13 ธ.ค. 2019 เวลา 15:01 • ปรัชญา
มุมมองของความ "เศร้าโศก"
แบบของความสุข
iStock/Getty Images Plus
เวลาที่คนเราเศร้าโศก
สิ่งแรกที่สัมผัสได้ในจิตใจ
คือ
มันทุกข์ มันไม่มีความสุข
และความคิดที่จะเพิ่มขึ้นมา
เมื่อเราลงดิ่งไปกับความรู้สึกนั้น ก็คือ
"ทำไมต้องเป็นฉันที่ทุกข์"
"ทำไมทุกข์ต้องเกิดขึ้นกับฉัน"
"ทำไมทุกข์มันเจ็บปวดอย่างนี้"
"ทำไมทุกข์ถึงมีอำนาจควบคุมได้ขนาดนี้"
และอื่นๆอีกสารพัดอย่างเท่าที่คนๆนึงจะตั้งคำถาม
มุมมองในขณะที่ทุกข์ ก็มักจะเจ็บปวด
และพยายามหาทางออกจากความทุกข์
และมุ่งหวังแสวงหาความสุข
ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามและเชื่อว่ามันดีงามกว่า
The Road to Heaven Photography by Thomas Fischer
และเมื่อเราหาความสุข
สิ่งนึงที่มักจะมีข้อถกเถียงกันก็คือ
"สุขจากวัตถุ กับ สุขจากภายใน"
ขอขยายความก่อนว่า สุขจากวัตถุ คือ
ความสุขที่ได้รับจาก สิ่งที่ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ของเราได้รับจากสิ่งที่อยู่ภายนอก
เอาง่ายๆก็คือ สิ่งของ อาหาร ของเล่น เงิน
ต่างๆนานา ที่มาจากภายนอก
อาหารร้านนี้อร่อยมากๆๆๆๆๆๆ
รสชาติ กลมกล่อม อูมามิ กำลังพอดี
กินแล้วรู้สึกเหมือนไปถึง "สวรรค์" เลย
จานใบนี้มีลวดลายสวยงามวิจิตร
เป็นอาหารตาทุกครั้งที่ได้เห็นระหว่างกินข้าว
ส่วน สุขจากภายใน ก็ตรงข้ามทุกอย่างที่ว่ามา
การมองกลับเข้าไปดูที่ตัวเอง มองจิตใจตนเอง
แล้วใช้ความคิด แนวคิด ต่างๆนานา
มาทำให้ตัวเองสุขด้วยตัวของตัวเอง
ไม่มีสิ่งภายนอกมาเกี่ยวข้อง มาจาก "จิต" ล้วนๆ
เปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนการ นั่ง นอน ยืน เดิน สมาธิ
นั่งทบทวนความคิด ก็ความคิดของเรา
ลมหายใจ ก็ของเรา
สติ ก็ของเรา
คิดในแง่ดี การมองน้ำในแก้วน้ำที่มีอยู่
ครึ่งแก้ว เป็น อีกครึ่งก็เต็ม เป็นต้น
หายไปครึ่ง กับ อีกครึ่งก็เต็ม
มันก็มักจะมีคนมาบอกว่า
แบบนี้สิดีกว่า แบบนั้นสิดีกว่า
"สุขภายในดีกว่า เพราะเราสามารถสุขได้เลย
แถมเราคิดให้เราสุขได้เอง สุขถาวรไม่ต้องพึ่งอะไร"
"ไม่ๆๆๆๆ สุขจากวัตถุสิเราได้ความรู้สึก "ได้รับ" มาเลยนะ
มีนั้น นู้น นี้ สะดวกสบาย และ สุขอย่างง่ายๆด้วยนะ
ไม่ต้องไปนั่งเสียพร่ำเพ้อให้เสียเวลา ได้มาปุ๊ปสุขปั๊ป"
ประมาณนี้...
