามารถมากกว่าก็ตาม
2
แต่ถ้าในบริษัทเอกชนยุคนี้ เรามักเห็นคน “อายุน้อย” มีตำเเหน่งเเละเงินเดือนสูงกว่าคน “อายุมาก” กันจนเป็นเรื่องปกติเลย เพราะระบบเอกชนนั้นส่วนใหญ่จะเลื่อนขั้นกันตามผลงานเเละความสามารถมากกว่า
1
3) ไม่ชอบระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการ
คล้ายๆกับข้อ 2 เเต่ข้อนี้นอกจากระบบข้าราชการส่วนใหญ่จะเลื่อนขั้นตามความอาวุโวเเล้ว ยังมีระบบอุปถัมภ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
คือ ระบบราชการไทยมักเปิดช่องให้ผู้ใหญ่ในหน่วยงานแต่งตั้งหรือเลือกคนใกล้ชิดที่มีความสนิทสนมกับตัวเองมากกว่าการวัดที่ผลงานกันจริงๆ
2
คนรุ่นใหม่จำนวนมาก จึงเเทบมองไม่เห็นความก้าวหน้าของตัวเองในระบบอุปถัมภ์ของอาชีพข้าราชการเลย
1
4) ระบบราชการไม่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
1
นอกจากระบบการแต่งตั้งที่มักเป็นไปตามความสนิทสนมส่วนตัว มากกว่าผลงานเเล้ว อีกหนึ่งปัญหาของระบบข้าราชการไทย คือ การทำงานที่ไม่เปิดโอกาสให้ได้คิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ
2
คือ ทำงานตามหน้าที่ไปเรื่อยๆ ถึงขนาดมีคำพูดที่ว่า “เรื่องไม่เป็นเรื่องก็อย่าทำเรื่องให้ผู้ใหญ่เขาเดือดร้อน ทำตามหน้าที่ตัวเองไป” หรืออีกประโยคหนึ่งก็คือ “เรื่องเหล่านี้มันเป็นเรื่องนโยบายระดับบน ถ้าระดับบนไม่เสนอมา ก็ก้มหน้าทำงานของตัวเองไป”
2
ระบบราชการคือทำงานตามเปิดแฟ้มเดิม ทำตามสิ่งที่มีอยู่แล้ว ไม่ได้เอื้อให้ข้าราชการระดับล่างได้ใช้ความรู้ และความถนัดของตัวเองอย่างเต็มที่
1
อีกทั้งระบบราชการที่แบ่งลำดับชั้นเเบบแนวดิ่ง เวลาคนรุ่นใหม่อยากเสนอไอเดียที่เเปลกใหม่ คนด้านบนที่ยังมีความคิดเเบบเก่าๆ ก็มักจะเอาประสบการณ์ตัวเองมาตัดสินความคิดของคนรุ่นใหม่ว่า “เป็นไปไม่ได้”
3
สุดท้ายปัญหาเหล่านี้ก็จะนำมาซึ่ง “อาการหมดไฟ”
1
5) กระเเส “ความสำเร็จ”
กระเเสที่นิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ยุคนี้ก็คือการ “ประสบความสำเร็จ”
ถึงเเม้ว่าอาชีพข้าราชการจะให้ความ ”มั่นคง” เเต่คนรุ่นใหม่นั้นไม่ต้องการความมั่นคงอีกต่อไปเเล้ว เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องการคือ “ความสำเร็จ” ต่างหาก
2
ด้วยความที่ในยุคนี้เรามักจะเห็นบุคคลที่อายุน้อยเเต่สามารถประสบความสำเร็จได้ ตามสื่อต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทาง สื่อโซเชียลมีเดีย ภาพยนตร์ รายการทีวีอายุน้อยร้อยล้าน ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของบุคคลที่ความสำเร็จต่างๆ
1
มันจึงกลายเป็นเเรงบันดาลใจ ให้คนรุ่นใหม่อยากลุกขึ้นมาทำตามความฝันของตัวเอง
ซึ่งถ้ามาลองดูกันดีๆ บุคคลที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้น ไม่มีใครที่ทำอาชีพ “ข้าราชการ” เลย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คนรุ่นใหม่ไม่เชื่อว่า “การทำอาชีพข้าราชการจะนำไปสู่ความสำเร็จได้”
1
อย่างไรก็ตาม ถึงเเม้ว่าคนรุ่นใหม่จะไม่อยากทำอาชีพข้าราชการ เเต่การทำงานประจำในบริษัทเอกชนก็ไม่ใช่อาชีพในฝันของพวกเขาอยู่ดี
เพราะจากข้อมูลของกระทรวงเเรงงานพบว่า ประเทศไทยมีนักศึกษาจบใหม่ในระดับ ป.ตรี ปีละประมาณ 300,000 คน
โดยในจำนวนนี้มีถึง 120,000 คน ที่ต้องการทำอาชีพอิสระ ส่วนรองลงมาคือ ต้องการไปทำงานต่างประเทศ 90,000 คน เเละ ต้องการรับงานไปทำที่บ้านอีก 80,000 คน
1
นั่นเท่ากับว่าอาชีพในฝันของคนรุ่นใหม่ก็คือ อาชีพอิสระ หรือที่เรียกกันว่า “ฟรีแลนซ์” นั่นเอง
1
สำหรับในประเทศไทยมีสถิติของผู้มีอาชีพอิสระในปัจจุบันมากถึง 2 ล้านคน เเละมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น 3-6 แสนคนในทุกๆ ปี
ด้วยไลฟ์สไตล์คนทำงานยุคใหม่ที่รักอิสระเเละอยากเป็นนายตัวเองมากขึ้น บวกกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ช่วยให้คนยุคใหม่สามารถเป็นนายตัวเองได้ง่ายขึ้น
2
ขณะที่ฝั่งผู้จ้างงานเองก็นิยมจ้างงานแบบ Outsource เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 60% เมื่อเทียบกับการจ้างงานประจำ
สำหรับหมวดหมู่งานยอดนิยม และมีการจ้างงานมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1) กราฟิกดีไซน์
2) การตลาดออนไลน์และโฆษณา
3) เว็บและโปรแกรมมิ่ง
4) งานเขียนและแปลภาษา
5) งานภาพและเสียง
อย่างไรก็ตาม บทความนี้ไม่ได้จะบอกว่าการทำอาชีพข้าราชการนั้นไม่ดี เพียงเเต่นำ “ความคิดเห็น” ที่คนรุ่นใหม่ไม่อยากเป็นข้าราชการมานำเสนอเท่านั้น
ประกอบกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เเละเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า จึงทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆมากมายที่เข้ามาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ที่ไม่อยากทำงานประจำหรือต้องเป็นลูกจ้างใคร
เพราะเป้าหมายของพวกเขา คือ การเดินบนเส้นทางของตัวเอง...
1
หากเพื่อนๆ มีคำถามอะไรคาใจ อยากจะให้สมองไหลหาคำตอบออกมาเป็นบทความเเบบนี้ ก็ส่งคำถามมาให้ "สมองไหล" ได้ง่ายๆ เพียง “กดลิ้ง” ข้างล่างนี้ได้เลย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา