11 ธ.ค. 2019 เวลา 05:06 • ความคิดเห็น
ใบอ้อยมีค่าอย่าเผาทิ้งอัดก้อนขายได้ตันละพัน
หากทำได้อย่างนี้บ้านเราคงไม่มีหิมะดำ
(ฝุ่นสีดำจากการเผาใบอ้อย)
นวัตกรรมนำมาซึ่งความสุขสู่ชุมชน
นอกจากจะขายอ้อยได้แล้ว
ใบอ้อยยังนำมาอัดเป็นก้อนๆ
ส่งขายให้โรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลได้อีก
พื้นที่กว่า 2 ไร่ อัดได้ 14 ก้อน
ใบอ้อยแต่ละก้อนมีน้ำหนัก ราว 100 กก.
ประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกอ้อยโรงงานปี 25569/61
กว่า 11,542,550 ไร่,คณะกรรมการอ้อยและ
น้ำตาลทราย
(คาดว่าน่าจะเป็นพื้นที่เฉพาะที่ขึ้นทะเบียนกับโรงงานที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนน่าจะมีอยู่มาก-ผู้เขียน)
ราคาอ้อย+เงินช่วยเหลืออยู่ที่ 880-900 บาท
ปริมาณอ้อยส่งเข้าโรงงาน 131,717,042 ตัน
สร้างรายได้ให้เกษตรกรกว่า 115,910 ล้านบาท
ปริมาณอ้อยไฟไหม้(Burnt Cane)
คิดเป็นร้อยละ 63.42-66.77 ของพื้นที่ปลูกอ้อย
หรือกว่า 7,320,285 ไร่
คิดเป็นใบอ้อยที่ถูกเผาทิ้งกว่า 7,320,285 ตัน
มูลค่ากว่า 7,320 ล้านบาท
ต้องบอกว่ามหาศาล
ประเทศไทยมีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด58 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศยกเว้นภาคใต้
,คณะกรรมการอ้อยน้ำตาลทราย
ฤดูกาลผลิต 62/63
พื้นที่ปลูกอ้อยของเกษตรกร 1 ไร่ จะทำให้มีใบอ้อยเหลือทิ้งราว 1,000 กิโลกรัมหรือ 1 ตัน
หากเกษตรกรนำใบอ้อยมาอัดเป็นก้อนๆ ขายให้โรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลซึ่งโรงงานรับซื้อที่ตันละ 1,000 บาท จะทำให้มีรายได้เพิ่มไร่ละ 1,000 บาท
นับว่าเป็นข่าวดีของเกษตรกรชาวไร่อ้อยซึ่งภาครัฐ
ควรให้การส่งเสริมอย่างเร่งด่วน
เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ให้เกษตรกร
อีกช่องทางหนึ่งแล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลภาวะ
ของชั้นบรรยากาศโลกอันเกิดจากการเผาใบอ้อย
ด้วย
ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือฝุ่นสีดำ(แถวบ้านเรียกหิมะดำ)
ที่เกิดจากการเผาใบอ้อยนอกจากสร้างความสกปรก
ให้บ้านเรือน เสื้อผ้าที่ตากไว้ และยังสร้างความรำคาญแก่ผู้สัญจรผู้ใช้รถใช้ถนนแล้ว ยังก่อให้เกิด
อาการผื่นคันโดยเฉพาะกับเด็กๆเห็นแล้วน่าสงสาร
แม้นว่าในความเป็นจริงบ้านเราจะมีกฎหมายห้าม
การเผาอ้อย แต่คงปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่ายัง
มีการจุดไฟเผาอ้อยอยู่ อาจเนื่องด้วยความสะดวก
ในการตัดอ้อยของตัวเกษตรกรเองหรืออาจเกิดจาก
ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรก็เป็นได้
โดยสังเกตได้จากเมื่อคราวถึงฤดูกาลตัดอ้อยทีไรเกษตรกรต้องนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน
ทุกปี
ปัญหาการเผาใบอ้อยดังกล่าวนี้นับวันจะทวี
ความรุนแรงมากขึ้นตามจำนวนพื้นที่ปลูกอ้อยที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน
ปัญหาดังกล่าวภาครัฐต้องเร่งแก้ไขเพราะเป็นจุด
อ่อนของวงการอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาล จะหวังพึ่งให้ภาคเอกชนแก้ปัญหาอย่างเดียวคงไม่ได้
ตัวเกษตรกรเองก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การทำไร่อ้อยด้วยเพื่อเห็นแก่ส่วนรวม โดยการงดการเผาใบอ้อย โดยอาจจะนำใบอัอยไปอัดเป็นก้อนๆอย่างที่เห็นในภาพแล้วส่งขายให้โรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลสร้างรายได้อีกทางเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว คือทั้งมีรายได้ทั้งจากการขายอ้อย ขายใบอ้อยและช่วยลดมลภาวะให้โลกอีกทางด้วย
หยุดเผาวันนี้
เพื่อเราเพื่อโลก
เพื่ออนาคตของลูกหลาน
สัมผัสหิมะดำยามเช้า
อยากให้กำลังใจผู้เขียนและทีมงานง่ายๆด้วยการ
กดไลค์
กดแชร์
กดติดตาม
หรือจะเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ก็ยินดีครับ
เกษตรไทย อะไรดี
โฆษณา