สิ่งนึงที่ผมได้เห็น และ จับแกนหลักๆได้คือ
มันมีความแตกต่างกันอยู่ที่ว่า
ถ้าสุขจากภายนอก จากวัตถุ เราเห็นมัน สัมผัสมันได้
ใช้งานมันได้ สนองความอยากได้เลย ถ้าได้รับมัน
ความสุขระยะสั้น ได้ทันตาเห็น
ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ในห้วงเวลานั้นๆ
ถ้าสุขจากภายใน จากจิตใจ
เราสร้างมันเองได้ โดยไม่มีต้นทุนอะไร
มันอยู่ได้นานๆ หรือ สั้นๆก็ได้
ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล แต่มันจำเป็นต้อง
ใช้เวลา
เพราะจู่ๆเราคงสุขทันทีเลยไม่ได้
ถ้าทำได้คุณถือว่าโชคดีมาก ไม่ก็บ้าไปเลย
ทุกข์ แล้ว สุข ในทันทีทันใด ไม่บ้าก็สุดยอด
( แต่ก็ใช่ว่ามันจะเป็นไปไม่ได้ )
ถ้าในความคิดผม
แม้ใครจะให้ค่าอะไรมากกว่าก็ตาม
ส่วนตัวผม ผมไม่ได้มองว่านี้สิดีกว่า นี้สิเยี่ยมกว่า
ผมมองว่า มันก็ดีในแต่ละช่วงเวลา
ผมอยากกินอาหารเปรี้ยว ผมก็กินของเปรี้ยว
ผมอยากได้เสื้อผ้านั้น ผมก็ซื้อมันมาและใส่มัน
รู้สึกว่ามั่นใจขึ้น เพราะเป็นเสื้อตัวเก่ง
แต่บางครั้งผมก็ต้องการแค่ นั่งทบทวนตัวเอง
มองอดีตที่สวยงาม และน่าเกลียด
มองมันจนสามารถโอบกอดรับมันได้
เหมือนเพื่อนและสนุกไปกับมัน
บางคำพูด คำสอน บางครั้งก็อาจทำให้เรา
มีกำลังใจขึ้นมาได้ ถ้าเรานำมารับฟังและผลักดัน
ดังนั้นผมคิดว่า มันก็มีค่ากันทั้งคู่
และก็ไม่ได้มองว่าอันไหนมากกว่ากัน
มันจะผิดตรงไหนที่เรามีความอยาก
และต้องการ การตอบสนอง อยากได้มันมา
มันจะผิดตรงไหนที่เราเพียงขอแค่
เวลาสักนิดมาทำใจ แล้วคิดให้ตัวเองลุกขึ้นยืนได้
- -
บางคนอาจมองว่า การที่คนไปเหยียบดวงจันทร์นั้น
เยี่ยมยอด มนุษยชาติเจริญได้ขนาดนี้
อนาคตมีความหวัง เราอาจจะไปอยู่ดาวดวงอื่นใน
อนาคตก็ได้ เป็นช่วงเวลาที่ตื่นเต้นยิ่งนัก
นี้เป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของมนุษย์
บางคนอาจมองว่า การที่คนไปเหยียบดวงจันทร์นั้น
ไม่จำเป็น ทำไปทำไม มามองทะเลสวยงาม
ที่อยู่ใกล้ๆนี้สิ ดูสิ่งที่มีอยู่ดีกว่า
ต่อให้ไปดวงจันทร์ได้ ก็ไม่ได้มีความหมายอะไรมาก
ไปกว่าการมองตัวเราเองอย่างลึกซึ้ง
มองโลก ดูแลธรรมชาติ ให้สวยงามดีกว่า
เมื่อผมเอาข้อความที่มาจากหัว
ซึ่งมันก็มาจากหนังสือที่ผมอ่านอีกทีก็พบว่า
มันก็สำคัญทั้งคู่นั้นแหละ ไม่มีอะไรมีค่ากว่ากัน
นักวิทยาศาตร์ผู้เคร่งเครียดต้องการผ่อนคลาย
ไปเข้าวัด เข้าโบสถ์ อยู่ที่บ้าน สงบจิต สงบใจ
นักบุญ หมอสอนศาสนา ในสมัยล่าอาณานิคม
ก็ต้องพึ่งเรือในการเดินทางเผยแพร่คำสอน
สองขั้วมันก็ต้องพึ่งซึ่งกันและกัน
มันก็เกิดประโยคนึงผุดมาว่า
"พวกเราใจดำไปหน่อยไหมที่พยายามปฎิเสธ
ความคิดอีกฝ่ายทั้งๆที่เราก็ใช้มันกันทั้งคู่"
ก็กลับมามองเรื่องความทุกข์ว่า
เราก็เกี่ยงความทุกข์มากเกินไปหรือเปล่า?
