13 ธ.ค. 2019 เวลา 12:19 • การศึกษา
สหรัฐเผลอ”เผาศพผู้ป่วยทางรังสี”
ชาวอเมริกาวัย 69 ปี เพิ่งได้รับการรักษาด้วยสารรังสี “ลูทีเซียม-177” ที่ใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งตับอ่อนได้เสียชีวิตลง
5 วันต่อมาศพของเขาก็ถูกเผาขณะที่ภายในตัวของเขายังมีสารรังสีอยู่
ในปี 2560 ชายวัย 69 ปี ได้เสียชีวิตลง และถูกเผาในรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีใครรู้เลยว่าภายในตัวของเขามีสารกัมมันตรังสีอยู่
กว่าหน่วยงานทางรังสีจะทราบเรื่อง ก็เป็นเวลา 3 สัปดาห์แล้ว ทำให้สำนักความปลอดภัยด้านรังสีต้องรีบเข้าตรวจสอบ และวัดปริมาณรังสีสถานที่ณาปนกิจศพแห่งนี้
พวกเขาพบว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในณาปนสถานมีปริมาณรังสีของ"ลูทีเซียม-177"ในระดับต่ำ ที่พบในระดับที่ต่ำเป็นเพราะลูทีเซียมได้สลายตัวไปเยอะแล้ว
จากนั้นก็ได้นำปัสสาวะของผู้เผาศพไปตรวจ ปรากฎว่า ไม่พบ "ลูทีเซียม-177" แต่มีการพบสารรังสีตัวอื่นแทน คือ "เทคนิเซียม-99เอ็ม" ซึ่งเป็นสารรังสีที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเหมือนกัน
1
ในตอนแรกนักรังสีคิดว่า พนักงานผู้เผาศพคนดังกล่าว อาจกำลังรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีเช่นกัน แต่ปรากฎว่าไม่ใช่ นักรังสีมาสืบทราบว่า สารดังกล่าวมาจากศพของผู้ป่วยทางรังสีอีกศพหนึ่งที่ถูกเผามาไม่นานนี้
นักรังสีจากสำนักงานความปลอดภัยทางรังสี จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับขั้นตอนการณาปนกิจศพผู้ป่วยที่ผ่านวิธีการรักษาทางรังสี เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของสารรังสี และเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในณาปนสถาน
เกร็ดความรู้ :
สารรังสีทุกชนิดจะมี "ค่าครึ่งชีวิต (Half-life)" โดยค่าครึ่งชีวิตเป็นเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวเหลือเพียงครึ่งหนึ่งจากของเดิมที่มีอยู่
[ลูทีเซียม-177] - มีค่าครึ่งชีวิตอยู่ที่ประมาณ 7 วัน หมายความว่า เมื่อเวลาผ่านไป 7 วัน ปริมาณความแรงรังสีของ "ลูทีเซียม-177" จะลดลงครึ่งนึง
[เทคนิเซียม-99เอ็ม] - มีค่าครึ่งชีวิตอยู่ประมาณ 6 ชั่วโมง หมายความว่า เมื่อเวลาผ่านไป 6 ชั่วโมง ความแรงรังสีของ "เทคนิเซียม-99เอ็ม" จะลดลงครึ่งนึง
ตัวอย่างการสลายตัวของสารรังสี “โคบอลต์-60” ที่มีค่าครึ่งชีวิต 5.27 ปี
💛[ ชอบบทความ ] = กดไลค์
🧡[ บทความมีประโยชน์ ] = กดแชร์
❤️[ พูดคุย | แนะนำ | ติชม ] = คอมเมนต์
โฆษณา