10 ธ.ค. 2019 เวลา 12:10 • ประวัติศาสตร์
"มหาสงครามแห่งเอเซียบูรพา ในศตวรรษที่ 13"
ครั้งเมื่อจักรวรรดิมองโกลบุกอาณาจักรในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ก็เลยทำให้ขั้วอำนาจเปลี่ยนไป
3
ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สุโขทัย และล้านนาเติบใหญ่
พุกาม, พม่า- -บาหลี, อินโดนิเซีย--ฮอยอัน, เวียดนาม--ทุ่งหญ้า, มองโกเลีย
เมื่อพูดถึงสงครามเอเซียบูรพา คนส่วนจะนึกถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพของจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้าครอบครองแผ่นดินและประเทศต่างๆ ในเอเซีย
ซึ่งตอนนั้นประเทศส่วนใหญ่ในเอเซีย ยกเว้นจีนกับไทย ได้เป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกเกือบทั้งหมด ดังนั้นสงครามครั้งนั้นก็เป็นเสมือนสงครามระหว่างญี่ปุ่น จีน และชาติตะวันตกนั่นเอง...
1
ภาพจากกูเกิล
บทความนี้ผมจะเล่าถึงเรื่องราวของ "มหาสงครามเอเซียบูรพา" ในสมัยศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นสงครามขนาดใหญ่ในเอเซียที่ทำให้หน้าประวัติศาสตร์ของเอเซีย ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครับ...
1
"เจงกิสข่าน" บุรุษที่รวบรวมเผ่าเร่ร่อนในทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของไซบีเรียได้จนเป็นปึกแผ่น และสร้างอาณาจักรมองโกลขึ้นมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 12
ซึ่งในช่วงนั้นอาณาจักรในเอเซียตะวันออกมีมากมายเลยทีเดียว โดยพี่ใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นอาณาจักรจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง (Song Dynasty) นั่นเอง
1
และอาณาจักรทางเหนืออื่นๆที่สำคัญ ก็มี อาณาจักรกิม (Jin) อาณาจักรซีเซียะ (Xixia) ของพวก Tanguts (ทิเบตกลุ่มหนึ่ง) อาณาจักรโครูยอ (Goryoyo) ของเกาหลี อาณาจักรคามาคูระ (Kamakura) ของญี่ปุ่น และอาณาคาราคิไต (Qarakhitai) ของกลุ่มคนพูดภาษาเติร์กและเปอร์เซีย....
ในส่วนอาณาจักรทางใต้ที่สำคัญ ก็มี อาณาจักรพุกาม อาณาจักรต้าลี่ อาณาจักรขอม อาณาจักรไตเวียต อาณาจักรละโว้ อาณาจักรจามปา อาณาจักรหริภุญชัย และมีรัฐเมืองอิสระเล็กๆ ของกลุ่มคนพูดไท-กะได อย่าง หิรัญเงินยางเชียงเเสน และ หอคำเชียงรุ่ง..
อาณาจักรในเอเซียช่วงปลายศตวรรษที่ 12
และแล้วอาณาจักรมองโกลของเจงกิสข่านก็ได้เติบใหญ่ และเริ่มยึดอาณาจักรต่างๆทางเหนืออย่างอาณาจักรกิม อาณาจักรซีเซีย ทิเบต อาณาจักรคาราคิไต และอาณาจักรเล็กๆ ในเอเซียกลาง จนกลายมาเป็น "จักรวรรดิมองโกล" ในที่สุด..
แผ่นดินจักรววรรดิมองโกล ปีที่เจงกิสข่าน (Genghis Khan) ตาย ภาพจากกูเกิล
ครั้นเมื่อเจงกิสข่านเสียชีวิตในปี 1227 จักรวรรดิก็ได้ขยายครอบคลุมดินแดนทางตอนเหนือของจีนปัจจุบัน และเอเซียกลางทั้งหมด
แต่เจงกิสข่านยังไม่สามารถยึดอาณาจักรจีนได้สำเร็จ และยังลงมาไม่ถึงอาณาจักรในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นมหาข่านคนต่อๆ มาก็ยังคงขยายดินเเดนได้อีกแต่เน้นไปทางตะวันตก..
จนกระทั่งถึงมหาข่านคนที่ 4 มี่ชื่อ "มองเคอข่าน" (Mongke Khan) ก็ขยายดินแดนครอบคลุม ถึงรัสเซีย ยุโรปตะวันออก รวมถึงสามารถยึดอาณาจักรใหญ่ๆ อย่างอาณาจักรเปอร์เซีย และอาณาจักรแอบบาซิดคาลิฟะท์ (Abbasid Calipahte) ของชาวอาหรับได้สำเร็จ
แต่ก็ยังยึดจีนไม่สำเร็จและยังไม่ได้ลงมาทางใต้เช่นเดิม...