ทำไมเราไม่ทำความเข้าใจมันอย่างถ่องแท้
อยู่ด้วยไปกับมันนี้แหละ ซึ่งทุกคนก็อยู่ไปกับมัน
ตลอดชีวิตอยู่แล้ว มาบ้าง ไม่มาบ้าง
บางครั้งความทุกข์ก็สอนเราว่า
"อย่าไปพลาดแบบเดิมซ้ำสอง"
"ทำแบบใหม่ดูสิ จะดีขึ้นก็ได้"
บางครั้งความทุกข์ก็สวยงาม
เหมือนกับความหลังในอดีต
พอมองกลับไป หรือ นำมาเล่าในวงสนทนา
มันก็เป็นเรื่อง ตลก สนุก เฮฮา เหมือนกัน
กลับ
ผมก็คนธรรมดาที่ทุกข์เป็น ไม่ได้เขียนให้คน
มาเปลี่ยนเป็นยอมรับความทุกข์แต่อย่างใด
เวลาทุกข์ผมก็อยากถีบมันออกไปไม่อยากคิดถึงมัน
พอระบายออก แล้วกลับมามอง เราก็ได้บทเรียนจากมัน
พอมาเล่ากับเพื่อน มันก็ ตลกไปอีกแบบกลับนำมาซึ่ง
ความสุข ในเวลาของการสนทนานั้นๆ
"ไม่ได้อยากที่จะหนีจากทุกข์แต่อย่างใด
แค่อยากจะอยู่กับมันได้ก็เพียงพอ"
-CourAge
อ้างอิง :
หนังสือ - ไม่เสมอไป โดย ชุนริว ซูซูกิ
แปลโดย อุษณี นุชอนงค์
หนังสือ - เวลานี้ที่เป็นสุข
( หนังสือ ธรรมบรรยาย ของ
หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ )
ปล. เอาจริงๆ บทความนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงก็ได้แต่
ในหลายๆอย่างที่ยกตัวอย่างมีบางสิ่งที่สอดแทรก
มาจากสิ่งที่ผมอ่าน ผมก็เลยคิดว่า
เราควรจะกล่าวถึงสิ่งที่ผ่านตาผมมา โดยเฉพาะ
สิ่งที่เป็น ชิ้นงาน ผลงาน เช่นหนังสือที่ผมได้อ่าน
แม้ผมจะอ่านไม่จบ เพิ่งเอามันกลับมาอ่านเพราะ
อารมณ์มันพาไป ชวนให้อ่าน มันก็ทำให้ได้คิด
แต่ก็ได้แค่คิด ไม่ได้เขียน ไม่ได้เผยแพร่ลงบทความ
เป็นตั้งเดือนกว่าๆ ด้วยเหตุผลที่ว่า ยังรู้สึกไม่เข้าใจพอ
และ อยากจะรีวิวหนังสือเล่มอื่นอยู่ เลยละมันไว้ก่อน
ส่วนเรื่องที่จะทำ วิดีโอรีวิวหนังสือ
ผมคิดอยู่สองอย่างคือ จะทำเป็น podcast เพราะ
เหตุผลแรก คอมผมตัดต่อหนักไม่ได้
แค่จะลาก keyframe คอมผมจะตายแล้ว
เลยคิดว่า podcast ง่ายๆนี้แหละ
เขียน อัดเสียง แปะภาพ ลงกันง่ายๆนี้แหละ
ส่วนการที่เคยบอกว่าจะทำแบบละเอียด
พอคิดไปคิดมา ไม่ดีกว่าเพราะ เราแค่รีวิว
ไม่ได้ทำเป็น audiobook 5555
เลยจะตัดลดทอนเอาสิ่งจำเป็นๆ
แต่ก็ไม่เสียส่วนสำคัญลึกๆไป
นั้นคือสิ่งที่ผมคิดอยู่ อยู่ที่ว่าจำทำมันไหม
( เกือบดีและ 55555 )
โฆษณา