10 ธ.ค. 2019 เวลา 08:01
คำพูดที่มีผลต่อใจ
หัวใจและความรู้สึกของมนุษย์นั้นเปราะบางเกินกว่าที่เราจะคาดถึง มาปรับเปลี่ยนวิธีพูดสักนิด เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีและกำลังใจให้แก่ผู้ฟัง
picture from pinterest
เอลเลียต แอรอนสัน และดาร์วิน ลินเดอร์ นักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับวิธีการพูดของคนเราไว้ 4 แบบอย่างน่าสนใจ
เขาได้ทำการทดลองโดยการสร้างเงื่อนไขการพูดเป็น 4 แบบ
และทำการทดลองเพื่อเก็บผลของความรู้สึกจากผู้ฟัง
ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างน่าทึ่ง
เงื่อนไขที่ 1 คือ พูดชม พูดข้อดี ตั้งแต่ต้นจนจบ
เงื่อนไขที่ 2 คือ พูดชม พูดข้อดี ในตอนแรก แล้วจบด้วยพูดตำหนิ ข้อเสีย
เงื่อนไขที่ 3 คือ พูดตำหนิ พูดข้อเสีย ตอนแรก แล้วจบด้วยพูดชม พูดข้อดี
เงื่อนไขที่ 4 คือ พูดตำหนิ พูดข้อเสีย ตั้งแต่ต้นจนจบ
ผลจากการทดลองพบว่า
เงื่อนไขที่ 3 สร้างความรู้สึกที่ดีให้ผู้ฟังมากที่สุด
เงื่อนไขที่ 2 สร้างความรู้สึกแย่ให้กับผู้ฟังมากที่สุด
กล่าวคือ การพูดตำหนิ หรือพูดข้อเสียในตอนแรก แล้วจบด้วยการพูดชมเชย จะสร้างความรู้สึกที่ดีให้แก่ผู้ฟังมากที่สุด
เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ประโยคสุดท้าย หรือ ตอนท้ายของการพูด เปรียบเสมือนบทสรุปของสิ่งที่พูดมาทั้งหมด
ซึ่งอาจเหมือนกับละครรักหวานแหวว ที่พระเอกเป็นคนดีมาตลอด แต่ดันมาเล่นบทโหด ตกม้าตายตอนจบ
เราลองมาอ่านคำพูดเหล่านี้และลองรู้สึกตาม
ว่ามันสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างกันได้จริงหรือเปล่า
คุณเป็นคนน่ารักมากนะ คุณมีเสน่ห์ และผมก็สนใจคุณจริงๆ แต่จะดีกว่านี้มาก ถ้าคุณจะมีเหตุผลให้มากและใช้อารมณ์ให้น้อยกว่านี้
กับ
คุณอาจจะเป็นคนหน้าตาธรรมดาๆ และแต่งตัวไม่เก่งสักเท่าไหร่ แต่ผมคุณน่ารักในสายตาผมมากๆ เลยนะ
มีความรู้สึกที่แตกต่างกันในรูปประโยค 2 แบบนี้ไหมคะ
ลองดูนะคะ
ปรับเปลี่ยนรูปประโยคในการพูดนิดหน่อย
สร้างความรู้สึกที่แตกต่างกันให้แก่ผู้ฟังอย่างเห็นได้ชัดเลยคะ
ที่มาของเรื่อง
Why? ไขปริศนารอบโลก เรื่อง มนุษย์และจิตใจ
โฆษณา