จักรวรรดิมองโกลช่วงปี 1259 และเป็นปีที่ Mongke Khan เสียชีวิต
ทั้งนี้ก็อาจเป็นเพราะชาวมองโกลถนัดการรบที่ราบ ทุ่งหญ้า ขุนเขา และทะเลทราย มากกว่าป่าดงดิบ หรือ เพราะมีอาณาจักรจีนขวางอยู่ ก็ไม่ทราบได้
ครั้นเมื่อข่าน Mongke ตายลงอำนาจก็ตกมาถึงยุคกุบไลข่าน (Kublai Khan)...
Kublai Khan จาก wilipedia
กุบไลข่านนี่เองที่มีนโยบายยึดดินแดนทางใต้ของเอเซียและที่สำคัญ "เขาต้องการยึดจีนให้สำเร็จ"
นอกจากนี้จุดประสงค์หลักของการโจมตีดินแดนทางใต้ของกุบไลข่านก็เพราะต้องการได้ทรัพยากร สมบัติต่างๆ มาให้ราชสำนักมองโกล มากกว่าได้ดินแดนมาจริงๆๆ
1
สิ่งที่กุบไลข่านได้ทำทันทีก็คือได้ลงมายึด "อาณาจักรต้าลี่" และก็ยึดได้สำเร็จ
นี่ก็เป็นการลงมาถึงอาณาจักรทางใต้ของเอเซียเป็นครั้งเเรก....ของจักรวรรดิมองโกล
ต้าลี่ในปัจจุบัน
จากนั้นจักรววรดิมองโกลของกุบไลข่านก็มุ่งมั่นต่อไปที่ยึดอาณาจักรจีนซ่งให้ได้ และพยายามเข้าโจมตีขนาบจากเหนือและใต้ เพื่อบีบอาณาจักรจีนซ่งให้ยอมแพ้....
1
เพราะอาณาจักรจีนได้ย้ายเมืองหลวงจากไคฟง ลงมา นานกิง และในช่วงท้ายของราชวงศ์ซ่งนั้นเมืองหลวงก็อยู่ที่ หางโจว (Hangzhou)
แต่การบุกทางด้านใต้เข้าจีนนั้นต้องผ่านอาณาจักรไตเวียตของชาวญวนและนั่นก็ทำให้มองโกลต้องเข้าโจมตีอาณาจักรไตเวียตในที่สุด..
มองโกล ปะทะชาวไตเวียต จาก wikipedia
ซึ่งก็ตรงกับราชวงศ์ Tran และการรบครั้งนี้ก็ทำให้เมืองหลวง "Thang Long" หรือฮานอยในปัจจุบัน ก็ถูกทหารมองโกลถล่มจนย่อยยับเลย...
ต่อมาความสัมพันธ์อาณาจักรไตเวียตกับมองโกล จะมีทั้งช่วงที่เเข็งขืนและช่วงที่ยอมส่งบรรณาการให้ราชสำนักมองโกล..
จากบันทึกก็พบว่า อาณาจักรไตเวียตก็โดนมองโกลโจมตีหนักๆ อีกอย่างน้อยถึง 3 ครั้งในเวลาต่อมา...
ซาปา และฮานอยในปัจจุบัน
อาณาจักรในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ปี1278 จาก กูเกิล
ท้ายสุดในช่วงปี 1279 อาณาจักรจีนซ่งก็ถูกยึดโดยจักรววรดิมองโกล... แผ่นดินของชาวจีนทั้งหมดก็อยู่ใต้จักรวรรดิมองโกลและถูกเรียกว่า "ราชวงศ์หยวน (Yuan Dynasty)
แต่จักรวรรดิมองโมลเองก็เกิดปัญหาการเเย่งชิงอำนาจกันขึ้นมาเองระหว่างญาติ... ทำให้จักรวรรดิถูกแบ่งเป็น 4 อาณาจักรย่อยดังนี้
- Kublai Khan ครองดินแดนอาณาจักรจีนเดิมบวก กับดินแดนทิเบต กิม ซีเซียะ เกาหลี และต้าลี่
- Chagatai Khan ครองเอเซียกลาง
- Holden Horde ครองรัสเซีย และยุโรปตะวันออก
- Ilkhan ครองเปอร์เซียและอาหรับ
2
จักรวรรดิมองโกลตอนเป็นปึกแผ่น และ ตอนแบ่งเป็น 4 อาณาจักร
อย่างไรก็ตามราชวงศ์หยวนของกุบไลข่าน ก็ยังคงมุ่งมั่นขยายดินแดนต่อ
หลังจากล้มเหลวในการบุกญี่ปุ่น ...
กุบไลข่านก็ได้ตัดสินใจเข้าโจมตี "อาณาจักรพุกาม" ในช่วงสมัย "พระเจ้านรสีหบดี (Narathihapate)"
พุกามปัจจุบัน
ต้องยอมรับว่าอาณาจักรพุกามนั้นแข็งแกร่งมากๆ เพราะมีการบันทึกว่ากองทหารม้าของมองโกล 15,000 คนที่มีอาวุธครบมือ ถึงกับตะลึงกับกองทัพพุกามที่มีทหาร 60,000 คน และช้างอีก 2,000 ตัว
สุดท้ายจักรวรรดิมองโกลก็ไม่สามารถยึดพุกามได้ แต่ก็ทำให้อาณาจักรพุกามอ่อนแอมากๆ...
1
มองโกลเจอกองทัพพุกาม จากกูเกิล
ด้วยความอ่อนแอของพุกามนี้เองก็เลยทำให้หลายรัฐเล็กๆ อย่างเช่น รัฐอารากัน มอญ ไทลือ และไทใหญ่ ได้ประกาศตัวเป็นอิสระอีกครั้ง
นั่นก็ทำให้เกิดการเติบใหญ่และมีอำนาจมากขึ้นเหนือดินแดนพุกามเดิม ของอาณาจักรล้านนาในสมัยพ่อขุนเม็งราย
ซึ่งช่วงนั้นเมืองหลวงยังอยู่ที่เชียงแสน ก่อนจะย้ายไปเชียงใหม่ในเวลาต่อมา
เมืองเก่าเชียงเเสน
และในช่วงเวลาใกล้ๆ กันจักรวรรดิมองโกลก็เข้าโจมตี "อาณาจักรจามปา" และ "อาณาจักรขอม" จากด้านใต้
คล้ายๆกัน ก็คือกองทัพมองโกลไม่สามารถยึดจามปา และ ขอมได้สำเร็จ...
นครวัดปัจจุบัน
แต่ทั้งอาณาจักรขอม และจามปา ก็อ่อนแอมากถึงจะไม่ได้ถูกยึดก็ตาม และนั่นก็ทำให้อาณาจักรใหม่อย่างสุโขทัยเริ่มมีอำนาจเหนือดินแดนของอาณาจักรขอมเดิมมากขึ้น
รวมถึงสร้างอิทธิพลที่เหนือกว่า...ต่อราชสำนักของ "ขอม" ในสมัยพ่อขุนรามคำเเหง
สุโขทัยปัจจุบัน
พ่อขุนรามคำแหงใช้นโยบายต่างประเทศที่ต่างจากอาณาจักรอื่นในเอเซียอาคเนย์ โดยได้มีสนธิสัญญาไมตรีกับราชสำนักมองโกลแทน และมีการค้าขายกับราชสำนักมองโกลอย่างมากมายเลยทีเดียว
1
มาถึงในช่วงปี 1293 มองโกลได้ส่งกองทัพเรือไปถึงเกาะชวาเพื่อแสวงหาสมบัติ..
1
อาณาจักรชวาตะวันออกจาก wikipedia
กองทัพมองโกลเข้าไปวุ่นวายกับสงครามในชวาระหว่างรัฐเล็กๆ เป็นเวลาหลายเดือน ถึงจะได้ทองและสมบัติกลับมา
แต่สุดท้ายกองทัพมองว่าไม่คุ้มและตัดสินใจยกกองทัพเรือกลับแผ่นดินใหญ่..
Java and Bali
พอสรุปได้ว่าในช่วงตั้งแต่ปี 1259 เป็นต้นมา อาณาจักรในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนโฉมอย่างฉับพลันเพราะมองโกล
อาณาจักรต้าลี่ และ พุกาม ล่มสลาย ..... อาณาจักรขอม ไตเวียต และจามปาอ่อนแอมาก .... อาณาจักรเล็กๆ อย่างเช่น ล้านนา และสุโขทัย กลายมาเป็นมหาอำนาจแทน...
1
นั่นก็ทำให้กองทัพมองโกลตัดสินใจโจมตีล้านนา แต่ไม่สำเร็จ...และนั่นก็อาจเป็นเพราะช่วงบั้นปลายชีวิตของกุบไลข่าน ซึ่งก็อาจทำให้กองทหารไม่เข็มแข้งเหมือนเดิม....
ปี 1294 หลังจากกุบไลข่านเสียชีวิต ราชวงศ์หยวนก็อ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว และล่มสลายในอีก 60 ปีต่อมา.....ครับ
HoiAn Bagan Mongolia Dali
สุดท้ายนี้ก็จะเห็นว่ากองทัพของจักรวรรดิมองโกลเข้ามาทำสงครามกับอาณาจักรในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ร่วม 40 ปี และทำให้หน้าประวัติศาสตร์ ขั้วอำนาจ เปลี่ยนไปแบบพลิกฝ่ามือเลย...
จริงๆ แล้ว ก็ดูเหมือนว่าชนชาติเราอาจจะต้องขอบคุณกุบไลข่านนิดๆ นะครับ ที่ทำให้มหาอำนาจเก่าอย่างพุกาม และขอม อ่อนแอลง
1
ก็เลยทำให้อาณาจักรคนพูดไท-กะได ขึ้นมามีอำนาจแทน....ครับ🤣🤣🤣
ขอบคุณครับผมมม... กด ไลค์ด้วยนะครับ
#wornstory
Ref.
2003 – Genghis Khan & the Mongol Conquests 1190–1400. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 978-1-84176-523-5
1980 – The Mongols. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 978-0-85045-372-0
Mongol strategy and the Battle of Leignitz 1241", MHM, Issue 3, November 2003.
โฆษณา